บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เรื่อง การใช้ธงชาติกับสินค้า
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๕ มอบ
หมายให้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายและความเหมาะสมในการ
ใช้ธงชาติไทยติดกับสินค้าเพื่อ
การโฆษณาประเทศ นั้น สำนักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกาขอเสนอความเห็นทางกฎหมาย
ดังนี้
๑. กฎหมายไทย
ธงชาติปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิด
ขึ้นให้ใช้แทนธงพื้นแดงรูปช้างเผือก
เพื่อเป็นเครื่องหมายของประเทศเมื่อคราวสงคราม
โลกครั้งที่
๑ โดยมีสีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน เช่นเดียวกับหลาย ๆ ประเทศที่เป็นฝ่ายสัม
พันธมิตรในครั้งนั้น
เช่นฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ธงดังกล่าวเป็นไปตามพระราช
บัญญัติธง
พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ และได้รับพระราชทานนามว่า ธงไตรรงค์ โดยสี
แดงหมายถึงชาติ
สีขาวหมายถึงศาสนา และสีน้ำเงินหมายถึงพระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน
ธงที่หมายถึงประเทศไทยและชาติไทยเป็นไปตามมาตรา
๕ (๑) แห่งพระราชบัญญัติธง
พ.ศ. ๒๕๒๒
โดยที่ธงหมายถึงประเทศชาติและสีน้ำเงินหมายความถึงพระมหา
กษัตริย์การปฏิบัติต่อธง
จึงถือเป็นของที่ต้องเคารพและต้องปฏิบัติต่อธงอย่างสมควร จึง
มีกฎหมายคุ้มครองการใช้ธงดังนี้
๑.๑ การกระทำอันเป็นการเหยียดหยาม
มาตรา ๑๑๘
แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า
ผู้ใดกระทำการใด
ๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใดอันมีความหมาย
ของรัฐ
เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน
สี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีนี้ต้องเป็นการกระทำต่อธง ด้วยเจตนาเพื่อเหยียดหยาม
ประเทศชาติ
เช่น ฉีกทำลาย ถ่มน้ำลายรด
ใช้เท้าเหยียบ วางเป็นผ้าเช็ดเท้า
ซึ่งเป็น
การแสดงความดูถูกดูหมิ่นเหยียดหยามชาติไทย แต่การนำมาตัดเป็นเสื้อหรือหมวก
โดยมิได้มีมูลเหตุจูงใจจะเหยียดหยามเห็นว่าไม่ผิดตามมาตรานี้ การกระทำอันเป็นการ
เหยียดหยามธงอื่น
ๆ ที่มิใช่ธงชาติจะเป็นความผิดตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติ
ธง
พ.ศ.
๒๕๒๒
ซึ่งมีโทษน้อยกว่าประมวลกฎหมายอาญา
๑.๒ การกระทำที่ไม่สมควร
การนำธงชาติไปใช้ในลักษณะใด ๆ โดยทั่วไปไม่มี
กฎหมายห้าม
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ที่สิ่งบรรจุ หีบห่อ สิ่งหุ้มห่อ สิ่งผูกมัด เว้นแต่การใช้ใน
ลักษณะที่ไม่สมควรจึงจะมีโทษอาญา
ตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ.
๒๕๒๒ การใช้หรือแสดงธงหรือแถบสีธง
ณ ที่หรือสิ่งที่ไม่สมควรหรือด้วยวิธีอันไม่สม
ควรจะเป็นความผิดตามมาตรา
๕๓(๓) (๔) และ (๕) แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ.
๒๕๒๒ และที่น่าสังเกตคือการประดิษฐ์รูป ตัวอักษร
ตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นใดที่
ธงให้แตกต่างไปจากที่กำหนดโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว
จะเป็นความผิดตามมาตรา
๕๓
(๑)
ดังนั้น การนำธงชาติไปใช้ย่อมจะทำสิ่งใดเพิ่มเติมที่ธงหรือแถบสีธงไม่ได้จะ
กลายเป็นความผิดทันทีตามพระราชบัญญัตินี้
อย่างไรเป็นการใช้ที่สมควร ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป อย่างไรก็
ตาม
มาตรา ๔๕ แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒
ได้กำหนดให้อาจออกระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดการใช้
ชัก หรือแสดงธงชาติได้ ซึ่งการใช้โดยฝ่าฝืนระเบียบ
ดังกล่าวจะมีความผิดตามมาตรา
๔๘ แห่งพระราชบัญญัติธง พ.ศ. ๒๕๒๒
แต่
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้
การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่าง
ประเทศในราชอาณาจักร
พ.ศ.
๒๕๒๙ ที่ใช้บังคับในปัจจุบันคงกำหนดแต่วิธีการใช้ตาม
ปกติของธงเท่านั้น
ซึ่งถ้ามีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมการใช้ธงในกรณีอื่นตาม
ความมุ่งหมายเฉพาะด้วยว่ากรณีใดสามารถใช้สำหรับสินค้าได้เพียงใด
ก็จะเป็นแนว
ทางให้เกิดความมั่นใจในการใช้ธงได้ว่าเป็นกรณีไม่ผิดกฎหมาย
อนึ่ง การใช้ธงประกอบกับสินค้าอาจส่งผล ๒ ทางคือ
๑)
ทำให้ทราบว่าเป็นสินค้าของไทย
การปรากฏแพร่หลายเป็นการ
แสดง
ศักยภาพทางการผลิตของไทยได้อย่างหนึ่ง ซึ่งถ้าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีก็จะ
ส่งเสริมความเชื่อถือในสินค้าไทยชนิดอื่นได้ด้วย
๒)
การใช้ในสินค้าคุณภาพไม่ดีหรือสินค้าหลอกลวงจะทำให้ชื่อ
เสียงประเทศเสียหายได้
ดังนั้น การนำไปใช้ควรพิจารณาผลได้ผลเสียประกอบด้วยว่า
ควรส่งเสริมทางใดและควรห้ามทางใด
การกำหนดห้ามใช้ธงชาติกับสินค้าหลอกลวง
โดยระเบียบที่ออกตามความในมาตรา
๔๕ จะทำให้ผู้ฝ่าฝืนมีโทษอาญาตามมาตรา ๔๘
ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถห้ามการใช้ไปในทางที่จะเสียหายได้
๒. กฎหมายต่างประเทศ
จากการตรวจสอบกฎหมายต่างประเทศในเรื่องการใช้ธงชาติ
กับสินค้า ของประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา
นิวซีแลนด์ อังกฤษ ออสเตรเลีย ฝรั่ง
เศส สวิตเซอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก พบว่ามีกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่อาจใช้เป็นแนวทาง
ประกอบการพิจารณาได้
ดังต่อไปนี้
๒.๑
ประเทศสหรัฐอเมริกา กฎหมายเกี่ยวกับการใช้ธงกับสิน
ค้ามีดังนี้
(๑)
กำหนดเรื่องการแปลงธงโดยการนำตัวอักษร
ตัว
เลข เครื่องหมาย
รูปภาพ ลวดลาย ภาพเขียน หรือการโฆษณาไม่ว่าในลักษณะใด
ไปติด แนบ หรือประกอบไว้กับตัวธง ลวดลาย สี
สัญลักษณ์ของธง ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษปรับ
ไม่เกิน ๑๐๐ เหรียญสหรัฐ หรือจำคุกไม่เกิน ๓๐
วัน หรือทั้งจำทั้งปรับ
(4 USC Section 3)
(๒) กำหนดเรื่องการกระทำที่ไม่เป็นการเคารพต่อธง (Respect
for
Flag)
โดยถือว่าเป็นการไม่เคารพต่อธงถ้านำผืนธงไปสัมผัสกับสิ่งที่อยู่ต่ำกว่าผืนธงนั้น
ไม่ว่าจะเป็นพื้นดิน
พื้นห้อง น้ำ หรือตัวสินค้า นำผืนธงไปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่อง
นอน
หรือเพื่อการตกแต่งทั่วไป หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการโฆษณาไม่ว่าใน
ลักษณะใด
ทั้งนี้ รวมถึงการพิมพ์หรือประทับผืนธงลงบนกระดาษชำระหรือกล่องหรือสิ่ง
ใดๆ
ที่ออกแบบไว้ใช้ชั่วคราวด้วย สำหรับบทลงโทษ กฎหมายนี้ไม่ได้กำหนดไว้ จึงเป็น
เรื่องความสมัครใจของประชาชนที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย (4 USC Section 8)
๒.๒
ประเทศแคนาดา ตามมาตรา ๙(๑)(e) ของ The Trade
Marks Act : Advertising and Commercial Purposes กำหนดห้ามใช้เครื่องหมายที่มี
ธงชาติประกอบหรือที่คล้ายคลึงกับธงชาติเพื่อการพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต
อย่างไร
ก็ตาม ธงชาติ แคนาดาสามารถนำมาใช้กับกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ทางการค้าและการ
โฆษณาได้ โดยร้องขอต่อ Department of Canadian
Heritage
๒.๓
ประเทศนิวซีแลนด์ ตามมาตรา ๑๑ ของ Flags,
Emblems, and Names Protection Act 1981 กำหนดความผิดสำหรับการใช้
แสดง
ทำลาย หรือดัดแปลง ธงชาติด้วยอักษร สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมาย
ไว้ อย่างไรก็ตาม
การใช้ธงในการโฆษณาหรือในทางการค้า สามารถกระทำได้
โดยตกลงกับ
Minister for
Culture and Heritage ทั้งนี้ ธงที่ใช้ในการโฆษณาหรือการค้าต้องอยู่ในรูปแบบและ
สีที่ถูกต้อง
๒.๔
ประเทศอังกฤษ ตามมาตรา ๔(๒) ของ
Trade Marks
Act 1994 กำหนดว่า
เครื่องหมายที่ใช้ธงเป็นส่วนประกอบสามารถนำไปจดทะเบียนเป็น
เครื่องหมายการค้าได้ ถ้าไม่ทำให้สับสนหลงผิดหลอกลวงในต้นกำเนิดสินค้า
หรือใช้ใน
ทางที่เป็นความผิด และไม่ได้ ห้ามใช้ธงกับสินค้า
๒.๕
ประเทศออสเตรเลีย ตามมาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓(eb)
ของ The Trade Practices Act 1974 กำหนดไว้อย่างกว้างว่า ห้ามผู้ประกอบการ
แสดงให้เกิดความสับสนหรือหลงผิดในประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของสินค้า
หากผู้ใดฝ่า
ฝืนมีโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น โทษปรับ
ชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่งตามคำอธิบาย
ของ The Australian Competition and Consumer Commission
ภาพธงชาติ
สามารถนำมาใช้กับสินค้าเพื่อแสดงประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
ตราบเท่าที่
ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
หรือหลงเชื่อว่าสินค้านั้นมีแหล่งกำเนิดจากประเทศออสเตร
เลียตามกฎหมายดังกล่าว
๒.๖
ประเทศฝรั่งเศส ตามมาตรา ๓ ของรัฐบัญญัติว่าด้วย
เครื่องหมาย ผลิตภัณฑ์ การค้าและบริการ ปี ๑๙๙๑ ซึ่งอ้างถึงข้อ ๖ ตรี วรรค ๑ ของ
อนุสัญญากรุงปารีสว่าด้วย
การคุ้มครองทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมปี ๑๘๘๓ กำหนด
ห้ามนำธงชาติไปเป็นองค์ประกอบของเครื่องหมายการค้า
เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก
หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ซึ่งเป็นการกำหนดห้ามเฉพาะเรื่องเครื่องหมายการค้าเท่า
นั้น ส่วนการนำธงชาติมาใช้กับสินค้า ไม่มีกฎหมายกำหนดห้ามไว้
นอกจากนี้ ปัจจุบัน
ได้มีผู้เสนอร่างกฎหมายกำหนดให้ลงโทษแก่การกระทำการล่วงละเมิดต่อธงชาติ
(ซึ่ง
ตามบันทึกประกอบร่าง การล่วงละเมิด หมายถึง
การใช้ผิดวัตถุประสงค์ การลบหลู่ การ
ล้อเลียน) โดยกำหนดโทษจำคุกหรือปรับไว้
๒.๗
ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตามมาตรา
๑ และ ๒ ของรัฐ
บัญญัติ
ปี ๑๙๓๑ ว่าด้วยการคุ้มครองตราและสัญลักษณ์ของรัฐ กำหนดห้ามมิให้
ใช้ธงชาติเป็น องค์ประกอบเครื่องหมายการค้า หรือติดบนผลิตภัณฑ์ ยกเว้น ๑)
ผู้ใช้เป็นองค์กรหรือรัฐวิสาหกิจระดับสหพันธ์
และ ๒) องค์กรระดับสหพันธ์ เช่น องค์กร
ส่งเสริมประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สวิส
อนุญาตให้เจ้าของผลิตภัณฑ์ใช้ธงชาติติดบน
ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ตามมาตรา ๓ ของรัฐบัญญัติดังกล่าว
ได้กำหนดให้ใช้ธงชาติติด
บนป้าย ประกาศ ใบปลิว หรือใช้ในกรณีอื่นๆ
ที่มิใช่
องค์ประกอบเครื่องหมายการ
ค้าได้ หากการใช้นั้นไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดี
ผู้ฝ่าฝืนโดยใช้ธงชาติ
ไปในทางที่ขัดต่อศีล
ธรรมอันดี มีโทษจำคุกไม่เกิน ๒ เดือน
หรือปรับไม่เกิน ๕,๐๐๐ ฟรังก์สวิส หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ
๒.๘
ประเทศลักเซมเบิร์ก ตามมาตรา
๗ ของพระราชบัญญัติ
ว่าด้วยสัญลักษณ์ประจำชาติ ๑๙๗๒ กำหนดห้ามผู้ใดใช้ธงชาติโดยมีวัตถุประสงค์ต้อง
ห้ามตามกฎหมาย ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก ๘ วันถึง ๓
เดือนหรือปรับ ๕๐๐ ถึง ๕๐๐๐๐
ฟรังก์ลักเซมเบิร์ก หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ โดยวัตถุประสงค์ต้องห้ามข้างต้นหมายถึง การ
ใช้เพื่อฉ้อฉล หรือการใช้ทางพาณิชย์ ทั้งนี้
กรณีการใช้ธงชาติในทางพาณิชย์ มีข้อยกเว้น
ให้กระทำได้ถ้ากฎหมายบัญญัติหรือรัฐบาลอนุญาตให้ใช้ได้
(ลงชื่อ) ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์
(ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์
วงศ์วัฒนศานต์)
เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กันยายน ๒๕๔๕