หน้าหลัก > ข่าวสารและผลงาน> บทความทางกฎหมาย
คำบรรยายพิเศษ เรื่อง กระบวนการนิติบัญญัติ (มีชัย ฤชุพันธุ์)

คำบรรยายพิเศษ

คำบรรยายพิเศษ

ฯพณฯ มีชัย ฤชุพันธุ์  ประธานวุฒิสภา

เรื่อง  กระบวนการนิติบัญญัติ

ณ หอประชุมคุรุสภา

วันพฤหัสบดีที่ ๘ มกราคม ๒๕๔๑

 

ท่านผู้เข้ารับการอบรมครับ

                        ก่อนอื่นต้องขอประทานโทษที่มาสายอย่างมาก เพราะว่าวัน
นี้วิ่งรอกหลายงานงานสุดท้ายที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มาที่นี่ก็เลยใช้
เวลาหน่อย ปีนี้เป็นปีที่สองที่ผมมาบรรยายให้ผู้เข้ารับการอบรมฟังถึง
กระบวนการนิติบัญญัติ ผมก็หวังว่าคงจะไม่มีใครตกค้างจากปีที่แล้วจนต้อง
มาฟังซ้ำอีกครั้ง ถ้าถามว่าในเมื่อเราจะออกไปเป็นนักกฎหมาย ไปเป็นทนาย
ความเป็นหลักทำไมเราถึงจะต้องรู้กระบวนการนิติบัญญัติซึ่งเป็นกระบวน
การในการสร้างกฎหมาย ก็คงจะพอเทียบได้กับว่าเหมือนเราขับรถเป็นแล้ว
เราไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับรถไม่รู้ว่าเวลาที่เราเหยียบคันเร่งลงไป คันเร่งทำหน้า
ที่อะไร รู้แต่ว่าเหยียบให้มิดแล้วจะวิ่งได้เร็วไม่รู้ว่าคันเร่งคือสายเชื่อมน้ำมันที่
จะทำให้น้ำมันพุ่งมากขึ้น ถ้าเราเหยียบไปมาก ๆ น้ำมันก็จะท่วม ไม่รู้คัน
เบรคทำหน้าที่อะไรนึกจะหยุดก็เหยียบเบรคลงไป พอผ้าเบรครถจะสึกก็ไม่รู้
ว่าทำไมเคยเหยียบเบรคแล้วหยุดทำไมจึงไม่หยุด กฎหมายก็เป็นเครื่องมือ
ของสังคม เครื่องมือที่จะทำให้สังคมมีกติกา มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
และอยู่ในกรอบอันเดียวกัน ที่เน้นคำว่า
“กฎหมายคือเครื่องมือสังคม” ก็
เพราะว่าจะเหมือนกับเครื่องมืออื่น ๆ ตรงที่ว่า ถ้าเครื่องมือนั้นยังอยู่ เราก็
ต้องใช้ตามเครื่องมือนั้น
manual บอกว่าใช้อย่างไร ก็ต้องใช้ตามนั้น เมื่อไหร่
เครื่องมือล้าสมัยไม่สามารถจะผลิตสิ่งที่เราต้องการได้ก็ต้องเปลี่ยนเครื่องมือ
เมื่อได้เครื่องมือใหม่มาแล้วก็ต้องปฏิบัติตามกติกาของเครื่องมือนั้น ๆ จน
กว่าเครื่องมือนั้นจะถูกเลิกไปหรือเปลี่ยนใหม่อีกครั้งหนึ่ง กฎหมายจึงไม่ใช่
สัจธรรมเหมือนอริยสัจสี่ของพระพุทธเจ้าที่อยู่คงฟ้าคงดิน หรือทำให้เราต้อง
ผูกอยู่กับมันจนตลอดชีวิต แต่ตราบใดที่ยังมีอยู่เราต้องยึดและปฏิบัติตาม
อย่างเข้มงวดกวดขัน สังคมใดก็ตามที่คนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเข้ม
งวดกวดขันสังคมนั้นจะเป็นสังคมที่เลอะเทอะ เหมือนกับบ้านเราเวลานี้

                        ท่านทั้งหลายขับรถคงจะเป็นกันทั้งนั้น ส่วนใหญ่คงจะมีรถ
ขับ แม้ตอนนี้จะถูกยึดไปบ้างก็ตาม แต่ลองถามตัวท่านเองว่าในฐานะที่ท่าน
เรียนกฎหมายท่านเคยอ่านกฎจราจรตั้งแต่ต้นจนจบหรือไม่ เคยมีกฎจราจร
อยู่กับมือหรือไม่ คำตอบคงเป็นเชิงปฏิเสธเสียเป็นส่วนใหญ่ นั่นแปลว่าอะไร
แปลว่าเรารู้กฎจราจรอย่างงู ๆ ปลา ๆ แล้วเราก็เอายานพาหนะซึ่งเป็นเครื่อง
จักรกล ที่เป็นตัวที่ก่อให้เกิดอันตรายมาใช้ในท้องถนน อันตรายก็จะเกิดขึ้น
กับทั้งตัวเราและบุคคลอื่น และทำความสับสนให้เกิดขึ้นในบ้านเมือง ใน
สังคมได้ด้วย เพราะว่ารถราก็ติดเป็นระนาว ที่ผมพยายามเน้นว่า
“เป็นเครื่อง
มือ
” ก็เพราะว่าเราซึ่งเป็นผู้สร้าง เราจะต้องคอยตรวจสอบดูตลอดเวลาว่า
เครื่องมือนั้นยังใช้ได้หรือไม่ ถ้าใช้ไม่ได้ก็เปลี่ยนเครื่องมือ แต่ตราบใดที่ยัง
ไม่เปลี่ยนทุกคนก็ต้องอยู่ภายในกรอบเครื่องมืออย่างเคร่งครัด ในฐานะที่
ท่านทั้งหลายจะเป็นนักกฎหมาย จะเป็นผู้ไปผดุงความยุติธรรมท่านจึงต้องรู้
กระบวนการของกฎหมายว่า ถ้าวันหนึ่งท่านคิดจะเป็นคนริเริ่มให้เปลี่ยน
เครื่องมือนั้น เพราะท่านจะเป็นคนที่น่าจะรู้ดีที่สุดว่าเครื่องมือนั้นใช้ได้ผลดี
หรือไม่ ถ้าท่านคิดจะเปลี่ยน ท่านจะทำอย่างไรจะมีหนทางทำได้
อย่างไร

                        ภายใต้รัฐธรรมนูญปัจจุบันสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ของคนจะ
มีมากขึ้น การรับรู้จึงต้องมากตามไปด้วย เพื่อว่าจะได้ใช้สิทธิปฏิบัติหน้าที่ได้
อย่างถูกต้อง ถ้าเราแบ่งกฎหมายตามที่มา อาจจะแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ
กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ กับกฎหมายของฝ่ายบริหาร

                   กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ บรรดาบทกฎหมายทั้งหลาย
ที่จะต้องออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ เช่นรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ เดี๋ยวนี้ก็มี
คำใหม่อีกคำ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เขาเรียกกันกฎหมายลูก

                   กฎหมายของฝ่ายบริหาร  ซึ่งได้แก่พระราชกำหนด พระ
ราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และบรรดากฎข้อบังคับที่ออกโดยองค์กรผู้มี
อำนาจทั้งหลาย พระราชกำหนดเป็นกฎหมายฝ่ายบริหาร ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไข
ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติในภายหลัง กฎเกณฑ์ที่จะ
ออกพระราชกำหนดได้ก็จะมีกำหนดไว้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญ ซึ่งแยกพระราช
กำหนดออกเป็น ๒ ประเภท คือ พระราชกำหนดที่ว่าด้วยภาษีอากรหรือเงิน
ตราประเภทหนึ่ง กับพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นเพื่อ
ประโยชน์ของประเทศอีกประเภทหนึ่ง ที่เราจะพูดกันวันนี้ถึงกระบวนการนิติ
บัญญัติ เราจะเน้นกฎหมายที่มาจากฝ่ายนิติบัญญัติมากกว่ากฎหมายที่มาจาก
ฝ่ายบริหาร เมื่อเราจะพูดถึงกฎหมายที่มาจากฝ่ายนิติบัญญัติเราต้องรู้ถึง
องคาพยพของฝ่ายนิติบัญญัติว่ามีอะไรบ้าง ใครเป็นผู้ใช้อำนาจทางนิติ
บัญญัติ คำตอบก็คือรัฐสภา เป็นผู้ที่จะถวายคำแนะนำและยินยอมแก่พระ
มหากษัตริย์ในการตราพระราชบัญญัติ

                        รัฐสภาของไทยจะประกอบไปด้วย สภาผู้แทนราษฎรและ
วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญใหม่จะมีสมาชิก ๕๐๐ คน ๔๐๐
คนจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากเขตต่าง ๆ ซึ่งจะแบ่งจังหวัดต่าง ๆ
ออกเป็นเขตเลือกตั้งเขตละ ๑ คนที่เราได้ยินได้ฟังว่าเขตเดียวเบอร์เดียว
ประเภทนี้จะมี ๔๐๐ คน อีกประเภทมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากราษฎร
เหมือนกัน แต่เป็นการเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองเสนอ ๑๐๐
คน พรรคการเมืองแต่ละพรรคจะมีสิทธิเสนอได้ไม่เกิน ๑๐๐ คน ส่วนจะได้
รับเลือกตั้งหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคได้
รับจากการเลือกตั้งทั้งประเทศมีจำนวนเท่าไหร่ ถ้าพรรคการเมืองใดไดรับ
คะแนนเสียงจากทั้งประเทศน้อยกว่าร้อยละ ๕ ของผู้มาออกเสียงทั้งหมด
พรรคการเมืองนั้นก็จะไม่ได้รับเลือกตั้งตามบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองใดได้
รับมากกว่าร้อยละ ๕ ก็จะได้รับตามการเฉลี่ยคะแนนที่ได้รับของพรรคการ
เมืองนั้น ๆ ความแตกต่างของสมาชิกสองประเภทอยู่ตรงที่ว่า เมื่อสมาชิกลา
ออกไปเป็นรัฐมนตรี ถ้าเป็นสมาชิกประเภทที่มาจากการเลือกตั้งตามเขตต่าง
ๆ ก็จะต้องไปดำเนินการให้มีการเลือกตั้งซ่อมใหม่แทนคนนั้น ๆ
แต่ถ้าเป็น
สมาชิกที่มาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองใด พรรคการเมืองนั้นก็จะ
เลื่อนคน
ซึ่งเรียงลำดับไว้ถัดลงไปขึ้นมาเป็นสมาชิกแทน ทุกอย่างก็จะเหมือน
กันหมดทั้งคุณสมบัติหรือข้อห้ามต่าง ๆ ก็จะเหมือนกัน สมาชิกสภาผู้แทน
ราษฎรมีวาระอยู่คราวละ ๔ ปี สำหรับวุฒิสภานั้นจะประกอบไปด้วยสมาชิก
๒๐๐ คน ซึ่งจะมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรแต่ละจังหวัด จังหวัด
ใดจะมีสมาชิกวุฒิสภาได้กี่คนก็ขึ้นอยู่กับจำนวนพลเมืองของจังหวัดนั้น ๆ
โดยใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง เช่น สมมุติว่า กรุงเทพมหานคร มีได้ ๕
คน ก็ใช้กรุงเทพมหานครทั้งเขตเป็นเขตเลือกตั้ง แล้วก็เลือก ๕ คน แต่ว่าจะ
ใช้วิธีเลือกโดยไปลงคะแนน ๕ คนหรือไปลงคะแนนได้คนเดียว แล้วก็ให้คน
ที่ได้ลำดับที่ ๑
, , ,, ๕ ได้รับเลือกนั้นก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายเลือกตั้งในวัน
ข้างหน้าเป็นเกณฑ์ สมาชิกทั้ง ๒ ประเภท ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
นั้น มีคุณสมบัติใหม่ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญก็คือจะต้องจบปริญญาตรีเป็น
อย่างน้อยฉะนั้นผมฝากพวกท่านทั้งหลายที่จะไปสมัครรับเลือกตั้ง ก็จะดีขึ้นก็
จะตัดคู่แข่งขันที่ไม่จบปริญญาตรีออกไปได้มาก แต่ว่าสมัครแล้วจะได้รับ
เลือกหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง คนที่มีความโด่ง
ดังทางด้านศิลปิน นักแสดงอาจจะได้เปรียบ เพราะคนเขารู้จักมากกว่า
ฉะนั้นวิธีที่ดีก็คือว่าระหว่างไปเป็นทนายความให้ไปเล่นละคร ร้องเพลงเสีย
บ้างพอดังได้ที่แล้วค่อยไปสมัครทุ่นสตางค์ไปได้มาก

                        สำหรับคนที่จะมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นจะต้องมี
อายุอย่างน้อย
๒๕ ปี ส่วนคนที่จะมาเป็นสมาชิกวุฒิสภาอย่างน้อยต้องมีอายุ
๔๐ ปี ซึ่งดูหน้าพวกท่านทั้งหลายแล้ว คงยังไม่ถึงเกณฑ์จะได้เป็นสมาชิกวุฒิ
สภาต้องอยู่ไปจนแก่อีกหน่อยแล้วค่อยสมัครไปเป็นสมาชิกวุฒิสภา สมาชิก
วุฒิสภานั้นจะมีอายุอยู่ได้ถึง ๖ ปี แต่ที่แปลกกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็
ตรงที่ว่าเมื่อเป็นครบ ๖ ปีแล้วท่านจะลงสมัครอีกไม่ได้เพราะไม่ต้องการให้
เป็นซ้ำ ตรงนี้ก็เป็นเรื่องแปลกเพราะว่าโดยหลักก็คือว่าวุฒิสภาต้องการ
      ผู้
เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญงานคนที่จะเชี่ยวชาญชำนาญงานในแวดวงสภาได้นั้น
อย่างน้อย ๆ จะต้องอยู่ประมาณ ๓
-๔ ปี เป็นอย่างต่ำถึงจะเริ่มพอรู้ลู่ทางว่า
จะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน พอรู้ลู่ทางดีอยู่ไปได้อีก ๒ ปีก็จบ จบแล้วก็
สมัครไม่ได้ ต่อไปเราก็จะมีวุฒิสมาชิกที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาเป็น จะ
เป็นคนใหม่ล้วน ๆ ทุกครั้งไปที่มีการเลือกตั้ง เพราะคนเก่าจะมาสมัครรับ
เลือกตั้งไม่ได้

                        เรามาดูถึงอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา ซึ่งจะพูดรวม ๆ กันไป
ทั้ง ๒ สภา อำนาจหน้าที่จริง ๆ ของรัฐสภาอาจรวมได้เป็น ๔ ประการเท่านั้น

                        . การแนะนำและยินยอมในการตรากฎหมายซึ่งเป็นอำนาจ
ในด้านนิติบัญญัติโดยตรง

                        . การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

                        . การแต่งตั้ง การให้ความเห็นชอบ หรือให้คำแนะนำใน
การแต่งตั้งสมาชิกขององค์กรตรวจสอบต่าง ๆ

                        . อำนาจในการถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ
ออกจากตำแหน่งซึ่งเราจะได้มาดูรายละเอียดของแต่ละอำนาจว่ามีกระบวน
การในการทำงานอย่างไร

                   อำนาจหน้าที่ประการที่ ๑  การแนะนำและยินยอมในการ
ตรากฎหมาย
ถ้าเราไปดูมาตรา ๓ ของรัฐธรรมนูญไม่ว่าฉบับไหน ๆ รวมทั้ง
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็จะเขียนทำนองเดียวกันว่าอำนาจอธิปไตยมาจาก
หรือเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา
ทางคณะรัฐมนตรีและทางศาล อันนั้นบอกอะไรแก่เรา ความหมายก็คือบอก
ว่าพระมหากษัตริย์ยังเป็นผู้ใช้อำนาจนั้นแต่ผ่านทางองค์กรต่าง ๆ โดยที่กฎ
เกณฑ์กระบวนการในการใช้อำนาจกำหนดไว้ชัดเจนคำว่า
“พระมหากษัตริย์
ทรงใช้อำนาจ
” นอกจากจะบอกถึงลักษณะความหมายของการปกครองใน
ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ยังอธิบายให้เรา
เข้าใจถึงเมื่อเวลาเราไปอ่านตัวพระราชบัญญัติเราจะเห็นว่า คำขึ้นต้นจะบอก
ว่า
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ประกาศว่า
…” และก็มีคำปรารภของกฎหมาย นั่นคือการตรากฎหมาย
แต่ถามว่าตราโดยอย่างไรคำต่อไปก็จะบอกว่า
“โดยคำแนะนำและยินยอม
ของรัฐสภา
” แปลว่าอะไร แปลว่าสภานั้นเป็นผู้ริเริ่มในการให้มีกฎหมายก็คือ
การแนะนำ ส่วนการยินยอมก็คือการที่บุคคลอื่นเป็นผู้ริเริ่มให้มีกฎหมายแล้ว
สภาเป็นผู้ยินยอมให้มีกฎหมายนั้น ๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นการแนะนำหรือเป็น
การยินยอม สภาย่อมทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนแปลงตามที่
สภาเห็นว่าดีงามแล้วจึงนำกราบบังคมทูลว่าแนะนำและยินยอมร่างกฎหมาย
นี้ แน่ล่ะมีกระบวนการว่าถ้าพระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยกระบวนการ
ก็จะมีต่อไปว่าจะทรงทำอย่างไรต่อไปได้แต่นั่นก็เป็นกระบวนการสุดท้าย แต่
ในตอนเริ่มต้นนั้น คำแนะนำและยินยอมจะต้องมาจากรัฐสภาซึ่งประกอบไป
ด้วยทั้ง ๒ สภา ในทางข้อบังคับและกฎหมาย ถามว่าใครบ้างจึงจะมีสิทธิไป
เสนอร่างกฎหมายนั้น ๆ ตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันคนที่เสนอร่างกฎหมายได้
มาจาก ๓ ทาง
คือ

                        กลุ่มที่ ๑  คือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  สำหรับสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรนั้นก็เสนอกฎหมาย รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ว่าจะต้องมี
เงื่อนไข ๒ ประการ

                        ประการที่ ๑  คือ จะต้องได้รับมติของพรรคการเมืองที่ตน
สังกัดให้เสนอกฎหมายนั้นได้

                        ประการที่ ๒  คือ จะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับรอง
อย่างน้อย ๒๐ คน

                        ถามว่าทำไมถึงต้องให้พรรคการเมืองมีมติให้เสนอได้
สมาชิกถึงจะเสนอได้ก็ตอบว่าเพราะพรรคการเมืองซึ่งมีนโยบายของตนเอง
มีนโยบายในการจะดำเนินงานทางการเมือง และได้ไปประกาศให้ประชาชน
ได้ทราบไว้ตอนไปหาเสียงเลือกตั้ง สมาชิกทุกคนจะต้องผูกพันต่อนโยบาย
นั้น ๆ เพราะฉะนั้นการที่สมาชิกจะเสนอร่างกฎหมายใด ๆ จึงจะต้องสอด
คล้องกับนโยบายของพรรคการเมืองนั้น มิฉะนั้นพรรคการเมืองอาจจะ
ประกาศนโยบายอย่างหนึ่ง สมาชิกไปเสนอกฎหมายซึ่งจะมีผลไปอีกอย่าง
หนึ่ง ก็จะทำให้เกิดความสับสนได้

 

                        สำหรับเงื่อนไขประการที่ ๒ ที่กำหนดให้ต้องมีผู้รับรอง
อย่างน้อย ๒๐ คน
ก็เพื่อเป็นการสกัดไม่ให้สมาชิกเสนอกฎหมายโดย
ฟุ่มเฟือยจนเกินไป อย่างน้อยที่สุดจะต้องมีคนเห็นดีเห็นงามกับร่างกฎหมาย
นั้นอย่างน้อย ๒๐ คน ซึ่งผลของการกำหนด ๒๐ คนจึงทำให้พรรคเล็ก ๆ ที่
มีคนได้รับเลือกตั้งไม่ถึง ๒๐ คนไม่สามารถที่จะเสนอกฎหมายได้ เราจะไม่
สามารถหาสมาชิกในพรรคของตัวไปลงชื่อรับรองได้ สมาชิกพรรคใหญ่ ๆ
จึงจะเสนอได้ ซึ่งดูในแง่มุมหนึ่งอาจจะรู้สึกว่าเป็นการจำกัดสิทธิในการเสนอ

กฎหมาย แต่ถ้ามองอีกแง่มุมหนึ่งถึงผลที่จะได้รับประกอบกับทางปฏิบัติแล้ว
เราก็จะพบว่าลำพังคน ๆ เดียวไปเสนอกฎหมาย สมาชิกคนอื่น ๆ เขาก็ไม่
เอาด้วย เมื่อไม่เอาด้วยกฎหมายนั้น ๆ ก็ตกไป แล้วก็สิ้นเปลืองเวลาสิ้น
เปลืองค่าใช้จ่าย กฎหมายฉบับหนึ่ง ๆ ในการพิจารณาแต่ละครั้งสิ้นเปลือง
งบประมาณเป็นแสน ๆ บางฉบับเป็นล้าน ๆ เพราะจะต้องพิมพ์ตัวร่างนั้น
ทุกครั้งที่มีการพิจารณาเป็น ๑
,๐๐๐ ชุด สิ้นเปลืองมากทีเดียว แต่ว่าสมาชิก
สภาผู้แทนราษฎรจะเสนอกฎหมายถึงแม้จะมีเงื่อนไขครบ
๒ ประการนั้นแล้ว
ก็ใช่ว่าจะเสนอกฎหมายได้ทุกชนิด กฎหมายที่เกี่ยวกับการเงิน สมาชิกจะ
เสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีเสียก่อนจึงจะเสนอได้ ถามว่า
ทำไมถึงต้องให้นายกรัฐมนตรีรับรอง คำตอบก็คือว่ากฎหมายที่เกี่ยวด้วยการ
เงิน ก็คือกฎหมายที่จะต้องใช้จ่ายเงินกฎหมายที่เกี่ยวด้วยภาษีอากร
กฎหมายที่เกี่ยวด้วยกับเงินตราถ้าผู้บริหารในขณะนั้นเขาไม่ได้รับรอง ก็ยาก
ที่จะรู้ได้ว่าเวลาไปปฏิบัติจะปฏิบัติได้หรือไม่ ยกตัวอย่าง ถ้ามีสมาชิกคนหนึ่ง
เสนอกฎหมายบอกว่าให้ยกเว้นภาษีให้กับชาวนา ชาวไร่ เกษตรกร หรือออก
กฎหมายยกหนี้สินทั้งหมดให้กับเกษตรกร ถามว่าเวลาส่งเข้าสภา สมาชิก
พรรคไหนจะกล้าค้านกฎหมายฉบับนี้บ้าง ในทางการเมืองจะไม่มีใครกล้า
ค้าน เพราะเกษตรกรจะเป็นคน ๘๐
% ของประเทศ แล้วเป็นคนไปลงคะแนน
เสียงคงเส้นคงวาที่สุด ซึ่งต่างจากคนในเมือง ซึ่งไม่คงเส้นคงวา คนมีการ
ศึกษามากจะไปลงคะแนนน้อย คนมีการศึกษาน้อยจะไปลงคะแนนเสียงมาก
ซึ่งจะผกผันกันอยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเสนอกฎหมายอย่างนี้เข้าไปในสภา
รับรองว่าสภาผ่าน ๓ วาระ ออกมาใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว ถามว่าการ
บริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาจะทำได้
อย่างไร ก็ตอบว่าทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกันสิ่งเหล่านี้รัฐธรรมนูญจึง
กำหนดว่ากฎหมายที่เกี่ยวด้วยการเงินต้องให้นายกรัฐมนตรีรับรอง การรับ
รองของนายกรัฐมนตรีจะเป็นการบอกว่า กฎหมายอย่างนั้นรับได้หรือไม่
ปฏิบัติได้หรือไม่ ถ้าปฏิบัติได้เขาก็รับรอง ถ้าปฏิบัติไม่ได้เขาก็ไม่รับรองก็
เป็นการสกัดกั้นอีกชั้นหนึ่ง นั่นก็เป็นกลุ่มแรกที่มีสิทธิเสนอกฎหมายเข้าสู่
สภา ถามว่ากระบวนการและขั้นตอนในการเสนอกฎหมายของกลุ่มนี้เป็น
อย่างไร ก็ตอบว่าไม่มีกระบวนการอะไร  นอกเหนือไปจากการที่ต้องหาคน
รับรองแล้วก็ให้พรรคการเมืองมีมติเห็นชอบ ในการร่างเขาทำอย่างไร ถ้า
เป็นกฎหมายใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อนเขาก็ร่างคร่าว ๆ ภาษาก็อาจจะใช้
ภาษาธรรมดาหรืออาจจะให้เจ้าหน้าที่ของสภาขัดเกลาบ้างเล็กน้อย พอให้ดู
หน้าตาคล้ายๆ กฎหมายแล้วก็เสนอเข้าไป เพราะกฎหมายเหล่านี้ ส่วนใหญ่
จะตกเสีย ๙๙
% นาน ๆ จึงจะหลุดออกมาได้ครั้งหนึ่ง แต่มีกฎหมายอีก
ประเภทหนึ่งที่สมาชิกเสนอแล้วได้รับการยอมรับทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล
นั่นคือกฎหมายที่คอยโดยสารกฎหมายของรัฐบาล เช่น ถ้ารู้ว่ารัฐบาลกำลังจะ
เสนอกฎหมายจัดตั้งธนาคารให้กับสภาทนายความ สมาชิกรู้ก็จะรีบเสนอ
กฎหมายอย่างเดียวกัน โดยวิธีไปถ่าย
copy ของรัฐบาลมาแล้วก็เซ็นชื่อเขา
แล้วก็ส่งเข้าไป กฎหมายอย่างนี้ก็จะได้รับการสนับสนุนและการพิจารณา
พร้อมไปกับร่างของรัฐสภา คนที่เสนอกฎหมายนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของ
ร่างกฎหมายนั้นไปด้วย ซึ่งมีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีก็คือว่ารัฐบาลเลยพลอย
ได้รับคะแนนเสียงจากฝ่ายค้านไปด้วย เพราะฝ่ายค้านที่เสนอกฎหมายอย่าง
เดียวกับรัฐบาลย่อมจะไม่ไปตีกฎหมายของรัฐบาล เวลาลงคะแนนก็จะได้
คะแนนจากฝ่ายค้าน ผลเสียก็มีตรงที่ว่าแทนที่จะพิมพ์กฎหมายนั้นชุดเดียว
ต้องพิมพ์กฎหมายนั้นหลาย ๆ ชุดเท่าจำนวนคนเสนอทั้ง ๆ
ที่หน้าตาเหมือน
กันเลย เพราะ
copy มาจากที่เดียวกัน ก็ต้องพิมพ์เท่าจำนวนนั้น สมมุติว่าถ้า
เราเคยพิมพ์กฎหมายหรือร่างกฎหมายเพื่อแจกสมาชิก ๑
,๐๐๐ ชุด ถ้ามีคน
เสนอกฎหมายนั้นด้วย
๕ ฉบับ ก็ต้องพิมพ์ ๕,๐๐๐ ชุดตลอดเส้นทางไป ก็จะ
สิ้นเปลืองงบประมาณมากพอสมควร

                        กลุ่มที่ ๒  คือ คณะรัฐมนตรีที่จะเป็นผู้มีสิทธิเสนอ
กฎหมาย กฎหมายส่วนใหญ่จะเป็นกฎหมายของคณะรัฐมนตรี เพราะว่าใน
การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีนั้นย่อมต้องการเครื่องมือและ
อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำงาน เครื่องมือที่ดีที่สุด เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่
ดีที่สุดก็คือกฎหมาย เพราะฉะนั้นคณะรัฐมนตรีก็จะมีการเสนอกฎหมายอยู่
เป็นประจำ กฎหมายที่ผ่านออกมานั้น ๙๙
% เป็นกฎหมายที่คณะรัฐมนตรี
เสนอทั้งสิ้น กระบวนการของคณะรัฐมนตรีในการเสนอในแง่ของการส่งเข้า
สภานั้นไม่มีอะไรมาก คณะรัฐมนตรีมีมติให้เสนอก็ส่งไปสภา ไม่ต้องขอคำ
รับรองไม่ต้องไปขอให้ใครลงชื่อรับรองจากสมาชิก แต่ในทางปฏิบัติกระบวน
การที่กฎหมายหนึ่ง ๆ จะไปถึงสภาได้ยาวเหยียดเลย เพราะเริ่มต้นตั้งแต่
หน่วยที่จะต้องใช้กฎหมายนั้น ๆ เขาจะคิดของเขามาก่อน เป็นเวลา ๓ เดือน
๓ ปี หรือ ๓๐ ปี สุดแต่ว่าใครคิดเร็ว ใครคิดช้า ใครกลัวมาก ใครกลัวน้อย

เมื่อเสร็จจากหน่วยต้นที่จะใช้กฎหมายนั้นแล้วก็จะเสนอไปยังรัฐมนตรี เมื่อ
รัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโดยปกติรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบก็จะรู้คร่าว ๆ
ว่ากฎหมายนั้นว่าด้วยเรื่องอะไรและจะเกิดประโยชน์อะไร แต่จะไม่ได้อ่านตัว
กฎหมายนั้น ๆ ว่ามีว่าอย่างไร เมื่อรัฐมนตรีเห็นชอบก็จะส่งให้คณะรัฐมนตรี
เพื่อให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง ถ้าคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก็จะเป็น
เรื่องทางเทคนิค ก็ต้องส่งไปยงหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบร่างกฎหมาย
เหล่านี้ คือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบ
เขาก็จะตรวจว่า

                        ) ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

                        ) สร้างความไม่เป็นธรรมหรือไม่

                        )  กลไกที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายนั้นครบถ้วนแล้วหรือ
ยัง ซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ถ้าซ้ำซ้อนก็จะต้องไปแก้กฎหมาย
อะไรบ้าง หรือมีกฎหมายอื่นใช้ได้อยู่แล้วเหล่านี้เป็นต้น

                        จะต้องตรวจค่อนข้างจะละเอียด และต้องใช้เวลากว่าจะออก
จากกฤษฎีกาได้ก็ ๖ เดือนหรือ ๑ ปี กลับมาเข้าคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง
บางทีกว่าจะออกมาจากกฤษฎีกาได้นั้น คณะรัฐมนตรีเปลี่ยนไปแล้ว ๒ ชุด
บางทีก็จะต้องกลับมาดูใหม่ ถ้าบังเอิญดูละเอียดเปลี่ยนนโยบายก็จะอาจจะ
ส่งกลับไปกฤษฎีกาใหม่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาก็ไปตรวจสอบดู
แลเรียบร้อยส่งมาคณะรัฐมนตรี เปลี่ยนอีกแล้วคนใหม่มาบอก ไม่เอา เอา
กลับไปที่เดิมก็ย้อนกลับไปใหม่บางทีเวียนไปเวียนมาอยู่อย่างนี้ ๒
-๓ ครั้ง
กว่าจะส่งไปยังสภา โดยที่รัฐสภาเราจะประกอบไปด้วยพรรคการเมืองหลาย
พรรคเสมอ เพราะฉะนั้นก็จะมีการชิงไหวชิงพริบกันพอสมควร เพราะฉะนั้น
ก็ต้องเอาเข้าที่ประชุมร่วมกันของรัฐบาลที่เขาเรียกกันว่าคณะกรรมการ
ประสานงานรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล พวกวิปจะไปดูเสียก่อนว่ากฎหมายฉบับนี้
ต้องใช้แรงเข็นเพื่อให้ผ่านสภามากน้อยแค่ไหน ถ้าเราเป็นฝ่ายค้าน เราจะตี
จุดไหนเพื่อที่จะเตรียมข้อมูลเหล่านั้นหรือเตรียมทางหนีทีไล่ไว้แล้วจึงส่งสภา
เมื่อส่งไปที่สภาแล้วก็ไปเข้าบรรจุระเบียบวาระ กว่าจะได้พิจารณาบางทีหมด
๔ ปีพอดี กฎหมายนั้นก็ไม่ได้พิจารณา ถามว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะ
ว่าขนาดเรามีกติกาว่าพรรคการเมืองเล็กเสนอกฎหมายไม่ได้ เฉพาะพรรค
ใหญ่เท่านั้นเสนอกฎหมายได้ กฎหมายก็ค้างอยู่ในสภายาวเหยียด เฉพาะราย
ชื่อกฎหมายที่อยู่ในระเบียบวาระของสภาผู้แทนราษฎร บางที ๔๐ หน้า แล้ว
เมื่อส่งไปก็จะไปต่อท้ายไปเรื่อย ยากต่อการพิจารณาถึงตอนท้าย ๆ เพราะ
ฉะนั้นก็จะต้องมีการเปลี่ยนระเบียบวาระ เอาเรื่องสำคัญ ๆ ขึ้นก่อน เมื่อ
เปลี่ยนระเบียบวาระกันทีก็จะต้องทะเลาะกันที ถ้าตกลงกันได้ว่าเอาของรัฐ
บาลขึ้นเอาของฝ่ายค้านขึ้นด้วยก็เรียบร้อย ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็จะยื้อกันอยู่
อย่างนั้นและในที่สุดก็ต้องทิ้งไป กฎหมายบางฉบับเวียนเข้าเวียนออกเป็น
เวลา ๑๐ ปีก็มี บางฉบับเป็นเวลา ๓๐ ปี ยังไปไม่ถึงสภาก็มี ยกตัวอย่างง่าย
ๆ กฎหมายโรงแรม กฎหมายโรงแรมนั้นเมื่อผมจบมาจากเมืองนอกใหม่ ๆ
มาทำงานอยู่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดูเหมือนจะเป็นกฎหมายฉบับ
แรกที่ผมไปยกร่าง พระราชบัญญัติโรงแรม
เพราะตอนนั้นเราก็มองเห็นแล้ว
ว่าโรงแรมไม่ใช่โรงเตี๊ยมเหมือนสมัยก่อนแล้ว วิวัฒนาการมาเป็นสิ่งที่วิลิศมา
หรากว่าโรงเตี๊ยม เกินกว่าที่จะมาใช้วิธีการอย่างเดิม แล้วก็ยกร่างเสร็จ จดบัด
นี้กฎหมายโรงแรมก็ยังไม่เข้าสภา ยังไม่รู้ว่าไปเวียนว่ายตายเกิดที่ไหน
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นอีกฉบับหนึ่งที่ถือว่ามีอาถรรพ์ เข้าสภาที
ไรสภาถูกยุบ จนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกลัวพอกฎหมายฉบับนี้เข้าทีไร มา
อีกแล้วร้อน ๆ หนาว ๆ อีกแล้ว และก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ เสียด้วย แต่ก็โชค
ดีหลังจากเวียนว่ายอยู่เป็นเวลา ๑๒ ปี ก็ได้ผ่านไปเมื่อสภาชุดก่อน บัดนี้ก็
ค่อยโลงใจไม่ต้องไปกังวลต่อการถูกยุบสภาอีกแล้ว

                        กลุ่มที่ ๓  ที่เป็นสิทธิใหม่ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
ไม่น้อยกว่า ๕๐
,๐๐๐ คน จะมีสิทธิเสนอร่างกฎหมายได้ แต่เฉพาะ
กฎหมายที่เกี่ยวกับหมวด ๓ และหมวด ๕ หมวด ๓ ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ
หมวด ๕ ว่าด้วยแนวนโยบายแห่งรัฐ เฉพาะ ๒ เรื่องนี้ ความจริง ๒ เรื่องนี้
ครอบคลุมกฎหมาย ๙๐
% ของประเทศแล้ว แต่อย่างเพิ่งไปกระหยิ่มใจว่าต่อ
ไปนี้เรารวบรวมคนมา ๕๐
,๐๐๐ คน แล้วเราก็จะเสนอกฎหมายได้ เพราะว่า
ยังจะต้องรอกฎหมายออกมาเสียก่อนว่าวิธีการจะทำอย่างไร ก็ยังไม่รู้
กฎหมายจะออกมาได้เมื่อไหร่ ที่สำคัญก็คือว่าแนวคิดในเรื่องนี้เป็นแต่เพียง
ปล่อยให้กลิ่นไอระเหยออกมาเท่านั้น
ในทางปฏิบัติในทางความเป็นจริงก็ยัง
เป็นไปไม่ได้ แล้วยังมีหนทางที่จะปฏิบัติได้ เพราะคนคิดยังคิดไปไม่ตลอด
รอดฝั่ง ถ้าเข้าสภาแล้ว สภาไม่รับหลักการแล้วจะทำอย่างไร หรือเขารับหลัก
การแต่หน้าตาจะออกมาอย่างไร ส่งเข้าไปเป็นกระบอกไม้ไผ่พอออกมากลาย
เป็นบ้องกัญชาจะทำอย่างไร ตรงนี้ยังไม่ได้พูดกันเพราะฉะนั้นกระบวนการนี้
จึงเป็นแต่เพียงกระบวนการริเริ่มที่อาจจะนำไปสู่ความเป็นจริงในอนาคต ซึ่ง
ก็ยังไม่รู้ว่าเมื่อเวลาเป็นจริงแล้วหน้าตาจะเป็นอย่างไร เพราะขึ้นชื่อว่า
กฎหมายเป็นสิ่งซึ่งใช้บังคับกับทุกคนไม่ว่ายากดีมีจน ทุพพลภาพ ผู้หญิงผู้
ชายหรือประเภทสาม จะอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายหมด ถ้าคน ๕๐
,๐๐๐
คนอยากได้กฎหมายฉบับไหนและต้องออกให้ตามนั้นคน ๖๕
,๙๕๐,๐๐๐ คน
จะทำอย่างไร ตรงนั้นยังไม่ได้คิดกันว่าจะทำอย่างไร นั้นก็เป็นคนซึ่งจะมีสิทธิ
เสนอกฎหมายได้

                        คราวนี้เมื่อเสนอกฎหมายเข้าไปในสภาแล้ว เขาทำกันอย่าง
ไร กระบวนการในเบื้องต้นทีเดียวรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่าร่างพระราช
บัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะเสนอต่อสภาผู้แทน
ราษฎรก่อน คือให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเสียก่อน ถ้าตกก็ตกไปตรงนั้น
ถ้าไม่ตกจึงส่งต่อไปยังวุฒิสภา ทีนี้กระบวนการในการทำงานของสภาเขามีกฎ

กติกาของเขา กฎกติกาของเขานอกจากจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแล้วยัง
กำหนดไว้ในข้อบังคับการประชุมของสภาอีกด้วย เริ่มต้นทีเดียวก็คือว่า ใน
การที่กฎหมายใดจะได้รับการพิจารณา ก็เป็นเรื่องของประธานสภาที่จะไป
บรรจุระเบียบวาระ แต่การบรรจุระเบียบวาระก็ต้องบรรจุเรียงตามความมา
ก่อนมาหลัง เว้นแต่เป็นเรื่องด่วน ถ้าเป็นเรื่องด่วนก็จะมาก่อน ทีนี้ในที่สุดคน
ทุกคนก็คิดว่า คณะรัฐมนตรีก็คิดว่ากฎหมายของคณะรัฐมนตรีด่วนทั้งนั้น ก็
ส่งมาเป็นเรื่องด่วนหมดก็มาเข้าคิวรอเป็นเรื่องด่วนก็เลยไม่ด่วนเพราะว่าไม่
ใช่ว่าดีดนิ้วเป๊าะแล้วสภาจะผ่านกฎหมายไปได้ กฎหมายบางฉบับในเนื้อหา
เองก็ค่อนข้างเป็นเรื่องที่โต้แย้งกันอยู่ว่าดีหรือไม่ดี มองได้หลายแง่หลายมุม
จากพื้นฐานที่แตกต่างกัน นั่นก็ยังเป็นประเด็นรอง ยังไม่น่าหนักใจเพราะพูด
กันด้วยเหตุผล แต่กฎหมายทุกฉบับจะผ่านการทดสอบความแข็งแรงของรัฐ

บาลอยู่เป็นประจำว่ารัฐบาลนั้นแข็งพอหรือไม่ ถ้าไม่แข็งพอกฎหมายก็ผ่าน
ไม่ได้ ถึงกฎหมายนั้นจะดีวิเศษวิโสขนาดไหนก็ตาม เบื้องต้นทีเดียวในการ
พิจารณากฎหมาย การทำงานของสภา สภาเขาก็มีองค์ประชุมกำหนดไว้ในรัฐ
ธรรมนูญ ซึ่งกำหนดเอาไว้ว่าต้องไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเว้นแต่เป็นระเบียบว่า
ด้วยเรื่องกระทู้ถามจะกำหนดให้น้อยกว่านั้นก็ได้ ก็กำหนดหนึ่งในสามแต่
โดยหลักก็คือกึ่งหนึ่ง ทีนี้ถามว่าเวลาที่เขานับองค์ประชุมเขานับกันอย่างไร
ถ้าตอนเช้าเขาก็นับที่มาเซ็นชื่อพอเซ็นชื่อครบก็เปิดประชุมได้ ข้างในจะนั่งกัน
เท่าไหร่ก็ไม่สำคัญ แต่พอทำงานไปสักพักทุกคนมีสิทธิตรวจสอบว่าบัดนี้องค์
ประชุมยังมีอยู่หรือไม่ การตรวจสอบจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดข้อโต้แย้งเถียงกัน
ระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาล ถ้าฝ่ายค้านเรียกร้องอะไรและฝ่ายรัฐบาลไม่
ยอมตาม ฝ่ายค้านก็จะลุกขึ้นขอนับองค์ประชุม ทันทีที่นับองค์ประชุมก็จะ
ปรากฏว่าไม่ครบองค์ประชุมนาน ๆ ขอนับที แล้วจะครบนั่นแปลว่ารู้ล่วง
หน้ามาแล้ว แต่ว่าตามปกติไม่รู้ล่วงหน้าจะไม่ค่อยครบ เพราะส่วนใหญ่จะนั่ง
คุยกันอยู่ข้างนอก คุยไปคุยมาก็ชักชวนกันไปชักชวนกันมาก็ขับรถออกไป
เขาก็ใช้วิธีใหม่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกพรรคจะมีหัวหน้าคุมคนละ ๕
คน คนนี้
จะต้องรู้ว่า ๕ คนในกลุ่มของตัวเองอยู่ที่ไหนทุกชั่วโมง ตลอดเวลา
ที่มีการประชุมเพื่อจะได้ไปตาม วิธีที่ตามได้สะดวกก็คือต้องมีโทรศัพท์มือถือ
ก็ซื้อโทรศัพท์มือถือแจกให้ พ่อก็ปิดเสียก็ตามไม่ได้ ก็ซื้อ
Packlink แจกอีก
รับแล้วก็ไม่รู้อยู่ที่ไหนแล้วก็ไม่มา เพราะฉะนั้นบางทีกว่าจะเข็นกฎหมายให้
ผ่านวาระแต่ละวาระได้จะค่อนข้างยาก ในวาระหนึ่งอาจจะไม่ค่อยยุ่งยากนัก
แต่ตอนถึงวาระที่สองจะยุ่งยากมาก เพราะเป็นเรื่องของการต่อรองบท
บัญญัติต่าง ๆ จะยุ่งยากมากซึ่งถ้าไม่ยอมตามฝ่ายค้าน ฝ่ายค้านก็จะขอนับ
องค์ประชุม และวิธีที่นับองค์ประชุมที่ได้ผลที่สุดที่ทำให้ครบองค์ประชุมก็คือ
ดูว่าฝ่ายรัฐบาลอยู่เท่าไหร่ แล้วก็ฝ่ายค้านทิ้งคนไว้คนหนึ่งแล้วทั้งหมดก็เดิน
ออกไป คนที่อยู่ก็ยกมือขึ้นขอนับองค์ประชุมก็ไม่ครบเพราะจะครบได้เมื่อทั้ง
สองพวกรวมกันถึงจะครบเพราะโดยปกติก็ไม่ได้มา ผมเคยนั่งนับคนที่นั่งอยู่
ในห้องประชุมซึ่งมีสมาชิก ๖๕๐ คน นับแล้วได้ ๓๖ คน จาก ๖๕๐ คน ใน
ขณะที่น้อยที่สุดได้ ๓๖ คน ก็แปลว่าเวลาประชุมคนที่มันส์ในอารมณ์มากก็
คือคนที่กำลังพูด คนที่กระตือรือร้นคือคนที่ถึงคิวถัดไปจะได้พูด ส่วนคนที่
พูดแล้วก็หมดมันส์แล้วก็ลุกไปแล้ว คนที่ไม่มีคิวจะพูดก็ไม่รู้ว่าจะฟังไปทำไม
ก็พูดอย่างนี้ทุกวัน ก็ไป ในที่สุดก็เหลือแต่ประธานนั่งฟัง ลักษณะก็เป็นอย่าง
นั้น เพราะฉะนั้นกระบวนการตรงนี้ก็เป็นกระบวนการซึ่งค่อนข้างจะเป็น
ปัญหามากสำหรับการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่อื่นไม่ค่อยมีปัญหา อาจจะ
เป็นได้ว่าในประเทศอื่น ๆ นั้นสมาชิกเขาจะมีที่ทำงานอยู่ในที่ประชุมใครจะ
พบปะอะไรก็มาพบกันที่นั่น มีห้องทำงานห้องอะไร ๆ เรียบร้อยเมื่อถึงเวลา
จะลงคะแนนหน้าสิ่วหน้าขวาน ออดจะไปดังหมดทุกห้อง แล้วจะให้เวลา
    
๕ นาที
เดินออกมาลงคะแนน ส่วนระหว่างที่อภิปรายกันนั้นเขาก็ถ่ายทอดไป
ตามห้อง เพราะฉะนั้นคนก็ไปนอนฟังกันที่ห้อง ซึ่งก็ไม่เป็นไรอาจจะเหลือแต่
ประธานกับคนพูด ๒ คนก็ไม่เป็นไป ในกรณีนี้ถ้าถ่ายทอดทีวี ทีวีก็ต้องจับแต่
หน้าประธาน และหน้าคนพูดต้องไม่ให้ผ่านไปถึงที่อื่นเลย เพื่อไม่ให้เห็น
เก้าอี้ว่าง

                        กระบวนการในการตรากฎหมาย  กำหนดไว้ให้ทำเป็นสาม
วาระ

                   วาระที่หนึ่ง คือขั้นรับหลักการ ที่กำหนดไว้เป็นสามวาระ ไม่
ใช่เป็นการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ๆ ไม่ได้พูด ข้อบังคับของสภาแต่ละสภา
ไปออกเอาเองว่าต้องทำเป็น สามวาระซึ่งก็สอดคล้องกับทางปฏิบัติของทั่ว
โลก วาระที่หนึ่งก็คือวาระขั้นรับหลักการ ขั้นรับหลักการก็คือว่าเหมือนจะ
ถามว่าจะเอากฎหมายอย่างนี้หรือไม่ ส่วนรายละเอียดไม่ต้องพูดกัน ถ้าเอาก็
รับถ้าไม่เอาก็ไม่รับ ส่วนใหญ่ฝ่ายรัฐบาลจะรับ ฝ่ายค้านจะไม่รับ ถ้าเมื่อไหร่
ฝ่ายค้านนั่งเฉย ๆ ไม่ยกมือทั้งรับและไม่รับ แปลว่าฝ่ายค้านเห็นด้วย ฝ่าย
ค้านที่เออออห่อหมกมากที่สุดก็คือนั่งเฉยไม่ยกมือ ถ้ายกมือสนับสนุนแปล
ว่ามีร่างของฝ่ายค้านอยู่ มิฉะนั้นก็แปลว่าร่างนั้นเสนอเมื่อตอนที่ฝ่ายค้านเป็น
ฝ่ายรัฐบาล อย่างนี้ก็ต้องยกมือรับ ไม่รับก็ไม่ได้ ในขั้นรับหลักการ การ
อภิปรายจะเป็นไปในทางที่ว่ากฎหมายอย่างนี้จะดีหรือเลว สร้างความยุติ
ธรรมหรือสร้างความเสียหายให้กับประชาชนอย่างไร แต่แน่ละเวลาอภิปราย
ก็ออกนอกลู่นอกทางไปถึงเรื่องฝนแล้ง น้ำท่วมไปได้ร้อยแปดเหมือนกัน ก็
ต้องใช้เวลาหน่อย แต่เมื่อรับหลักการแล้วก็จะมีการพิจารณาในวาระที่สอง

                   การพิจารณาในวาระที่สองนั้นทำได้ ๒ วิธี

                        วิธีที่ ๑  คือ ตั้งกลุ่มบุคคลไปศึกษามาทีละมาตรา กลุ่ม
บุคคลที่ว่านี้ที่เราเรียกว่ากรรมาธิการซึ่งเขาจะมีเป็น ๒ ประเภท ประเภทที่ ๑
กรรมาธิการสามัญประจำสภาซึ่งตั้งรอไว้แล้วเช่น กรรมาธิการปกครอง กรร
มาธิการการวิทยาศาสตร์ฯ กรรมาธิการการเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
เป็นต้น กฎหมายอะไรที่เกี่ยวกับสาขาไหนก็ส่งไปที่กรรมาธิการชุดนั้น ๆ แต่
ส่วนใหญ่มักจะใช้กรรมาธิการวิสามัญซึ่งตั้งเป็นครั้ง ๆ ไป เหตุผลที่ใช้กรรมา
ธิการวิสามัญก็เพราะว่า ถ้าเป็นกรรมาธิการสามัญ จะตั้งได้แต่สมาชิกด้วยกัน
เอง ถ้าเป็นกรรมาธิการวิสามัญก็จะสามารถตั้งคนนอก ซึ่งมิได้เป็นสมาชิกเข้า
ไปร่วมเป็นกรรมาธิการได้ ถามว่ามีความจำเป็นอะไรที่จะต้องเอาคนนอก ก็
เพราะกฎหมายบางชนิดเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับเทคนิคหรือความรู้ใหม่ซึ่ง
ยากต่อสมาชิกที่จะเข้าใจได้ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญคนที่มีความรู้ทางด้านนั้น
โดยตรงไปเป็นผู้ดู แล้วก็คอยอธิบายให้ฟัง นั่นก็เป็นกรรมาธิการย่อย


                        วิธีที่ ๒  คือใช้กรรมาธิการเต็มสภา คือใช้สภานั้นเองเป็น
คนพิจารณารายละเอียดไปเลยอย่างนั้นจะทำได้แต่กฎหมายสั้น ๆ กฎหมาย
ที่มีรูปแบบแน่นอนแล้ว เช่น พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ดิน
ทั้งหลายทั้งปวงที่มีแบบแน่นอนชัดเจน หรือกฎหมายที่มีเพียง
-๓ มาตรา
อย่างนั้นก็ใช้กรรมาธิการเต็มสภาได้ เพราะใช้คนทั้งหมดมาดูทีละคำ ถ้าเป็น
กฎหมายยาว ๆ ตีกันตาย ลองนึกดูว่าเราใช้คนทั้งหมดที่นี่ มาช่วยกันร่าง
กฎหมายอะไรขึ้นมาสักฉบับหนึ่ง แล้วให้แต่ละคนแก้ไม่รู้ว่าจะขอมติอย่างไร
เพราะแต่ละคนก็มีความคิดของตัว เพราะฉะนั้นโดยธรรมดาจะไม่ใช้กรรมาธิ
การเต็มสภา จะไปใช้กรรมาธิการสามัญ หรือวิสามัญในการพิจารณาของกรร
มาธิการซึ่งจะเป็นสิทธิขาด จะไปปรับปรุงแก้ไขอย่างไรก็สุดแต่กรรมาธิการมี
เงื่อนไขอยู่เพียงอย่างเดียวว่า กรรมาธิการต้องไม่ไปแก้ไขเกินกว่าหลักการที่
เขาเสนอมา เช่น
เขาเสนอกฎหมายที่มีหลักการว่าด้วยการขับขี่รถประจำทาง
เราจะแก้เรื่องการขับขี่รถประจำทางให้มีรายละเอียดมากน้อยอย่างไรก็ได้ แต่
จะทำจนกระทั่งกลายเป็นการขับขี่จรวด หรือว่าด้วยเรื่องของการสร้างห้องน้ำ
ในบ้านอย่างนี้ไม่ได้ เพราะจะผิดหลักการเป็นการต้องห้าม ซึ่งก็ไม่ได้เป็นการ
ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ แต่เป็นการต้องห้ามตามข้อบังคับ เพราะมิฉะนั้น
กฎหมายส่งเข้าไปอย่างหนึ่งออกมาอาจจะเป็นอีกอย่างหนึ่งจนกระทั่งใครจำ
หน้าตามไม่ได้ แต่แน่ล่ะก็มีข้อยกเว้นบางครั้งบางคราวอาจจะเกินหลักการ
บ้างแต่สภาต้องอนุมัติให้ความเห็นชอบกับการเกินหลักการนั้น ๆ ส่วนใหญ่
ก็จะเป็นหลักการเดียวกันแต่เพียงว่านอกกรอบที่เขาตีเส้นไว้บ้าง อย่างนั้นเขา
ก็ยอม

                        ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการนั้น ๆ ถามว่าแล้ว
สมาชิกคนอื่น ๆ
ทำอย่างไรก็ตอบว่าสมาชิกคนอื่น ๆ ก็มีสิทธิที่จะเสนอความ
คิดของตัวเองว่าควรจะปรับปรุงแก้ไข ควรจะตัดมาตรานี้ควรจะเพิ่มมาตรานี้
ตรงนี้ควรจะแก้คำนั้น เป็นคำนี้ได้ แต่มีเงื่อนไข
๒ ประการ

                   ประการที่ ๑  ต้องทำภายในเวลาที่สภากำหนด เขาเรียกว่า
กำหนดการแปรญัตติการขอเสนอแก้ไขก็คือการขอแปรญัตติ คำแปรญัตติ
คือคำขอแก้ไขนั่นเอง ต้องยื่นคำขอแปรญัตตินั้นภายในกำหนดเวลาที่สภา
กำหนด ถ้าสภาไม่กำหนดอะไรเลย ข้อบังคับกำหนดไว้ว่าให้ ๗ วัน สำหรับ
สภาผู้แทนราษฎร ถ้าวุฒิสภาให้ ๕ วัน แต่ว่ากฎหมายแต่ละฉบับ บางฉบับ
อาจจะยาวก็ต้องให้เวลานานก็ให้ ๑๕ วัน เพราะคนต้องไปทำงานต้องไปอ่าน
ต้องไปคิดว่าแก้ไขอะไรได้ภายในระยะเวลานั้น

                   ประการที่ ๒  ต้องทำเป็นหนังสือว่าจะแก้ไขอะไร ตัดต่อ
ตรงไหนแล้วส่งไปให้กรรมาธิการ แล้วคอยรอฟังว่าเมื่อไหร่กรรมาธิการเขา
จะเรียกไปชี้แจง ก็ไปชี้แจงว่าเหตุผลอะไรถ้ากรรมาธิการเขาเห็นด้วยเขาก็จะ
แก้ให้ ถ้ากรรมาธิการเขาไม่เห็นด้วยเขาก็จะชี้แจงว่าที่เขาไม่แก้เพราะอย่างงี้
ๆ ถ้าเราพอใจก็ยุติกันไป ถ้าไม่พอใจเราก็สงวนไว้ เรียกว่าสงวนคำแปรญัตติ
ไว้ สงวนไว้ทำไม สงวนไว้เพราะร่างนั้นเมื่อกรรมาธิการทำงานเสร็จแล้วเขาจะ
ส่งกลับมาสภาพิจารณาเรียงมาตราอีกที ก็เป็นข้อเสนอของกรรมาธิการว่าแต่
ละมาตรา เขาดูแล้วควรจะแก้เป็นอย่างนี้ ๆ มาตรานี้ควรตัดออก มาตรานี้
ควรเพิ่มขึ้น ถ้าไม่มีใครทักท้วงก็จะเป็นไปตามที่กรรมาธิการว่า ถ้าทักท้วงก็
มาลงมติกันว่าจะเอาตามไหน คนที่สงวนคำแปรญัตติไว้ก็จะมาอภิปรายใน
สภาเพื่อบอกให้สภารู้ว่าสิ่งที่เขาเห็นไม่ตรงกับกรรมาธิการ และของเขามีเหตุ
ผลดีกว่าอย่างไร ถ้าสภาเห็นด้วยสภาก็จะเอาตามเขา ถ้าสภาไม่เห็นด้วยสภาก็
ยืนตามกรรมาธิการเป็นที่น่าเสียใจว่าน้อยนักที่คนสงวนจะเอาชนะกรรมาธิ
การได้ เพราะเวลาที่กฎหมายจะเข้าสภาทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลก็จะมีวิป
ของเขา วิปจะเป็นคนไปดูว่าเรื่องไหนจะเอาตามไหน วิปแต่ละคนก็จะไม่ค่อย
ไปดูรายละเอียดก็นึกว่ากรรมาธิการเขาดูแล้วก็เอาตามกรรมาธิการ จะไม่
ค่อยได้สนใจว่าคนที่เสนอเขามีเหตุผลดีอย่างไรหรือน่าจะดีกว่าอย่างไร นาน
ๆ ถึงจะได้หยิบยกขึ้นมาดูอย่างเจาะจง หรือดูอย่างรอบคอบสักครั้งหนึ่ง แต่
โดยปกติก็จะปล่อยไปตามกรรมาธิการเพราะฉะนั้นเมื่อวิปออกไปว่าให้เอา
ตามกรรมาธิการ ต่อให้คุณพูดจนเลือดหมดตัว เวลายกมือเขาก็ยกตามกรร
มาธิการ เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นส่วนหนึ่งถ้ากรรมาธิการทำงานมาดีด้วยความ
รอบคอบมีเหตุมีผล ก็เป็นอันใช้ได้ แต่ถ้าทำงานมายังไม่รอบคอบคิดไม่ถี่
ถ้วนเราก็จะได้กฎหมายที่ไม่ถี่ถ้วน เพราะด้วยระบบของการเมืองจะเป็นอย่าง
นั้น จะทำให้คนที่เสนอแนวความคิดที่แปลกออกไปจากกรรมาธิการจะไม่ได้
รับความเห็นดีเห็นงามด้วย เมื่อกฎหมายมาถึงสภาในวาระที่สองเมื่อเสร็จ
จากกรรมาธิการแล้ว สภาก็จะดูเรียงทีละมาตรา มาตราไหนที่ไม่มีการแก้ไข
เลยและไม่มีใครสงวนคำแปรญัตติไว้ อธิปรายไม่ได้พูดไม่ได้ต้องผ่านไปตาม
นั้น มาตราไหนที่มีการแก้ไขทุกคนอภิปรายได้ มาตราไหนที่มีคนขอสงวนคำ
แปรญัตติ คนนั้นก็มีสิทธิอภิปรายได้ก็ว่ากันไปทีละมาตราจนจบ ๆ แล้วก่อน
จะลงมติในวาระที่สามว่าจะเห็นชอบกับร่างนั้นหรือไม่สภามีสิทธิแก้อีกครั้ง
หนึ่ง แต่แก้ถ้อยคำตกหล่น หรือไม่สอดคล้องกัน แต่แก้ไขให้กระทบต่อหลัก
การหรือสาระสำคัญไม่ได้ เช่นมีที่หนึ่งเขียนว่า
“ห้ามไม่ให้” อีกทีหนึ่งเขียนว่า
“ห้ามมิให้” อย่างนี้จะแก้คำว่า “มิ” เป็น “ไม่” หรือแก้คำว่า “ไม่” เป็น “มิ”
อย่างนี้แก้ได้ แต่ถ้าเขาบอกว่า
“ห้ามไม่ให้” แล้วเขาไปแก้บอกว่า “ให้” อย่างนี้
แก้ไม่ได้ อะไรที่กระทบต่อสาระสำคัญจะแก้ไม่ได้เมื่อเสร็จจากสภาผู้แทน
ราษฎรแล้ว กระบวนการก็จะเดินหน้าต่อไปยังวุฒิสภา ซึ่งจะไปทำแบบเดียว
กันสามวาระเหมือนกัน แต่คราวนี้เร็วกว่า เพราะวุฒิสภาจะทำงานเร็วกว่า
อาจเป็นเพราะมีคนน้อยกว่า พูดน้อยกว่า มีคนมาครบองค์ประชุมเร็วกว่าก็
เป็นได้ แต่ว่ากระบวนการที่รัฐธรรมนูญกำหนดระยะเวลาไว้ให้ก็สั้น กฎหมาย
ที่อยู่ในสภาผู้แทนราษฎรไม่มีระยะเวลาจำกัดเสร็จเมื่อไหร่ก็ได้ ยกเว้น
กฎหมายงบประมาณที่ต้องเสร็จให้ทันภายในระยะเวลาที่กำหนด
๑๐๕ วัน
แต่กฎหมายอื่น ๆ ใช้เวลา ๕๐ ปีก็ได้ไม่มีข้อจำกัด อันนั้นพูดเล่นเพราะว่า
จริง ๆ สภาอยู่ได้แค่ ๔ ปี ถึง ๔ ปีก็ตกหมด  แต่ในวุฒิสภานั้นรัฐธรรมนูญ
กำหนดไว้ว่า ถ้าเป็นกฎหมายธรรมดาต้องใช้เวลาไม่เกิน ๖๐ วันถ้าเป็น
กฎหมายการเงินใช้เวลาไม่เกิน ๓๐ วันแปลว่าวุฒิสภาต้องทำให้แล้วเสร็จ
ภายในระยะเวลาที่ว่านั้น กระบวนการของวุฒิสภาก็ใช้
๓ วาระอย่างเดียวกัน
สมมุติว่าในวาระที่หนึ่ง วุฒิสภาไม่ให้ความเห็นชอบเกิดอะไรขึ้น ก็ส่งกลับถือ
ว่าเป็นการยับยั้ง หรือพอไปถึงวาระที่สามเกิดไม่ให้ความเห็นชอบก็ถือเป็น
การยับยั้งซึ่งเป็นเรื่องของสภาผู้แทนราษฎรที่จะหยิบยกขึ้นยืนยันใหม่ ถ้ายืน
ยันใหม่ด้วยคะแนนเสียงข้างมาก
absolute majority แล้วก็ประกาศใช้โดยไม่
ต้องมาผ่านวุฒิสภาได้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายธรรมดาต้องรอให้เวลาผ่านไป ๖
เดือน ถึงจะหยิบขึ้นมาพิจารณาได้เพื่อให้เย็นลงใจเย็นลงเว้นแต่เป็น
กฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินหยิบขึ้นมาได้ทันที นาน ๆ จึงจะมีประเด็นที่ว่าจะ
หยิบหรือไม่หยิบขึ้นมาสักครั้งหนึ่ง เมื่อวานก็มีฉบับหนึ่งที่สภาผู้แทนราษฎร
ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขของวุฒิสภา เมื่อไม่เห็นด้วยทำอย่างไร ก็ยับยั้งรอไว้
๖ เดือนจึงค่อยหยิบขึ้นมาใหม่ก็แปลว่ากฎหมายนี้จะช้าไปอีก ๖ เดือน ทีนี้ถ้า
วุฒิสภารับหลักการก็ส่งไปกรรมาธิการ ก็ไปปรับปรุงแก้ไขดูจนถี่ถ้วน ออกมา
ก็มาผ่านกระบวนการอย่างเดียวกับผู้แทนราษฎร เมื่อมีการแก้ไขแต่ก่อนนี้ถ้า
วุฒิสภาแก้ไขถ้อยคำเพียงคำเดียว คำว่า
“และ” เป็น “หรือ” ทั้งสองสภาจะ
ต้องตั้งกรรมาธิการร่วมกันแล้วไปศึกษาว่าจะเอาตามใคร แล้วกลับไปราย
งานทั้งสองสภาเห็นดีเห็นงามอย่างไรก็ว่ากันไปตามนั้น ถ้าไม่เห็นดีเห็นงามก็
ยับยั้งกันไป ซึ่งกระบวนการตรงนั้นจะใช้เวลา ๓ เดือน คำ ๆ เดียวอาจต้อง
ใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน ด้วยเหตุนั้นทำให้วุฒิสภาขยาดกับการแก้ทั้ง ๆ ที่
บางทีก็ผิดแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร ถ้าขืนทำก็ต้องใช้เวลาอีก ๓ เดือนกฎหมาย
นั้นถึงจะออกได้ ต่อมาจึงมีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่บอกว่า ถ้าวุฒิสภาแก้ไข
แล้วส่งกลับคืนไปสภาผู้แทนราษฎร ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยกับ
การแก้ไขนั้นผ่านไปได้เลยไม่ต้องไปตั้งกรรมาธิการร่วม ถ้าไม่เห็นชอบด้วย
จึงค่อยตั้งกรรมาธิการร่วม ซึ่งทำให้ขั้นตอนลดลง เพราะทันทีที่ส่งแก้ไขกลับ
ไปสภาผู้แทนราษฎร ก็จะดูเหตุผลว่าทำไมวุฒิสภาแก้เพราะเห็นแล้วว่าจะขัด
กันหรือจะดีกว่าอย่างไร ส่วนใหญ่สภาผู้แทนราษฎรก็จะเห็นชอบด้วยแล้วก็
ออกเป็นกฎหมาย ความจริงก็โยนภาระหนักไปสู่สภาผู้แทนราษฎรเหมือนกัน
เพราะสภาผู้แทนราษฎรอยากได้กฎหมายเร็ว รัฐบาลก็ต้องบอกวิปให้เห็น
ชอบกับการแก้ไขของวุฒิสภา ถ้ารัฐบาลไม่ต้องการกฎหมายนั้นก็ใช้วิธีเตะ
ถ่วงไป อาจจะไม่ให้ความเห็นชอบ แล้วก็ไปตั้งกรรมาธิการร่วมกันก็ได้ แต่
นั่นก็เป็นกระบวนการที่เดินอยู่ เมื่อทำเสร็จทั้งสองสภาแล้วก็จะนำส่งนายกรัฐ
มนตรี เพื่อนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูล ในการที่จะทรงลงพระ
ปรมาภิไธยกฎหมายนั้น พระมหากษัตริย์ก็มีอำนาจจะยับยั้งได้ ถ้าเมื่อไรทรง
ยับยั้ง สภาก็จะต้องเรียกประชุมรัฐสภาแล้วก็ดูกฎหมายนั้นใหม่ ถ้าได้
คะแนนเสียงเกินสองในสามก็กราบบังคมทูลไปอีก คราวนี้ถ้าไม่ทรงลงพระ
ปรมาภิไธยก็ประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ แต่ดูเหมือนหลังจากเปลี่ยนการปก
ครองในยุคต้นแล้วไม่เคยเลยที่สภาเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งกฎหมาย
แล้วสภาจะยืนยันกลับขึ้นไป เพราะว่าการที่จะทรงยับยั้งกฎหมาย จะต้อง
แปลว่ากฎหมายนั้นต้องเป็นอันตรายมากแล้ว คนอาจจะไม่ทันคิด และเมื่อ
ได้ฟังเหตุผลที่ท่านอธิบายแล้วก็จะรู้ว่าไปไม่ได้ ก็หยุดอยู่แค่นั้น

                        ในการตรากฎหมายเรามีกรอบอะไรหรือไม่ว่ากฎหมายอะไร
ออกได้ กฎหมายอะไรออกไม่ได้ ออกมาแล้วต้องหน้าตาเป็นอย่างไร ก็ตอบ
ว่ามี กรอบนั้นต้องมี กฎหมายนั้นไม่ใช่รัฐธรรมนูญ ถ้ารัฐธรรมนูญไม่มีกรอบ
เขียนอย่างไรก็ได้ เขียนว่าชายและหญิงมีหน้าที่ต้องนุ่งกระโปรงทุกคนก็ได้
แต่ถามว่ากฎหมายไปออกอย่างนั้นได้หรือไม่ ก็ตอบว่าไม่ได้ เพราะในรัฐ
ธรรมนูญห้ามไว้ว่าด้วยเสรีภาพในร่างกายของบุคคล แต่ถ้ารัฐธรรมนูญไม่มี
อะไรห้ามเป็นตัวกฎหมายสูงสุด เพราะฉะนั้นจะนำหน้าไปทางไหนก็ย่อมได้
ทั้งสิ้น ถามว่าแล้วกฎหมายที่เราออกกรอบคืออะไร กรอบก็คือรัฐธรรมนูญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวด ๑ หมวด ๓ และหมวด ๕ พวกนี้คือกรอบที่สำคัญ
ที่จะต้องดูอยู่ตลอดเวลาว่า

                        ) มีผลกระทบต่อการเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวกัน
หรือไม่

                        ) มีผลกระทบต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัน
มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่

                        ) ทำให้เปลี่ยนโครงสร้างของการใช้อำนาจหรือไม่ และใน
ปัจจุบันมีอีกข้อหนึ่ง
คือ

                        ) ทำให้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ถูกกระทบกระเทือนหรือ
ไม่

                        นั่นคือกรอบใหญ่ กรอบรายละเอียดก็ต้องไปดูที่หมวด ๓
ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนว่าเขามีสิทธิเสรีภาพอย่างไร สิทธิและ
เสรีภาพของประชาชนในหมวด ๓ จะมี ๒ ประเภท

                        ประเภทที่ ๑  เป็นสิทธิหรือเสรีภาพเด็ดขาดใครกระทบไม่
ได้ออกกฎหมายกระทบอะไรไม่ได้เลย

                        ประเภทที่ ๒  สิทธิและเสรีภาพที่ไม่เด็ดขาด มีสิทธิและเสรี
ภาพตามกรอบที่กฎหมายจะบัญญัติอย่างนั้น สิทธิและเสรีภาพนี้อาจถูก
กฎหมายจำกัดได้ การจำกัดจะจำกัดได้มากน้อยก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่เขียนไว้
ในรัฐธรรมนูญยกตัวอย่างเช่น สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับการคุ้ม
ครอง ขอบเขตแห่งสิทธิ และการจำกัดสิทธิย่อมเป็นไปตามที่กฎหมาย
บัญญัติอย่างนี้แปลว่าอะไร ออกกฎหมายมาจำกัดอย่างไรก็ได้ เราเรียนรู้กัน
มาแล้วว่าประมวลกฎหมายแพ่งบัญญัติว่ากรรมสิทธิ์ของเราย่อมมีแดน
กรรมสิทธิ์เหนือขึ้นไปบนท้องฟ้าไม่มีขอบเขตอันจำกัดลงไปใต้ดินโดยไม่มี
ขอบเขตจำกัด เรายึดกันมากแต่ถามว่าตามรัฐธรรมนูญวันดีคืนดีเราออก
กฎหมายว่าขอบเขตสิทธิแดนแห่งกรรมสิทธิ์ของเราขึ้นไปได้ไม่เกิน ๑๐๐
เมตร ลงไปได้ไม่เกิน
๑๐ เมตรถามว่าทำได้หรือไม่ ตอบว่าได้ เพราะไม่มีข้อ
จำกัดอะไรในรัฐธรรมนูญ และขณะนี้เรากำลังถูกทำแล้วเพราะรถไฟใต้ดิน
ผ่านไปข้างล่าง ถูกริดรอนแดนกรรมสิทธิ์ที่เขียนไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง
เริ่มจะหมดไป

                        สิทธิเสรีภาพขั้นเด็ดขาดก็คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการ
ชุมนุมโดยสงบและโดยปราศจากอาวุธ เป็นสิทธิขั้นเด็ดขาดแต่ก็ไม่ใช่สิทธิขั้น
เด็ดขาด ๑๐๐
% เพราะเขาอาจจะออกกฎหมายป้องกันคนอื่นได้ ป้องกันมิให้
ไปลิดรอนสิทธิของคนอื่น เช่นในเรื่องของการจราจรเรื่องการคุ้มครองประชา
ชนได้ สิทธิที่เด็ดขาดอย่าง ๑๐๐
% ก็คือสิทธิและเสรีภาพในทางวิชาการการ
ศึกษาในทางวิชาการจะศึกษากันอย่างไรก็ได้ จำกัดไม่ได้เลย กฎหมายว่าด้วย
คอมมิวนิสต์ที่ห้ามไม่ให้เขามีหนังสือคอมมิวนิสต์จะขัดรัฐธรรมนูญนี้ เพราะ
ฉะนั้นเราจะรู้ว่าสิทธิและเสรีภาพเป็นสิทธิและเสรีภาพประเภทไหนต้องไปดู
ในรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเหล่านั้นเป็นกรอบของกฎหมายที่จะต้องระลึกถึง
เสมอในการตรากฎหมาย แล้วต้องทำอย่างไร ในรัฐธรรมนูญใหม่กำหนดไว้
ว่าถ้าเมื่อไหร่ไปออกกฎหมายจำกัดสิทธิและเสรภีาพจะต้องอ้างมาตราของรัฐ
ธรรมนูญที่ให้อำนาจในการออกกฎหมายนั้น ๆ เพราะฉะนั้นหลังจากนี้ นับ
แต่นี้เป็นต้นไปก็ว่าได้ ดูกฎหมายที่ออกใหม่เราจะพบว่าวิธีเขียนกฎหมาย
เปลี่ยนแปลงไปแล้ว แต่ก่อนนี้กฎหมายตัวพระราชบัญญัติจะไม่มีการอ้างว่า
อาศัยอำนาจอะไร แต่ต่อไปนี้จะมีอยู่เสมอเพราะกฎหมาย ๙๙
% คือ
กฎหมายที่ออกมาจำกัดสิทธิและเสรีภาพของเรา เพราะกฎหมายคือคำบังคับ
ใครไม่ปฏิบัติตามก็จะมีโทษ เพราะฉะนั้นน้อยนักที่กฎหมายจะไม่ไปลิดรอน
สิทธิและเสรีภาพ ยกตัวอย่างงง่าย ๆ พระราชบัญญัติสภาทนายความ ถามว่า
ลิดรอนสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ ก็ตอบว่าลิดรอนในการประกอบอาชีพเพราะ
เวลาคุณจะเป็นทนายความคุณต้องมาขอใบอนุญาตคุณต้องได้รับใบอนุญาต
ต้องเข้ารับการอบรมนี่คือลิดรอน ถามว่าทำได้หรือไม่ ทำได้รัฐธรรมนูญให้
ต้องไปอ้างมาตราต่าง ๆ กฎหมายหลายชนิดที่เรานึกว่าดูก็ธรรมดา ๆ ไม่ใช่
ดูลงไปให้ลึกซึ้งก็จะพบว่าประเภทนั้นทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นฝ่ายนิติบัญญัติก็จะ
ต้องระมัดระวังถามว่าถ้ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญแล้วทำอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับ
ว่าเรารู้สึกตัวว่าขัดรัฐธรรมนูญเมื่อไหร่ ถ้ารู้สึกว่าขัดรัฐธรรมนูญตั้งแต่ตอนที่
เขาเสนอมา ก็ต้องไม่รับหลักการ สภาเขาก็ไม่รับหลักการก็ตกไป ถ้ามารู้สึก
เอาตอนที่กฎหมายผ่านสภาไปแล้ว มานึกขึ้นได้ ขัดรัฐธรรมนูญทำอย่างไร
สมาชิกสภาก็มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่าร่าง
กฎหมายเหล่านั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในกรณีนั้นนายกรัฐมนตรีต้อง
ระงับการนำความกราบบังคมทูลไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย ถ้า
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าไม่ขัดก็ไปได้ถ้าขัดก็ตกไปเลย ทีนี้ถ้าปล่อยเลยไป
จนกระทั่งกลายเป็นกฎหมายแล้วทำอย่างไร ก็เป็นเรื่องของพวกคุณที่จะไป
ยกเป็นประเด็นขึ้นมาต่อสู้ในศาลว่ากฎหมายนั้น ๆ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ซึ่ง
ศาลก็จะต้องหยุดการพิจารณา และนำเรื่องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ใคร
จะสังเกตหรือไม่ว่ารัฐธรรมนูญปัจจุบันกับรัฐธรรมนูญที่แล้วมา เขียนเรื่องนี้
แตกต่างกันและเป็นช่องทางให้พวกคุณหากินได้ไม่มีที่สิ้นสุด จะบอกให้โดย
ไม่คิดสตางค์แต่ก่อนเมื่อเราจะ
challenge ว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญ
หรือไม่ ศาลเขาจะต้องเห็นด้วย เขาสงสัยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าคุณจะ
ยกกี่ครั้งศาลเขาบอกไม่มีปัญหาก็ตกตรงนั้น ตายตั้งแต่ตอนนั้น แต่ตามรัฐ
ธรรมนูญใหม่เขาใช้ถ้อยคำที่เปลี่ยนไป มาตรา ๒๖๔
“ในการที่ศาลจะใช้บท
บัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใดถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งว่าบท
บัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา ๖
(บทบัญญัติที่ขัดต่อรัฐ
ธรรมนูญ
) และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบท
บัญญัตินั้น ให้ศาลรอการพิจารณาพิพากษาคดีไว้ชั่วคราว และส่งความเห็น
เช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย
” เพราะ
ฉะนั้นถ้าจะยื้อคดี ก็คือยกประเด็นว่ากฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญคดีก็ยื้อ
ไปได้ แต่ไม่ควรทำถ้าไม่มีเหตุผลสำคัญ ๆ ก็ไม่ควรทำความยืดยาวของการ
ดำเนินคดีก็คือ ความไม่ยุติธรรม ฉะนั้นเราในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการในการรักษาความยุติธรรม เราต้องไม่ใช้พร่ำเพรื่อ ถ้าเป็นสมัย
ก่อนเวลาว่าคดีว่าด้วยการฟ้องขับไล่เขาจ้างกันเป็นปี ถ้าเอาปีหนึ่งว่าความ
น้อยหน่อย แต่ไปถึง ๕ ปีมากหน่อยไปถึง ๑๐ ปีก็มากยิ่งขึ้น ตอนหลังเขาแก้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้ยื้อไม่ได้นาน แต่ก็ยังนานกว่า
ที่ควรจะเป็น นั่นก็เป็นการตรวจสอบว่ากฎหมายชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่
กระบวนการก็จบลงตรงนั้น

                   อำนาจหน้าที่ประการที่ ๒ การควบคุมการบริหารราชการ
แผ่นดิน
กระบวนการมีอะไร ควบคุมเขาได้อย่างไร การควบคุมก็มีได้ ๓ วิธี

                   วิธีที่ ๑  คือการตั้งกระทู้ถาม

                   วิธีที่ ๒  คือการอภิปรายทั่วไป มี ๒ กรณี คือการอภิปราย
ทั่วไปไม่ไว้วางใจกับการอภิปรายทั่วไปเฉย ๆ โดยไม่มีมติ

                   วิธีที่ ๓  คือการสอบสวนเรื่องราวต่าง ๆ

                   วิธีการควบคุมที่ ๑ คือ การตั้งกระทู้ถาม  ตามรัฐธรรม
นูญใหม่ มีของใหม่คือมีกระทู้ถามสด กับ กระทู้ถามแห้ง เดิมเราเคยมีแต่
กระทู้ถามแห้ง

                   กระทู้ถามแห้ง คือ กระทู้ถามรัฐบาล ถามรัฐมนตรี ถาม
นายกรัฐมนตรีถึงเรื่องราวเรื่องหนึ่งเรื่องใดที่ต้องการคำตอบจากรัฐบาล
กระทู้ถามแห้ง แห้งจริง ๆ เพราะส่งวันนี้กว่ารัฐบาลจะพร้อมประมาณ ๓
-
เดือนที่จะตอบได้ และเมื่อรัฐบาลพร้อมบางทีอีก ๒ ปี
จึงได้ตอบเพราะวาระ
กระทู้ถามเยอะ กระทู้ถามเขียนง่ายไม่ต้องมีใครรับรองมากมายนัก พรรค

ก็ไม่ต้องรับรองแล้วเขากำหนดไว้ว่าการประชุมครั้งหนึ่งมีระเบียบวาระกระทู้
ถามได้ไม่เกิน
๕ กระทู้ กระทู้ถามหนึ่งให้ถามตอบกันได้ ๓ หน ที่เราเรียกกัน
ว่าสามเพลงตกม้าตาย ความจริงไม่ใช่ตกม้าตายหรอก ให้ถามทั้งวันก็ถามได้
ทั้งนั้น แต่เขากลัวว่าทั้งวันแล้วยังไม่จบเขาเลยกำหนดไว้ว่าให้ถามได้แค่ ๓
ครั้ง ก็เป็นเรื่องน่าเบื่อหน่ายเพราะว่ากระทู้ถามที่ตั้งถาม ถามวันนี้
จะได้ตอบ
อีก ๒ ปีข้างหน้า เหตุการณ์เปลี่ยนไปหมดแล้ว เช่น ถ้าเราจะตั้งกระทู้ถามวัน
นี้ว่าค่าเงินบาทตกไปถึง ๕๔ บาท แล้วรัฐบาลจะตอบได้หรือไม่ว่าเพราะอะไร
เราจะแก้ไขอย่างไรอีก ๒ ปีข้างหน้ามาตอบค่าเงินบาทอาจจะเหลือ ๒๘ บาท
แล้ว หวังไว้นะครับ แล้วจะไปตอบอะไรได้หรือกระทู้ถามเรื่องน้ำท่วมกว่าจะ
ได้ตอบแล้งแล้ว กระทู้ถามเรื่องฝนแล้งกว่าจะได้ตอบท่วมแล้วอย่างนี้
เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงเป็นแต่เพียงฉากหนึ่งแห่งการแสดงเพื่อบันทึกไว้เป็น
หลักฐานว่าคนนั้นได้สนใจใยดีต่อเรื่องราวของประชาชนที่เกิดขึ้นในการถาม
ตอบนั้นโดยที่คำถามนั้นซึ่งต้องตั้งไว้ล่วงหน้าถามมานานแล้วพอถึงวันจริง
เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไป คนที่ถาม ๓ ครั้งเขาจึงถามเกือบจะคนละเรื่องกับ
ที่ถามครั้งแรก ส่วนรัฐมนตรีนั้นเมื่อเวลาเตรียมมาตอบ เมื่อ ๑ ปีกับ ๖
เดือนที่แล้วก็เตรียมตามพื้นฐานที่เขาให้มา อาจจะมา
update หน่อยตอนที่
จะมา แต่ก่อนเตรียมบนพื้นฐานของคำถามเดิม เพราะฉะนั้นเวลาอ่านกระทู้
ถาม จึงไม่มีใครฟังรัฐมนตรีก็ไม่ได้ฟังพอจบรัฐมนตรีก็ตอบตามที่เตรียมมา
ก็ไม่มีใครฟัง คนถามก็ไม่สนใจอีกแล้ว
เขากำลังนั่นคิดว่าเดี๋ยวเขาจะถาม
อะไร พอเขาเริ่มถามคำถามที่ ๑ คนที่ฟังคือคนที่อยู่ข้างหลัง
คือ เจ้าหน้าที่
แล้วก็จะรีบเขียน รัฐมนตรีก็จะไม่ค่อยสนใจเท่าไหร่ รอว่าเจ้าหน้าที่จะตอบ
มาว่าอย่างไร หรือบางทีก็เตรียมาแล้วก็จะตอบตามที่เตรียมมาซึ่งอาจจะ
คนละเรื่องกับที่ถาม เพราะฉะนั้นผมเลยพูดเล่น ๆ ว่ากระทู้ถามก็คือการโต้
ตอบที่ผู้โต้ ๆ เรื่องหนึ่ง ผู้ตอบ ๆ อีกเรื่องหนึ่ง
โดยไม่มีใครสนใจฟังว่าใคร
พูดว่าอะไร เวลาระเบียบวาระกระทู้ถามก็คือระเบียบวาระที่มีคนอยู่ในที่
ประชุมประมาณสัก ๕ คน ๑๐ คน ก็เพราะมีคนอื่นอีกด้วยจะนั่งอยู่ข้างหลัง
คนถามกระทู้เวลากล้องถ่ายทีวีจะได้ติด ๕ คนหลังนี้ด้วยได้ประโยชน์ ถ้ามิ
ฉะนั้นเขาก็คงไม่นั่งเพราะเขาก็ไม่ได้ฟัง ส่วนรัฐมนตรีนั้นก็ไม่รู้ว่าจะเตรียม
อะไร ไม่รู้ว่าคำถามจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ยิ่งเป็นรัฐมนตรีใหม่ก็ยิ่งจะ
ตอบได้ยาก เพราะว่ากลเม็ดเด็ดพรายอะไรก็ยังเรียนรู้ไม่ได้มากคราวนี้เขาก็
เลยกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญให้มีกระทู้ถามสด

                   กระทู้ถามสด คือ กระทู้ที่ถามกันด้วยวาจาและตอบกัน
เดี๋ยวนั้นเลยโดยแจ้งให้รัฐบาลทราบล่วงหน้า ๑ วัน ถ้าอย่างนี้การถามการ
ตอบก็จะเป็นเรื่องกลอนสดและก็ทันทีทันใด แต่จะทันทีทันใดไปได้นานเท่า
ไหร่ยังไม่แน่ใจ เพราะถ้าให้คน ๑๕๐ คน ตั้งกระทู้ถามเขาถามได้ทุกวันและ
เมื่อรู้ว่าการตั้งกระทู้ถามสดเร็ว ทุกคนก็อยากตั้งกระทู้ถามสด พอทุกคนตั้ง
กระทู้ถามสด คิวก็ยาววันหนึ่งก็ได้ ๕ กระทู้ ๑๐๐ กระทู้ ก็ยาวไป ๒๐ วัน วัน
ในที่นี้หมายถึง
๒๐ สัปดาห์ เพราะสัปดาห์หนึ่งประชุมเรื่องกระทู้ถามครั้ง
เดียว เพราะฉะนั้นต่อไปก็จะกลายเป็นกระทู้ถามแห้งไปได้อีกเหมือนกัน อีก
วิธีหนึ่งที่เขาใช้คล้าย ๆ กระทู้ถามคือ ญัตติด่วน ซึ่งจะตั้งเป็นเรื่องเป็นราว
ขึ้นมาถึงปัญหาหนึ่งปัญหาใดเพื่อให้รัฐมนตรีตอบ จะตอบก็ได้ไม่ตอบก็ได้
แต่ญัตติด่วนที่เขียนไว้ในข้อบังคับกับที่ปฏิบัติจริงตรงกันข้ามไม่เหมือนกัน
แล้วกลายเป็นว่าญัตติด่วนคือกระทู้ถามแต่คือทุกคนรุมได้ ถ้าเป็นกระทู้ถาม
เฉพาะคนตั้งกระทู้จึงจะถามได้ แต่ถ้าเป็นญัตติคนไม่เกี่ยวข้องเดินมาจาก
ไหนไม่รู้ ลุกขึ้นถามว่ากันได้ เพราะฉะนั้นก็จะเสียเวลาในเรื่องญัตติกับกระทู้
ถามจนในที่สุดสภาผู้แทนราษฎรต้องแยกวันเป็น ๒ วัน วันหนึ่งพิจารณา
เฉพาะเรื่องกฎหมายโดยเฉพาะอีกวันหนึ่งว่าด้วยเรื่องกระทู้ถามหรือญัตติก็
ว่ากันไปได้ทั้งวัน การพิจารณาว่าด้วยกระทู้ถามและญัตติในสภาก็จะมีคน
น้อยสัก ๑๐ คน ๒๐ คนก็จะเหลือแต่คนที่พูดเท่านั้น เพราะฉะนั้นเราจึงจะ
พบเสมอว่า รัฐมนตรีหายหมดในวันนั้นเหลือแต่เฉพาะรัฐมนตรีที่จะต้องไป
ตอบญัตตินั้น ๆ ส่วนคนที่ขี้เกียจฟังเขาก็กลับไปทำงานในต่างประเทศ เขาจึง
สร้างที่ทำงานและสร้างห้องประชุมคณะรัฐมนตรีไว้ที่สภา แขกไปใครมาจะไป
พบไม่ว่าจะเป็นแขกต่างประเทศ แขกในประเทศไปพบที่สภา แล้วถ้าเกิด
ปัญหาฉุกเฉินขึ้นมาเมื่อไหร่เดินออกมาโหวตกันได้ อย่างประเทศอิสราเอล
คะแนนระหว่างฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลจะสูงเฉียดฉิวกันอยู่เป็นประจำ ฉะนั้น
จึงต้องมีข้อตกลงพิเศษว่าถ้าเมื่อไหร่ฝ่ายรัฐบาลที่เป็นรัฐมนตรีซึ่งต้องเดิน
ทางไปต่างประเทศอยู่เป็นประจำไปเมืองนอก ฝ่ายค้านเขาจะให้คนของเขา
หยุด ไม่ไปประชุมสภาเท่าจำนวนที่รัฐมนตรีไม่ไป แสดงว่า
spirit เขาดีมาก
เขามีข้อตกลงที่เป็นสุภาพบุรุษกัน คนนั้นก็จะไม่โหวต ไม่ลงคะแนน ก็จะ
เหลือเท่ากันถ้าแพ้ชนะก็แพ้ชนะกันด้วยความยุติธรรม ถ้ารัฐมนตรีเดินทาง
ไปต่างประเทศ ๕ คน ฝ่ายค้านก็จะหายไป ๕ คน โดยไม่ต้องเอาพ่วงไปด้วย
ของเราถ้าจะทำอย่างนั้นรัฐมนตรีก็ต้องพ่วงเอาฝ่ายค้านไปต่างประเทศด้วย
ซึ่งสิ้นเปลืองงบประมาณ

                   วิธีการควบคุมที่ ๒ คือ การอภิปรายทั่วไป ซึ่งมีอภิปราย
ไม่ไว้วางใจกับอภิปรายโดยฟังเฉย ๆ อย่างคราวที่แล้วก็พลเอก ชวลิต ยงใจ
ยุทธ นายกรัฐมนตรี ขอเปิดอภิปรายว่าด้วยเรื่องภาวะเศรษฐกิจโดยไม่มีการ
ลงมติ พูด ๆ กันแล้วสบายอกสบายใจกันแล้วต่างคนต่างก็กลับบ้าน ความ
จริงวัตถุประสงค์ก็คือให้มาแสวงหาคำตอบร่วมกัน มาระบายว่าบัดนี้บ้าน
เมืองมีปัญหาอย่างนี้ ๆ ท่านมีแนวความคิดอะไรจะบอกผมบ้างไหม ผมจะ
ได้เอาไปทำ แต่การเมืองบ้านเราไม่สุภาพบุรุษถึงขนาดนั้น ฝ่ายค้านก็จะไม่
บอก บอกก็บอกนิด ๆ หน่อย ๆ แต่จะด่าเสียมากกว่าเพราะฉะนั้นเลยไม่
ค่อยได้ประโยชน์ ความจริงตรงนี้จะได้ประโยชน์มาก เพราะไม่ใช่เป็นเรื่อง
ของการเอาแพ้เอาชนะ แต่เป็นเรื่องของการแสดงความคิดเห็นให้เกิด
ประโยชน์กับคนที่จะไปบริหารราชการแผ่นดิน อยู่ตรงนั้นบางทีก็ตันเหมือน
กัน มองอะไรก็มองไม่เห็นมองจากข้างนอกอาจจะมองเห็นได้ดีกว่า

                        การอภิปรายไม่ไว้วางใจในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงไปจาก
อดีต ในอดีตจะมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ๓ กลุ่ม

                        กลุ่มที่ ๑ คือ นายกรัฐมนตรี

                        กลุ่มที่ ๒ คือ รัฐมนตรีเป็นรายตัว

                        กลุ่มที่ ๓ คือ คณะรัฐมนตรีทั้งคณะ

                        ตามรัฐธรรมนูญใหม่เขาเหลือ ๒ กลุ่ม คือ นายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีเป็นรายตัว ถ้าจะอภิปรายนายกรัฐมนตรี ฝ่ายค้านจะต้องเสนอ
คนที่พร้อมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วก็อภิปรายไป ถ้าคว่ำนายกรัฐมนตรี
คนเดิมได้ คนใหม่ก็ขึ้นไป  เป็นการเตรียมพร้อม เขาไม่ต้องการให้มีการ
อภิปรายคณะรัฐมนตรีทั้งคณะเพราะว่าเมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
คณะรัฐมนตรีไปทั้งคณะอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องอภิปรายคณะ
รัฐมนตรีทั้งคณะอีก

                   วิธีการควบคุมที่ ๓ คือ การสอบสวนเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่ง
ทำได้โดยการตั้งคณะกรรมาธิการ จะเป็นกรรมาธิการสามัญ หรือวิสามัญก็
สุดแต่จะสอบสวน เรื่องใดที่อยู่ในแวดวงงานของรัฐสภาก็ย่อมทำได้ ส่วน
ใหญ่ก็จะเป็นการสอบสวนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในการบริหารราชการแผ่นดิน
เพื่อประโยชน์ที่จะนำไปใช้ควบคุมการบริหารราชการ

                        อำนาจหน้าที่ประการที่ ๓  การคัดเลือก แนะนำ และ
แต่งตั้งองค์กรตรวจสอบต่าง ๆ
ซึ่งอำนาจหน้าที่นี้จะเป็นอำนาจหน้าที่ของ
วุฒิสภาโดยเฉพาะ คืออำนาจในการเลือกและถวายคำแนะนำในการแต่งตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการ
แผ่นดินของรัฐสภา ศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน แล้วก็ตั้งกรรมการ
ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ในศาลปกครองตามรัฐธรรมนูญทั้งหลาย ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอาจ
จะได้ยินกันบ้างที่เขาเรียกกัน
Ombudsman เราอาจจะไม่คุ้นว่าทำหน้าที่
อะไร ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาทำหน้าที่ไปตรวจสอบดูแลการทำงาน
ต่าง ๆ ทุกฝ่ายว่าเขาทำถูกต้องหรือไม่ มีหนทางใดที่ดีกว่านั้นหรือไม่ความ
เดือดร้อนของชาวบ้านเกิดขึ้นจากอะไร จะปรับปรุงแก้ไขกันได้อย่างไร เพื่อ
ให้เป็นเครื่องมือทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารที่จะเอื้อซึ่งกันและกันไม่
ใช่ประหัตประหารกันทำแล้วพอพบวิธีการแล้วก็จะไปบอกยังหน่วยงานต่าง
ๆ ว่าคุณทำอย่างนั้นซิคุณแก้อย่างนี้ซิชาวบ้านจะดีขึ้น ถ้าหน่วยงานนั้นไม่ทำก็
ฟ้องต่อสภา สภาก็ไปดำเนินงานตามกระบวนการของตัว

                   อำนาจหน้าที่ประการที่ ๔  กระบวนการถอดถอนออกจาก
ตำแหน่ง
ซึ่งเป็นกระบวนการใหม่ที่เขากำหนดเอาไว้ว่าบุคคลในลำดับ top
rank ทั้งหลาย และผู้คนที่อยู่ในแวดวงการเมืองตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐ
มนตรี สมาชิกวุฒิสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา
ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด พวกนี้
อาจถูกวุฒิสภาถอดถอนได้ ถามว่าการเริ่มต้นจะทำอย่างไร เริ่มต้นก็คือ
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขาจะแยกเป็น
๒ พวก สภาผู้แทนราษฎรจะเป็น
คนทำหน้าที่กล่าวหาบุคคลเหล่านั้นว่าทุจริตหรือร่ำรวยผิดปกติหรือประพฤติ
มิชอบ แล้ววุฒิสภาเป็นองค์กรที่ตัดสิน ถ้าตัดสินไล่ก็ไล่ไปเลย ถ้าตัดสินอยู่ก็
แปลว่าคนนั้นก็ได้รับการคุ้มครองต่อไป แต่ใช่ว่าวุฒิสภาเมื่อได้รับคำร้องแล้ว
จะมีมติเอาเขาออกไปได้เลย จะต้องส่งไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบ
ปรามการทุจริตแห่งชาติพิจารณาเสียก่อนว่าข้อกล่าวหานั้นมีมูลหรือไม่ มีมูล
ถึงจะส่งมาให้วุฒิสภา ถ้าไม่มีมูลเขาก็ยุติไปเลย เมื่อส่งมาให้วุฒิสภา วุฒิสภา
จึงจะอาศัยข้อมูลนั้นไปลงมติอีกครั้งหนึ่ง ถามว่ากระบวนการในการถอดถอน
เฉพาะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ ก็ตอบว่าไม่ใช่ ประชาชน
๕๐
,๐๐๐ คน มีสิทธิเหมือนกัน สิทธิของประชาชน ๕๐,๐๐๐ คนก็คือ มาร้อง
ต่อประธานวุฒิสภาเพื่อเอาบุคคลต่าง ๆ ออกจากตำแหน่งแต่ว่าบุคคลเหล่า
นั้น ไม่ใช่ว่ารัฐธรรมนูญออกมาแล้วจะไปรวบรวมกันมาได้ ๕๐
,๐๐๐ คน แล้ว
มาเข้าชื่อกันได้ ยัง นี่เป็นแต่เพียงเสียงแวบ ๆ ยังจะต้องไปออกกฎหมายว่า
จะต้องทำกันอย่างไรต่อไป กระบวนการเหล่านี้เป็นกระบวนการที่กำหนดขึ้น
เพื่อหวังว่าจะดูแลให้การเมืองอยู่ในกรอบอยู่ในระบบที่ดีงาม ส่วนจะเป็นไป
ได้มากน้อยแค่ไหนก็ต้องรอดูกันแล้วจะได้ผลมากน้อยแค่ไหน เราน่าจะยุติ
กันตรงนี้ ถ้าหากมีใครมีคำถาม สนใจถามผมก็ยินดีจะตอบครับ ถ้าไม่มีใคร
สนใจที่จะถามผมก็ถือว่าผมพูดชัดเจนดีเลยไม่มีข้อสงสัย ขอบคุณมากครับ

 

 

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57

ร่างกฏหมายที่น่าสนใจ
ความเห็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ 
งานวิจัย
บทความทางกฎหมาย
บุคลากร
จัดซื้อ / จัดจ้าง
กฤษฎีกาสาร  
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักกฎหมายปกครอง
  
บริการอื่น ๆ
เสนอแนะ - ติชมเว็บไซต์



สำหรับทำให้ IE เปิดไฟล์ TIFF ได้
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๕ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับจอภาพขนาด 1,024 x 768 พิกเซล