บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เรื่อง การใช้ธงชาติกับสินค้า (เพิ่มเติม)
ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๔๕ มอบ
หมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการ่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
พิจารณาประเด็นข้อกฎหมายและความเหมาะสมในการใช้
ธงชาติไทยติดกับสินค้าเพื่อการโฆษณาประเทศ
โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ได้รับมอบหมายให้พิจารณาในส่วนประเด็นข้อกฎหมาย
ซึ่งสำนักงานฯ ได้จัดทำบันทึก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
เรื่อง การใช้ธงชาติกับสินค้า เสนอไปยังสำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ปรากฏตามหนังสือสำนักงานคณะ
กรรมการกฤษฎีกา ที่ นร ๐๖๐๑/๒๕๘๐ ลงวันที่
๕ กันยายน ๒๕๔๕ และต่อมาในการ
ประชุมหัวหน้าส่วนราชการที่กระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๔๖ ฯพณฯ
นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สำนักงานฯ
ดำเนินการค้นคว้ากฎหมายเกี่ยวกับการใช้ธง
ชาติกับสินค้าของประเทศต่างๆ
โดยเฉพาะกฎหมายของประเทศในเอเชียเพิ่มเติม นั้น
บัดนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ดำเนินการค้นคว้า
กฎหมายเกี่ยวกับการใช้ ธงชาติกับสินค้าของประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกฎหมายของ
ประเทศในเอเชียเพิ่มเติมแล้ว
ซึ่งในเบื้องต้นพบข้อมูลของประเทศสเปน
อินเดีย เกาหลีใต้
จีน (รวมทั้งฮ่องกง) และบาห์เรน สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
๑. ประเทศสเปน ตามพระราชบัญญัติ
ที่ ๓๙/๑๙๘๑ ลงวันที่ ๒๘
ตุลาคม ๑๙๘๑ ว่าด้วยการใช้ธงชาติสเปนและธงชาติอื่นๆ
ไม่มีบทบัญญัติห้ามนำธง
ชาติหรือรูปแบบของธงชาติไปใช้ ในทางการค้าหรือการโฆษณา
๒. ประเทศอินเดีย เดิม The
Flag Code ค.ศ. ๑๙๕๐
มีบทบัญญัติ
ห้ามการใช้ธงในการโฆษณาหรือเพื่อกิจกรรมทางพาณิชย์อื่นๆ ต่อมาได้มีการตรา The
Flag Code ค.ศ. ๒๐๐๒ ขึ้นใหม่ โดยได้ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการห้ามใช้ธงชาติใน
การโฆษณาหรือการพาณิชย์ดังกล่าว ดังนั้น ตาม Code ใหม่
การใช้ธงชาติกับสินค้าจึงทำ
ได้
๓. ประเทศเกาหลีใต้
การนำธงชาติมาใช้เป็นสัญลักษณ์กับสินค้า
สามารถกระทำได้
แต่ต้องเป็นการใช้ด้วยเจตนาเคารพและต้องไม่นำไปใช้กับสินค้า
ประเภทที่ผลิตขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคนำไปกำจัด
๔. ประเทศจีน มาตรา ๑๘
แห่งกฎหมายว่าด้วยธงชาติของสาธารณ
รัฐประชาชนจีน (Law
of the Peoples Republic of China on the National Flag) ซึ่งมี
ผลบังคับใช้เมื่อ ๑ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๙๐ กำหนดห้ามนำธงรวมทั้งรูปแบบของธงไปใช้เป็น
เครื่องหมายการค้าหรือใช้กับสินค้าที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา
๕. เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายธงออกมาใช้
บังคับแต่มีการร่างกฎหมายเกี่ยวกับธงของฮ่องกง
คือ Regional Flag and Regional
Emblem Bill ซึ่งร่างมาตรา
๖ กำหนดห้ามนำธงหรือรูปแบบธงของฮ่องกงไปใช้เป็นเครื่อง
หมายการค้าหรือใช้ในการโฆษณา เว้นแต่ได้รับอนุญาต
และได้กำหนดโทษปรับสำหรับผู้
ฝ่าฝืนไว้ด้วย
๖. ประเทศบาห์เรน มาตรา
๘ แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยธง ค.ศ.
๒๐๐๒ (Article VIII
of the Royal Decree on the Flag) กำหนดห้ามนำธงชาติของบาห์
เรนไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางพาณิชย์
(ลงชื่อ) พรทิพย์ จาละ
(นางสาวพรทิพย์ จาละ)
รองเลขาธิการฯ
รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖