หน้าหลัก > ข่าวสารและผลงาน> บทความทางกฎหมาย
คำบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวความคิดและข้อสังเกตในการร่างกฎหมาย (มีชัย ฤชุพันธุ์)

คำบรรยายพิเศษ

คำบรรยายพิเศษ

ฯพณฯ มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา

เรื่อง แนวความคิดและข้อสังเกตในการร่างกฎหมาย

ณ ห้อง น. ๒๑๑ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๑

 

หัวข้อที่กำหนดให้มาพูดกับเวลาที่จะต้องพูดคงไม่ค่อยสอดคล้องกัน

นัก หัวข้อนี้คงจะต้องพูดกันตอนเช้า ๆ ที่เพิ่งตื่นนอนใหม่ ๆ ไม่ใช่พูดตอนที่ล้ากันมาจาก

การทำงานแล้วทั้งวันขนาดถ้าจะพูดกันตอนเช้า ๆ ยังถึงกับหลับได้ พูดตอนนี้ยิ่งจะหลับ

ใหญ่ เพราะฉะนั้นถ้าเหลือบ่ากว่าแรงอย่างไรจะงีบ ๆ เอาแรงบ้างก็ไม่ว่ากันครับ

ในงานร่างกฎหมายนั้นเป็นสาขาวิชาหนึ่งก็ว่าได้ แต่เป็นสาขาวิชาที่

คนค่อนข้าง   จะไม่นึกถึงความสำคัญ ใครจะนึกว่าเราซึ่งเรียนกฎหมายแล้วจะมีบทบาท

ไปร่างกฎหมายกับเขา   นักเรียนกฎหมายปีหนึ่ง ๆ มีเป็น ๑๐,๐๐๐ คน จะมีใครซักกี่คน

ที่คิดว่าจะไปร่างกฎหมาย เพราะฉะนั้นก็เป็นของธรรมดาที่มหาวิทยาลัยเขาไม่ค่อย

อยากจะสอน แต่ว่าถ้าเราทำงานกันไปพักหนึ่ง  เราก็จะพบว่าเวลาที่เราเอาวิชาชีพเราไป

ทำมาหากินนั้น เป็นเรื่องที่จะต้องไปขีดไปเขียนในเชิงกฎหมายทั้งสิ้น ใครที่เป็นสมาชิก

รัฐสภา ไม่ว่าจะเป็นสภาสูง สภาล่าง สภาแห่งชาติ ก็ต้องเป็นคนไปทำกฎหมาย ผู้

พิพากษาก็ต้องไปเขียนไปเขียนคำพิพากษาที่ใช้สำนวนทางกฎหมาย ทนายความก็ต้อง

ไปเขียนสัญญา ซึ่งคิดอะไรที่ลึกซึ้งในทางกฎหมาย แต่ว่าสิ่งเหล่านั้นเมื่อเราเข้าไปอยู่ใน

แวดวงอะไรเราก็มักจะทำตาม ๆ กันไป หรือตามที่เขาสั่งสอนในแวดวงนั้น ๆ ได้โดยไม่

ยาก ความคิดที่จะสอนถึงวิชาการร่างกฎหมายจึงไม่ค่อยจะเข้มแข็งนัก ในต่างประเทศ

ทางมหาวิทยาลัยเขาก็มีวิชานี้ แต่ว่าที่เขาใช้ทำประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยมากก็คือทำ

เป็น course สั้น ๆ ที่ใครสนใจวิธีการเขียนกฎหมายก็จะไปเรียนได้ แต่จะเป็นค่าเล่า

เรียนที่แพงมาก เพราะว่าใครที่เขียนกฎหมายได้คนนั้นก็จะร่างสัญญาได้ดี เพราะนักร่าง

กฎหมายจะต้องคิดอะไรที่ลึกและหลายชั้น มีสมมุติฐานมากมาย บางทีต้องสมมุติตัว

เองเป็นโจรด้วยซ้ำไป ถ้าจะเขียนกฎหมายในเชิงอาญาต้องสมมุติตัวเองว่าเป็น  ผู้ร้าย

เพื่อจะได้รู้ว่าถ้าเป็นผู้ร้ายจะคิดอย่างไร คนโกงจะคิดอย่างไร ถึงจะเขียนกฎหมายออก

มาได้ ในทัศนะของนักร่างกฎหมายเขามองกฎหมายในความหมายที่แตกต่างไปจากนัก

กฎหมายทั่ว ๆ ไป เขามองกฎหมายว่าเป็นเอกสารชนิดหนึ่งที่สร้างหรือกำหนดกฎเกณฑ์

กติกาขึ้นเพื่อที่จะนำไปใช้  ควบคุมพฤติกรรมของสังคม หรือของสมาชิกของสังคมโดย

อาศัยสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตในสังคมนั้น และสังคมนั้นไม่ปรารถนาจะให้เกิดขึ้น หรือ

ปรารถนาที่จะให้เกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน ในรูปแบบเดียวกัน เขาก็จะตราเป็นกฎหมาย

ขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาที่ผู้ร่างเขาร่างกฎหมายด้วยทัศนะที่มองกฎหมายในความหมาย

อย่างนั้น เขาถึงมีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ

ประการที่ ๑ คือการสร้างกฎเกณฑ์กติกา วิธีการหรือเงื่อนไขที่จะใช้

ทั่วไปในสังคม และที่จะต้องใช้กับทุกคนในสังคมขึ้นมาเป็นเอกสาร

ประการที่ ๒ คือการสื่อความหมายของกฎเกณฑ์กติกาที่เขาสร้าง

ขึ้นนั้นไปยังสังคมให้ได้ เพราะถ้าเราเขียนกฎหมายแล้วเราสื่อไปไม่ได้ หรือสื่อไปคนละ

อย่างเราก็ทำงานล้มเหลว กฎหมายนั้นก็ล้มเหลว สังคมก็ล้มเหลว

ถามว่าเขาจะสื่อความหมายไปถึงใครบ้าง ก็ตอบได้ว่าเขาสื่อไปถึง

คน ๓ กลุ่ม

กลุ่มที่ ๑ คือกลุ่มซึ่งจะได้รับผลกระทบต่อกฎหมายนั้นโดยตรง

กฎหมายนั้นจะไปบังคับคนพวกไหน เขาก็ต้องสื่อไปถึงคนพวกนั้นให้ได้ เช่น ถ้าจะออก

กฎหมายว่าด้วยวิธีการทำบัญชี เขาก็ต้องสื่อไปยังนักบัญชี ถ้าจะออกกฎหมายว่าด้วย

การควบคุมการประกอบอาชีพวิศวกรรม ก็ต้องสื่อไปยังพวกที่จบวิศวกรรม พวกที่ทำมา

หากินอยู่กับโครงสร้างวิศวกรรมนี่คือกลุ่มที่ ๑ ที่เขาจะต้องสื่อไป

กลุ่มที่ ๒ คือคนที่จะมีบทบาทในการแนะนำให้ความเห็นต่อกลุ่มคน

ประเภทที่ ๑ กฎหมายเป็นศาสตร์ เป็นวิชาอย่างหนึ่งซึ่งมีเอกลักษณ์ของตัวเอง ถึงแม้ว่า

โดยหลักของกฎหมาย  จะบังคับว่าคนทุกคนต้องรู้กฎหมาย จะปฏิเสธว่าไม่รู้กฎหมาย

ไม่ได้ แต่ในความเป็นจริงไม่ได้แปลว่าคนทุกคนรู้กฎหมายหรือรู้กฎหมายอย่างถี่ถ้วน รู้

กฎหมายอย่างแท้จริง ก็จะต้องมีคนให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา คนกลุ่มนี้เป็นคนที่

สำคัญที่จะทำให้ผลของกฎหมายใช้บังคับได้มากน้อยแค่ไหน และในสังคมที่พัฒนาแล้ว

กลุ่มคนเหล่านี้จะมีอิทธิพลสูง  และก็มีมาก เช่น พวกทนายความ พวกที่ปรึกษา พวกผู้

สอบบัญชี พวกประกอบอาชีพต่าง ๆ ถ้าเรามีกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้าง

อาคาร เราก็ต้องสื่อไปที่ใคร เราก็ต้องสื่อไปที่นักกฎหมายที่เป็นที่ปรึกษา สื่อไปที่วิศวกร

สื่อไปที่สถาปนิก เพราะพวกนี้จะเป็นผู้ที่ออกแบบก่อสร้างบ้าน ถ้ากลุ่มคนเหล่านั้นเข้า

ใจ ความหวังที่จะทำให้ประชาชนทั่ว ๆ ไปเข้าใจก็จะมีมากขึ้น แต่แน่ล่ะหลักอย่างนี้จะ

ใช้ได้อย่างตรงตามที่เขาต้องการก็ต่อเมื่อสังคมเหล่านั้นได้พัฒนาพอที่ทุกฝ่ายจะยอมรับ

รู้ถึง ถ้าเราเจ็บไข้ได้ป่วยถึงขนาดจะต้องผ่าตัด ไม่มีใครคิดว่าจะผ่าตัดกันเองภายในบ้าน

เราก็ไปหาหมอ ความสำคัญหรือความรู้ซึ่งกันและกัน   เราคงจะต้องยอมรับว่าอย่างใน

บ้านเราแต่ถ้ามีเรื่องหรือเรารู้สึกว่าเราถูกโกงแล้ว ไปหาตำรวจก็ต่อเมื่อเราหมดหนทาง

แล้ว น้อยนักที่ใครจะไปปรึกษาทำนิติกรรมหรือทำสัญญาต่อกัน เราจะไปหาทนายความ

ต่อเมื่อเราถูกโกงแล้วก่อนทำอะไร ซึ่งทำให้สังคมค่อนข้างจะยุ่งยาก แต่ว่าเมื่อเศรษฐกิจ

การค้าของโลกได้พัฒนามากขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็เริ่มเจริญเป็นเงาตามตัว คนก็เริ่มจะปรึกษา

หารือถามไถ่ก่อนดำเนินการใด ๆ มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในอดีต

กลุ่มที่ ๓ คือกลุ่มที่นักร่างกฎหมายจะต้องสื่อไปให้ถึง และที่สำคัญ

ก็คือกลุ่มที่จะต้องเป็นผู้กำกับดูแลหรือบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ในบ้านเราดู

ง่าย ๆ ก็คือพวกตำรวจ พนักงานเจ้าหน้าที่ อัยการและศาล

ทั้ง ๓ กลุ่ม นักร่างกฎหมายจะต้องสื่อไปให้เข้าใจกฎหมายที่ตัวร่าง

อย่างเดียวกันให้หมด ถ้าสื่อผิดพลาดทำให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันก็จะเกิดความสับ

สนและยุ่งเหยิงในสังคมได้ โดยเฉพาะกลุ่มที่ ๓ นักร่างกฎหมายที่ดีจะต้องร่างกฎหมาย

ออกมาแล้ว เมื่อตำรวจจะไปจับใครก็คิดตรงกับร่างที่ผู้ร่างเขาร่าง อัยการจะฟ้องใคร

อัยการก็คิดตรงกับร่างที่ผู้ร่างตั้งใจไว้ ศาลก็ต้องคิดตรงกับผู้ร่างได้ร่างไว้ เมื่อไรที่ตำรวจ

อัยการหรือศาล แปลกฎหมายไม่ตรงตามที่ผู้ร่างตั้งใจไว้ ละก็ไม่ใช่กฎหมายนั้นผิด ผู้ร่าง

นั่นแหละผิด ผู้ร่างไม่สามารถจะสื่อความหมายทำให้เขาเข้าใจตรงกับที่ตัวต้องการได้

ในเวลาที่ร่างกฎหมาย การสื่อความหมายตรงนี้จึงเป็นจุดหัวใจสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ

กฎหมายทุกฉบับย่อมต้องมีวัตถุประสงค์ ย่อมต้องมีกระบวนการ วิธีการในการดำเนิน

งาน  ถ้าเราไม่สามารถเขียนกระบวนการวิธีการทำงานและทำให้ผลของกฎหมายนั้น

ออกมาตรงตาม   วัตถุประสงค์ที่เรากำหนดแปลว่าเราไม่ประสบผลสำเร็จในการร่าง

ถามว่าแล้วจริง ๆ ส่วนใหญ่ประสบผลสำเร็จหรือไม่ ก็ตอบว่าประสบผลสำเร็จได้ใน

ระดับหนึ่ง เพราะเมื่อกฎหมายออกมาแล้ว วิวัฒนาการของสิ่งต่าง ๆ ก็จะเดินหน้าต่อไป

วิธีคิดของคนก็จะเปลี่ยนไปสิ่งที่เคยคิดเอาไว้ และเขียนไว้ในขณะหนึ่งจะค่อย ๆ ถูกแปล

ไปเรื่อยจนกระทั่งกลายไปเป็นอีกลักษณะหนึ่งได้ บางที่ผู้ร่างก็ตั้งใจอย่างนั้นเพื่อให้

กฎหมายเป็น dynamic เคลื่อนไหวได้ สอดคล้องไปกับวิวัฒนาการของสังคม ในกรณี

เช่นนั้นก็แปลว่าเขาประสบผลสำเร็จ คือไม่ตายตัว เมื่อสิ่งต่าง ๆ ในสังคมเปลี่ยนแปลง

ไปกฎหมายก็จะค่อย ๆ ถูกแปลเปลี่ยนแปลงไปตามนั้น โดยองค์กรทั้งหลายที่ทำหน้าที่

กำกับดูแล หรือบังคับให้เป็นตามกฎหมายนั้น แต่บางครั้งก็เป็นไปโดยไม่ได้ตั้งใจแล้วก็

ไปไกลเกินกว่าที่เขา  ตั้งใจ ในกรณีที่ไปไกลเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ ถ้าผลออกมาแล้วดี ไม่เกิด

ความยุ่งยากหรือวุ่นวายขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าผลเกิดความยุ่งยากหรือวุ่นวายขึ้น ผู้ร่างก็

จะต้องเริ่มกลับมาศึกษาแล้วเปลี่ยนกฎหมายนั้นกลับมาให้อยู่กับรอยที่ตัวต้องการมาก

กว่าที่จะปล่อยให้เลยตามเลยไป

เมื่อเราจำเป็นต้องสื่อความหมายไปยังคนถึง ๓ กลุ่มดังกล่าว ภาษา

กฎหมายจึงเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในงานร่างกฎหมาย จริงอยู่เราจะพบเห็นในเวลาที่เรา

อ่านกฎหมาย เรามักจะนึกว่าทำไมนักกฎหมายเขียนอะไรเยิ่นเย้อ ทำไมไม่เขียนให้ตรง

ไปตรงมาให้คนเข้าใจได้ นั่นก็คือการเข้าใจจริง ๆ ที่ถูกต้องแล้วว่านักกฎหมายต้องเขียน

อะไรที่ตรงไปตรงมา และทำให้คนเข้าใจได้ถูกต้องตรงตามที่เขาคิด แต่ว่าวิธีคิดของคน

แตกต่างกัน บางทีเขียนไว้อย่างนี้ คนเขาอาจจะคิดไปอีกอย่างหนึ่งก็ได้สุดแต่สิ่งแวด

ล้อม สุดแต่ประโยชน์ได้เสียของตัว หรือสุดแต่อคติของตัว เพราะ ทุกคนก็ต้องมีอคติ

หลักในการใช้ภาษาในการเขียนกฎหมายมีหลักง่าย ๆ เพียง ๓ ประการ    เท่านั้น

ประการที่ ๑ คือต้องเป็นภาษาที่เรียบง่าย เพราะฉะนั้นก็ตรงกับที่

เราคิดว่าทำไม ไม่เขียนอะไรที่ง่าย ๆ แต่คำว่าง่ายของคนธรรมดากับคำว่าง่ายของนัก

เขียนกฎหมาย คนละความหมายกัน ถามว่าในเชิงกฎหมายภาษาที่เรียบง่ายเขามอง

อย่างไร ในความเรียบง่ายคือต้องไม่ฟุ่มเฟือย คำว่าไม่ฟุ่มเฟือยก็คือเราไม่นึกถึงความ

 

ไพเราะ คำในกฎหมายทุกคำต้องเป็นคำที่จำเป็นต้องมีอยู่ ถ้าไม่มีอยู่แล้วจะอ่านไม่ได้

ความ ตัดคำใดคำหนึ่งไปไม่ได้เลย จะทำให้เสียไปเลยนั่นคือความหมายของคำว่าไม่

ฟุ่มเฟือย ถ้าถามว่าทำไมจะเขียนให้ยาวให้เข้าใจอธิบายให้ชัดเจนหน่อย   ไม่ได้หรือ ถ้า

พูดถึงผู้หญิง จะบอกให้ละเอียดได้ไหม สูง ต่ำ ดำ ขาว ผมยาว ผมสั้นอย่างไรก็ตอบว่า

ไม่ได้ ยิ่งเขียนยาวความหมายก็จะยิ่งแคบเข้า ยิ่งเขียนสั้น ความหมายจะกว้างขึ้นถาม

ว่าทำไมถึงจะทำให้กว้างขึ้น ก็เพราะว่าไม่รู้ว่าวันข้างหน้าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าให้คนซึ่งมี

ชีวิตอยู่เมื่อ ๗๐ ปีที่แล้วบรรยายคุณลักษณะของผู้หญิงก็จะต้องบอกว่า เรียบร้อย ไว้ผม

ยาว นุ่งห่มกรอมเดินเหินช้า ๆ   สง่างาม จะลุกจะนั่งพับเพียบเรียบร้อย ถ้าบรรยายอย่าง

นั้น ปัจจุบันหาผู้หญิงไม่ได้เพราะจะไม่เหลืออีกแล้ว ถามว่าละเอียดไหม ละเอียด แต่ว่า

วิวัฒนาการก็เปลี่ยนแปลงไป หรือถ้าบรรยายถึงผู้ชายว่าไว้ผมสั้นเดี๋ยวนี้ผู้ชาย ก็จะหาย

ไปครึ่งหนึ่งเพราะผู้ชายไว้ผมยาวใส่ต่างหูกระตุ้งกระติ้งมากขึ้น   อย่างนั้นก็จะเห็นว่าจะ

ทำให้ยิ่งแคบเข้าเพราะฉะนั้นกฎหมายจึงต้องใช้คำที่ไม่ฟุ่มเฟือย คำทุกคำต้องมีความ

หมายและตัดออกไม่ได้ ไปอ่านดูเถอะครับ ในบทบัญญัติของกฎหมายทุกฉบับถ้าเรา

สามารถตัดคำใดคำหนึ่งออกไปแล้วความหมายยังคงเดิมแปลว่าผู้ร่างไม่เก่ง ผู้ร่างไม่ดี

ถ้าเราตัด  ไม่ได้แม้แต่คำเดียวแปลว่าผู้ร่างเก่ง เขาเคยล้อกันถึงขนาดนี้ว่านักร่าง

กฎหมายไปทำการค้าขาย   ปิดป้ายไว้ที่หน้าร้านที่นี่ขายปลาสด วันดีคืนดีมานั่งเล็ง ๆ

ป้าย แล้วก็บอกว่าคนเดินมาถึงตรงนี้     ก็รู้ว่าที่นี่ เอาไว้ทำไม ทำไมต้องมีคำว่าที่นี่ เมื่อ

เดินมาถึงตรงนี้ก็รู้ ก็ตัดคำว่าที่นี่ออก ก็เหลือแต่  ขายปลาสด อยู่ไปอีกพักหนึ่งรู้สึกว่าจะ

มีใครในโลกอยู่ ๆ เอาปลามาแจกก็ต้องขายกันทุกคน ก็ตัดคำว่าขาย ก็เหลือแต่ ปลาสด

นึกไปนึกมาจะมีใครเอาปลาเน่ามาขาย ก็ต้องสดทั้งนั้น ก็ตัดคำว่า   สดออก เหลือแต่

ปลา ปลาก็เห็นอยู่ทนโท่ จะต้องไปเขียนบอกทำไมว่าปลา ตัดออกหมดเลยนั่นก็คือโจ๊กที่

เหลือเลียนพวกนักร่างกฎหมาย แต่หลักก็คือต้องไม่ฟุ่มเฟือย ในความเรียบง่ายนั้นก็คือ

ความไม่ฟุ่มเฟือยในความเรียบง่ายจะต้องใช้ถ้อยคำตรงตามที่ตัวต้องการไม่มีความ

หมายมากไปกว่านั้นและไม่มีความหมายน้อยไปกว่านั้น กฎหมายต้องมีความชัดเจนเรา

เรียนกฎหมายอาญามาแล้วเราจะรู้ว่าการจะลงโทษบุคคลนั้นต้องทำให้บุคคลนั้นรู้ว่า

การกระทำนั้นเป็นความผิดแล้วมีโทษ การที่จะทำให้เขารู้ว่าเป็นความผิดนั้นต้องทำให้

เขารู้อย่างชัดเจนว่าอย่างไรจึงจะเป็นความผิด เพราะฉะนั้นคำทุกคำที่จะใช้จึงต้องเป็น

คำที่พอเหมาะหรือมีความหมายตรงตามที่ตัวต้องการ ไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้น ยกตัว

อย่างเช่น ถ้าเราต้องการพูดถึงคนที่เป็นมนุษย์ธรรมชาติ เราใช้คำว่าคน ถ้าเราจะพูดถึง

คนซึ่งรวมถึงนิติบุคคลเราจะใช้คำว่าบุคคล ก็แปลว่าถ้าพูดถึงบุคคลเมื่อไหร่ก็จะหมาย

ถึงทั้ง    คนธรรมดาและนิติบุคคล ไม่ว่าจะนิติบุคคลประเภทใด ถ้าพูดถึงคนก็หมายถึง

คนธรรมดาไม่รวมถึงนิติบุคคล หลักนี้ก็ใช้กันเป็นการทั่วไปเพราะฉะนั้นก็ลองสังเกตดูได้

ถ้าเมื่อไหร่เขาใช้คำว่าบุคคลแปลว่าเขาต้องหมายความรวมทั้งหมด

ประการที่ ๒ ถ้อยคำใดที่ใช้แล้วมีความหมายตรงตามที่ต้องการ

เมื่อต้องการให้มีความหมายอย่างนั้นในที่อื่นต้องใช้คำเดียวกันตลอด จะไปเปลี่ยนเพื่อ

ความสวยงามไม่ได้ ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่างคำว่า คนกับบุคคล ถ้าเมื่อไหร่เราต้องการ

ให้หมายถึงคนธรรมดาก็ต้องใช้คนตลอด ถ้าต้องการให้หมายถึงทั้ง ๒ ประเภท ก็ต้องใช้
บุคคลตลอดไม่ว่าเขียนที่ไหนในบทบัญญัติทั่วไป ในบทหลักการ หรือแม้กระทั่งในบทลง

โทษก็ต้องใช้ให้เหมือนกัน

ประการที่ ๓ ประการสุดท้ายต้องมีความหมายชัดเจนและแน่นอน

พอที่คนทั่วไปเขาจะรู้ได้ ถามว่าในภาษาทุกภาษาคำทุกคำมีความหมายชัดเจนและแน่

นอนหรือไม่ ตอบว่าไม่    คำบางคำก็ไม่ชัดเจน คำบางคำมีความหมายไกลเกินกว่าที่เรา

ต้องการ คำบางคำก็มีความหมายน้อยกว่าที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่นคำว่า สัตว์ ถาม

ว่าช้างเป็นสัตว์ไหม ปลากัดเป็นสัตว์ไหม นกเป็นสัตว์ไหม จิ้งหรีดเป็นสัตว์ไหม เป็น แต่

เมื่อเวลาที่เราจะออกกฎหมายไปใช้บังคับ เราออกกฎหมายฉบับเดียวเพื่อใช้กับช้างกับ

ใช้กับมดทำได้ไหม ก็ตอบว่าไม่ได้ ต้องออกกฎหมายว่าด้วยมดก็มด กฎหมายว่าด้วย

ช้างก็ต้องช้าง เพราะฉะนั้นเวลาที่เราจะใช้คำว่าสัตว์เราจะไปนึกว่าช้างก็เป็นสัตว์ เพราะ

ฉะนั้นรวมอยู่แล้วก็ใช้คำว่าสัตว์ได้ ไม่ได้ เพราะมีความหมายไกลเกินว่าที่เราต้องการ

เขาก็ย่อลงมาอีก สัตว์บก มดกับช้างก็เป็นสัตว์บก ย่อลงมาอีกสัตว์ปีก นกเป็นสัตว์ปีก

เป็ดก็เป็นสัตว์ปีก ค้างคาวก็เป็นสัตว์ปีก พวกนี้อยู่กันคนละประเภทเดินอยู่บนดิน บินอยู่

บนอากาศ ก็เป็นสัตว์ปีกด้วยกันทั้งคู่ คำเหล่านี้เป็นคำซึ่งเวลาจะใช้จึงต้องนึกว่าเรา

ต้องการความหมายมากน้อยแค่ไหน         ถ้าต้องการหมดก็ใช้อย่างหนึ่ง ถ้าต้องการ

บางส่วนก็ต้องใช้อีกอย่างหนึ่ง ถ้าหาคำที่ลงตัวไม่ได้ก็ต้องไปเขียนนิยาม ไปเขียนความ

หมายเอาไว้โดยเฉพาะ ความหมายของคำนิยามเป็นเรื่องที่เดี๋ยวเราจะพูดกันว่าทำไม

เราถึงจะต้องเขียนคำนิยาม แต่ในที่นี้จะเน้นให้เห็นว่าคำทุกคำที่ใช้ในภาษากฎหมาย

ต้องมีความหมายชัดเจนและแน่นอนตายตัว ไม่ใช่ว่าในมาตรา ๑ มีความหมาย ๔ อย่าง

พอในมาตรา ๑๐ คำ ๆ เดียวกันอยากจะให้มีความหมาย ๕ อย่าง อย่างนั้นไม่ได้ ในเชิง

การเขียนกฎหมายถือว่าเป็นความผิดพลาดที่สำคัญ เพราะอะไร เพราะว่าเวลาแปล

กฎหมายจะมีหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับการเขียนเวลาแปลกฎหมายเขาก็จะแปลว่า

คำใดที่ใช้ในที่หนึ่งมีความหมายอย่างหนึ่งแล้วไม่ว่าจะใช้ที่ใดในที่อื่น ๆ ก็จะมีความ

หมายอย่างเดียวกัน เพราะฉะนั้นเขาแปลเขาก็แปลอย่างเดียวกันหมดเว้นแต่จะมีคำ

อะไรที่ไปเขียนเอาไว้ให้ชัดเจนว่าตรงนั้นมีความหมายผิดแปลกแตกต่างไป นั่นก็เป็น

ภาษาของกฎหมายที่นักร่างกฎหมายจะต้องระมัดระวัง

เรามาดูว่าในโครงสร้างของกฎหมายที่เขาเขียนร่างกฎหมายขึ้นมา

นั้น โครงสร้างเป็นอย่างไร โครงสร้างของกฎหมายถ้ามองในแง่ของตัวกฎหมายที่นำมา

ใช้บังคับ ก็จะมีตัวพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด หรือแม้กระทั่งรัฐธรรมนูญ แล้วมี

ส่วนหนึ่งซึ่งไม่ใช่เป็นกฎหมาย ส่วนนั้นก็คือเหตุผลในการออกกฎหมายซึ่งถ้าใครเปิดราช

กิจจานุเบกษาดูก็จะพบว่าในกฏหมายทุกฉบับที่ออกและลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา

ท้ายกฎหมายนั้นจะมีเหตุผล เหตุผลจะบอกถึงที่มาว่าทำไมเขาถึงออกกฎหมายนั้น ถาม

 

ว่าไว้ทำประโยชน์อะไร ประโยชน์ก็คือว่าในกรณีที่แปลกฎหมายใน   พระราชบัญญัติหา

ความหมายที่ชัดเจนอะไรไม่ได้แล้วก็จะไปดูเหตุผลว่าเขาออกกฎหมายฉบับนั้นมาเพื่อ

อะไร เอาตัวเหตุผลนั้นมาประกอบการแปลความเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ

กฎหมาย หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะบอกได้ว่าเหตุผลที่เขียนไว้นั้นเป็นการบอกเจตนารมณ์

ของกฎหมายโดยชัดแจ้ง เวลาที่เขาพูดกันว่าเจตนารมณ์ของกฎหมายไม่ได้แปลว่าตอน

ร่างคนคิดเขาคิดอย่างไรเขาแปลว่าตอนที่เขียน ๆ อย่างไร คำตรงนั้นมีความหมายอย่าง

ไร มากกว่าไปคิดถึงคนร่างถ้าความหมายตรงนั้นแปลไม่ออกเขาก็ไปดูเหตุผลว่า

กฎหมายนั้นออกมาเพื่ออะไร เขาจะได้แปลความหมายนั้นมาให้สอดคล้องกับเหตุผล

นั้น และท้ายที่สุดจริงๆ เมื่อหาอะไรมิได้เขาถึงจะไปดูรายงานการประชุมว่าตอนร่างคน

ร่างคิดอย่างไร แต่ว่าถ้าคนร่างคิดแล้วเขียนคนละอย่างกับที่คิดตรงนั้นไม่ได้ ทำให้ผล

ของกฎหมายนั้นกลับกลายไปเป็นอย่างที่คนร่างคิดเลย เช่น เขาออกกฎหมายเพื่อใช้

บังคับกับคน คนร่างง่วงนอน เขียนคำว่าสัตว์ไปตัวหนึ่ง แล้วจะบอกว่าผมไม่ได้ตั้งใจให้

รวมไปถึงสัตว์ด้วย ตอนนั้นผมง่วงนอนแล้วผมเผลอเขียนไป ไม่ได้ สัตว์ตรงนั้นต้องมี

ความหมายขึ้นมาทันที จะแปลกันอย่างไรก็แล้วแต่ก็จะต้องแปลคำว่าสัตว์คำนั้นให้เกิด

ความหมายขึ้นมาในกฎหมายนั้น ๆ จะไปบอกว่าคนร่างเขาง่วงนอนแล้วเขาเขียน

เผอเรอทำหายหกตกหล่นหรือทำความหมายผิดแผกไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นคำที่เขียนไว้

ในกฎหมายจึงต้องมีความหมาย

โครงสร้างของกฎหมายประการที่ ๑ เราจะได้ยินอยู่เสมอเวลา

เขาเสนอกฎหมายจะมีคำว่าหลักการและเหตุผล เหตุผลก็คือสิ่งที่อยู่ท้ายกฎหมาย ถาม

ว่าหลักการคืออะไร หลักการไม่เกี่ยวกับกฎหมายที่เมื่อออกมาใช้บังคับแล้ว เกี่ยวแต่

เฉพาะกระบวนการในการทำร่างกฎหมายให้เป็นกฎหมาย เพื่ออะไรเพื่อเป็นสื่อบอกกับ

ฝ่ายนิติบัญญัติว่าผู้เสนอร่างกฎหมายนั้นต้องการอะไร ในการเสนอกฎหมายนั้น กรอบ

ของการเสนอกฎหมายนั้นมีมากน้อยแค่ไหน หลักการของกฎหมายคืออะไร เช่น ถ้ามี

กฎหมายใหม่เขาก็เขียนหลักการง่าย ๆ เช่น ถ้าจะมีกฎหมายว่าด้วยการแต่งกายของ

สตรี เขาก็บอกว่าหลักการมีกฎหมายว่าด้วยการแต่งกายของสตรี ก็เพียงเท่านั้น เพื่อให้รู้

ว่ากฎหมายนี้จะว่าด้วยเรื่องนี้จะไปปรับปรุงแต่งเติมอย่างไรก็ขอให้อยู่ในนี้ อย่าไปเอา

เรื่องบุรุษเข้ามาเกี่ยว อย่าไปเอาเรื่องสัตว์เข้ามาเกี่ยว อย่าไปเอาเรื่องวัตถุอื่นเข้ามาเกี่ยว

แต่ตราบเท่าที่เป็นเรื่องการแต่งกายของสตรี จะทำให้หรูหราอย่างไร จะจับไปล่อนจ้อน

อย่างไรก็ยังถือว่ายังอยู่ในหลักการนั้น นั่นก็เป็นวิธีง่าย ๆ เพราะเป็นกฎหมายใหม่แต่ถ้า

เป็นกฎหมายเก่า เช่น ถ้าเขาจะแก้ไขกฎหมายว่าด้วยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เฉย ๆ ไม่

ได้ ถ้าเขียนอย่างนั้นแปลว่าฝ่ายนิติบัญญัติก็จะสามารถเอาไปทำอีลุ่ยฉุยแฉกยกเลิก

ของเก่าอะไรต่ออะไรหมด แล้วก็เปลี่ยนใหม่ได้ทันที เพื่อป้องกันตรงนั้น    เขาก็กำหนด

ไว้ว่า ถ้าจะแก้อะไรก็ระบุมาตรามาว่าจะแก้มาตรานั้น ๆ เพื่ออะไร แล้วก็ในกรอบนั้น

ฝ่ายนิติบัญญัติก็สามารถไปปรับปรุงแก้ไข ออกไปนอกกรอบนั้นไม่ได้ จึงจะเห็นว่าคำว่า

 

หลักการเป็นเรื่องระหว่างฝ่ายบริหารหรือผู้เสนอกฎหมายกับฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งเป็นผู้

พิจารณาให้ความเห็นชอบกฎหมายเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับคนภายนอกแต่เหตุผลจะเกี่ยว

เพราะเหตุผลจะบอกให้คนภายนอกรู้ว่าเขามีกฎหมายนั้นไว้เพื่ออะไร ทำไมเขาถึงต้อง

ร่างกฎหมายนั้น เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าท้ายเหตุผลจะมีคำหนึ่งซึ่งจะมีอยู่ในทุกฉบับ

ว่าจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ จึงจำเป็นต้องตราพระราชกำหนดนี้ จึงจำเป็น

ต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้ เขาจะบอกเหตุผลมาตลอด แล้วเขาถึง    จะสรุปท้ายว่า

ด้วยเหตุนั้นจึงต้องออกกฎหมายนี้เพื่อบอกให้ชาวบ้านรู้

โครงสร้างของกฎหมายประการที่ ๒ คือชื่อร่างพระราชบัญญัติ

ชื่อร่างกฎหมายนั้นมีหลักในการคิดอยู่ว่าโดยปกติเขาจะไม่ใช้กริยาเป็นชื่อของร่าง จะใช้

คำนามเป็นชื่อของร่าง แต่หลักนี้ก็ไม่ได้ยึดกัน ๑๐๐ % ถ้าไปค้นในกฎหมายประมาณ

๖๐๐ ฉบับนั้น จะพบว่ามีบางฉบับใช้กริยาเหมือนกัน บางคำไม่สามารถจะใช้คำนามได้

เขาก็จะเติมคำว่า “ว่าด้วย” หรือคำว่า “การ” ไว้ข้างหน้ากริยาเพื่อให้เป็นนาม ถามว่าชื่อ

ร่างพระราชบัญญัติมีความสำคัญไหม ตอบว่ามีความสำคัญเพราะเป็นตัวบทกฎหมาย

อย่างหนึ่งในมาตราหนึ่งทีเดียวเพื่อที่จะบอกให้รู้ว่ากฎหมายนี้ต่อไปนี้   จะเรียกกันว่า

อย่างไร เหมือนกับตั้งชื่อคน พอเกิดมาก็ตั้งชื่อเลยเพื่อให้ทุกคนรู้ว่าเมื่อเอ่ยถึงชื่อนี้ก็จะ

หมายถึงสิ่งนี้ ในมาตรา ๑ ของกฎหมายจึงจะต้องเริ่มต้นว่า “พระราชบัญญัตินี้ให้เรียก

ว่า...” เรียกอะไรก็ใส่ลงไปเต็มยศ ถามว่าทำไมถึงต้องมี ก็เพราะมิฉะนั้นเวลาเราอ้างจะ

ต่างคนต่างอ้าง แล้วในที่สุดจะอ้างกันคนละอย่าง แม้ว่าใจจริงจะมีความหมายให้

เหมือนกันคือมุ่งหมายถึงพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน แต่ถ้าอ้างกันไปนาน ๆ ก็จะไม่รู้

ในที่สุดก็จะกลายเป็นอะไรต่ออะไรก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นกฎหมายก็กำหนดเอาไว้เพื่อความ

สะดวกในการใช้ กำหนดกันไว้เป็นที่แน่นอนชัดเจนว่าจะเรียกกันว่าอะไร

โครงสร้างของกฎหมายประการที่ ๓ คือคำปรารภ คำปรารภของ

กฎหมายนั้นสมัยโบราณจะเขียนละเอียดยิบเลย จะเขียนเป็นประวัติศาสตร์เลย ถ้าใคร

ไปดูกฎหมายยุครัชกาลที่  ๔ บางทีคำปรารภจะยาวกว่าตัวบทกฎหมาย  เพราะท่านจะ

จาระไนมาหมดเลย  ตั้งแต่ต้นเลยว่าแต่เดิมเป็นอย่างไร  ต่อมาเป็นอย่างไร แล้วมีสิ่ง

อะไรที่ไม่พึ่งประสงค์ในบ้านเมืองฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องทำอย่างไรเพื่อให้เกิดสิ่งซึ่งพึง

ประสงค์ เวลาที่คนโบราณเขียนกฎหมายจะทำให้คนอ่านเข้าใจได้ง่ายว่าผู้ใช้อำนาจรัฐา

ธิปัตย์ต้องการอะไร ซึ่งก็น่าเห็นใจเพราะว่าคนในสมัยก่อนการศึกษาน้อย     จึงต้อง

อธิบายกันให้ชัดเจนแจ่มแจ้ง การจะอธิบายในตัวบทกฎหมายก็ยาก ก็ใช้คำปรารภเป็น       

คำอธิบาย  ต่อมาคำปรารภนั้นก็สั้นเข้า ๆ จนในที่สุดก็เหลือนิดเดียว ถ้าเป็นกฎหมาย

ใหม่ก็บอกว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการนั้น ถ้าเป็นกฎหมายแก้

ไขเพิ่มเติมก็บอกว่าโดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการนั้น

ตกลงในที่สุดก็ไม่รู้อะไร มาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน  เกิดสิ่งใหม่ขึ้น  รัฐธรรมนูญ

บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙ วรรคหนึ่ง  เขาบอกว่า  การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่

 

รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำไม่ได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง

กฎหมาย เฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญนี้กำหนดไว้และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และจะ

กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพนั้นไม่ได้ มาตรา ๒๙ วรรคสอง บอก

ว่ากฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไป และไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ

แก่กรณีใดกรณี หนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ ทั้งต้องระบุบทบัญญัติ

แห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย แต่ก่อนนี้เวลาเราร่างกฎหมาย

กฎหมายที่ออกมาถือว่าพระราชบัญญัติเป็นตัวแม่บทที่รองลงมาจากรัฐธรรมนูญถือกัน

ว่ารัฐธรรมนูญมีอำนาจในการออกกฏเกณฑ์กติกามาใช้บังคับได้ เป็นที่ยอมรับนับถือกัน

ทั่วไป โดยมีเงื่อนไขแต่เพียงว่าต้องไม่เป็นการลิดรอนสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญ

กำหนดไว้หรือไปฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ถ้ามีกรณีอย่างนั้น เกิดขึ้นกฎหมาย

นั้นก็จะใช้บังคับไม่ได้ อำนาจนั้นมาจากบทบัญญัติที่ว่าพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจ

อธิปไตยโดยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล เพราะฉะนั้นเวลาตรากฎหมายก็

ไม่ต้องอาศัยอำนาจเพราะถือว่าอำนาจนั้นมีโดยตรงที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นไว้ แต่เมื่อรัฐ

ธรรมนูญฉบับใหม่มาตรา ๒๙ วรรคสอง กำหนดไว้ว่าเมื่อเวลาจะออกกฎหมายไปลิด

รอนสิทธิและเสรีภาพของใครเข้าจะต้องระบุบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจใน

การตรากฎหมายนั้นไว้ ถามว่าแล้วเวลาจะอาศัยอำนาจ จะไปเขียนกันไว้ที่ไหน ในขณะ

นี้เท่าที่คิดกันออกและที่กฎหมายออกไปแล้ว ๓-๔ ฉบับ เมื่อ ๒-๓ วันนี้ก็ไปเขียนไว้ในคำ

ปรารภว่าบทบัญญัติอะไรของรัฐธรรมนูญฉบับนี้เขียนสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาว

ไทยไว้ค่อนข้างจะละเอียดมากเลย ถามว่าจะมีกฎหมายกี่ฉบับที่จะไม่เป็นการจำกัด

สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพราะโดยหลักของการออกกฎหมายนั้นก็คือการออก

มาเพื่อควบคุมความประพฤติ เพื่อควบคุมกิจกรรม วางระเบียบของสังคม ใครฝ่าฝืนก็มี

โทษ เมื่อกฎหมายมีลักษณะอย่างนั้นกฎหมายทุกครั้งที่ออกมาก็ย่อมไปจำกัดสิทธิและ

เสรีภาพไม่ทางใดก็ทางหนึ่งของคนโดยทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะออกกฎหมายให้

ข้าราชการแต่งเครื่องแบบ ถามว่าจำกัดสิทธิและเสรีภาพเราหรือไม่ ก็ตอบว่าจำกัด

เพราะบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย   เราจะทำอย่างไรกับร่างกาย

เราก็ได้ ก็ต้องไปอ้างรัฐธรรมนูญ เราจะออกกฎหมายว่าต่อไปนี้ใครจะมีวัตถุระเบิดต้อง

ได้รับอนุญาติหรือห้ามไม่ให้มีวัตถุระเบิดเลย  ถามว่าจำกัดสิทธิและเสรีภาพเราหรือไม่

ก็ตอบว่าจำกัด เพราะว่าสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง ถามว่าเรา

จะจำกัดออกกฎหมายห้ามไม่ให้บุคคลเข้าไปในพื้นที่บางพื้นที่ เช่น ในป่าสงวน ใน

อุทยานต้นน้ำลำธารได้หรือไม่ ก็ตอบว่าได้ แต่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพหรือไม่ ก็

ตอบว่าเป็นการจำกัดสิทธิและ    เสรีภาพ  เพราะบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการที่จะเลือก

ถิ่นที่อยู่และเดินทางไปไหนมาไหนได้    เพราะฉะนั้นเรื่องทุกเรื่องจะกลายเป็นการจำกัด

สิทธิและเสรีภาพและจะต้องอ้างบทบัญญัติของ    รัฐธรรมนูญอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นต่อ

 

ไปนี้ก็เป็นภาระหน้าที่ของนักร่างกฎหมายจะต้องไปเปิด      รัฐธรรมนูญดูทุกครั้งที่จะ

เขียนกฎหมายว่าที่กำลังจะเขียนอยู่นั้นไปจำกัดสิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดบ้างแล้วก็จะ

ต้องอ้างกันไว้ในบทบัญญัติที่เราเรียกกันว่า คำปรารภ

โครงสร้างของกฎหมายประการที่ ๔ คือการกำหนดวันใช้บังคับ

กฎหมายนั้น    จะต้องมีวันที่ใช้บังคับ  เพื่อคนที่จะถูกบังคับนั้นรู้ว่าแล้วกฎหมายจะมีผล

เมื่อไหร่ ถามว่าวันใช้บังคับมีได้กี่วันมีได้ ๕ อย่าง เท่าที่รวบรวมได้

อย่างที่ ๑ คือวันที่ที่กำหนดกันไว้ชัดเจนแน่นอน ซึ่งอาจจะเป็น

วันในอดีตหรือวันในอนาคต ถ้าเป็นวันในอดีตก็แปลว่ากฎหมายจะมีผลย้อนหลัง ถ้าเป็น

วันในอนาคตก็แปลว่ากฎหมายนั้นจะใช้ในวันข้างหน้า  ซึ่งอาจจะกำหนดว่าพระราช

บัญญัตินี้ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๐ นี่คือวันในอดีต ถามว่ากฎหมายอย่างนี้

ออกได้ไหม ตอบว่าได้แต่ต้องด้วยความระมัดระวัง เพราะถ้ากฎหมายใดมีผลในเชิงทาง

อาญา ถ้าไปใช้บังคับย้อนหลัง กฎหมายก็จะขัดต่อรัฐธรรมนูญ  บทบัญญัติอะไรของรัฐ

ธรรมนูญที่ห้ามไม่ให้ออกกฎหมายบังคับย้อนหลังความจริงถ้าดูในกฎหมายอาญาน่า

จะดีกว่านะ ในมาตรา ๒ เพราะว่ากฎหมายอาญาเป็นกฎหมายลูกไม่ค่อยเปลี่ยน

กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายแม่เปลี่ยนเรื่อย รัฐธรรมนูญมาตรา ๓๒ เขาบอกว่า 

บุคคลจะไม่ต้องรับโทษอาญา  เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่

กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิด  และกำหนดโทษไว้ โทษที่จะลงต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้

ในกฎหมาย เพราะฉะนั้นโดยผลตรงนี้ ทำให้ไม่สามารถออกกฎหมายอาญาที่มีผลย้อน

หลังได้ เว้นแต่ผลนั้นเป็นผลในเชิงบวก  แต่ในทางแพ่งไม่มีที่ไหนอ้าง แต่หลักที่ยึดกันก็

คือว่าเมื่อไหร่ที่จะสร้างภาระให้เกิดขึ้นจะไม่สร้างย้อนหลัง ถ้าทำให้เป็นคุณอาจจะย้อน

หลังได้ เช่น วันดีคืนดีเราเกิดบอกว่าประชาชนชาวไทยก็ได้ร่วมมือร่วมใจ      แก้ปัญหา

เศรษฐกิจกันมาด้วยดี สมควรได้รับโบนัสกันโดยทั่วหน้า อย่างนี้ออกได้ไม่มีใครว่าแล้ว 

จะไม่มีใครไปทักท้วงด้วย ในเชิงกฎหมายก็ออกได้ ในเชิงการยอมรับก็รับกันได้ แต่ถ้า

สร้างเป็นภาระเขาจะไม่ออกย้อนหลัง  จะเกิดปัญหาในทางปฏิบัติมากมายสิ่งที่ทำไปแล้

วจะทำอย่างไร ทำไม่ตรงตามที่กฎหมายกำหนดจะทำอย่างไร โดยผลสรุปก็คือว่า โดย

หลักทั่วไปกฎหมายจะใช้บังคับสำหรับวันข้างหน้า เว้นแต่กรณีที่มีเหตุอันจำเป็นจริง ๆ

หรือเป็นกฎหมายในเชิงบริหาร และฝ่ายบริหารรู้อยู่แล้วว่าจะต้องทำอย่างนั้นถามว่า

กฎหมายจะใช้บังคับถึงแม้ว่าจะกำหนดไว้ในกฎหมาย  ว่าต้องใช้บังคับวันที่เท่าไหร่รัฐ

ธรรมนูญก็บัญญัติไว้ว่ากฎหมายนั้นต้องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาจึงจะใช้บังคับ

ได้แต่โดยที่รัฐธรรมนูญเขียนแค่เพียงเท่านั้น จึงไม่ได้แปลว่าผลของกฎหมาย จะมีผล

ย้อนหลังไม่ได้เพียงแต่ว่าต้องเอาไปประกาศ เมื่อประกาศแล้วก็ไปใช้บังคับได้ บังคับ

อย่างไร    ก็บังคับตามที่กฎหมายนั้นบอก บอกให้ย้อนไปกี่วันก็เท่านั้นวัน บอกให้ไปข้าง

หน้ากี่วันก็เท่านั้นวัน เพียงแค่ว่าเราต้องยึดหลักว่าถ้าเป็นโทษต้องไม่ใช้ย้อนหลัง

อย่างที่ ๒ คือวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา กฎหมายส่วน

ใหญ่จะไม่ค่อยใช้ในวันนี้ เพราะอาศัยหลักที่ว่าเมื่อหลักกฎหมายบังคับว่าคนทุกคนต้อง

 

รู้กฎหมายเพราะฉะนั้นก็ต้องให้เวลาคนทุกคนมีโอกาสได้อ่านกฎหมายนั้นเสียก่อน ถ้า

ใช้ในวันที่ประกาศทันทีที่มีเอกสารประกาศออกมาในราชกิจจานุเบกษาใช้บังคับทันที

คนยังไม่ทันได้อ่าน แต่ถามว่าแล้วเขาจะใช้กรณีไหน  ส่วนใหญ่จะใช้กรณีที่เป็นเรื่องรีบ

ด่วนเป็นเรื่องส่วนได้เสียสำคัญของประเทศ  หรือเรื่องภาษีอากรที่ไม่ต้องการให้ได้

เปรียบเสียเปรียบ และมักจะใช้กับพระราชกำหนดที่ออกโดยประสงค์จะให้มีผลโดยทันที

ทันใด  ไม่ให้หลีกเลี่ยงกันได้ ก็จะใช้ในวันประกาศ แต่ในระยะหลังความรวดเร็วในการ

บังคับการตามกฎหมายในเชิงภาษีอากรก็ดีขึ้นเขาก็ให้เวลาขึ้นในระยะหลังพระราช

กำหนด จึงใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษานั่นคือทางเลือกอย่างที่ ๓ วัน

ถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาถัดไปหนึ่งวัน วันนี้ประกาศรุ่งขึ้นก็ใช้บังคับ

อย่างที่ ๓ คือวันที่มีเงื่อนไขกำหนดเกิดขึ้น  ซึ่งในกรณีอย่างนี้มัก

จะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะสลับซับซ้อนสำหรับกฎหมายนั้น และการเขียนกฎหมายใน

กรณีนี้ค่อนข้างจะละเอียดและให้ชัดเจนว่าเงื่อนไขอะไรที่จะทำให้กฎหมายใช้บังคับได้ 

เช่น  เมื่อได้มีการตั้งกระทรวงนั้นเสร็จกฎหมายนี้ให้ใช้บังคับ หรือเมื่อได้ทำการนั้นเสร็จ

ให้กฎหมายนี้ใช้บังคับอย่างนี้เป็นต้น

อย่างที่ ๔ คือวันที่จะได้มีการกำหนดขึ้นในอนาคต ซึ่งส่วนใหญ่

จะได้กำหนด โดยพระราชกฤษฎีกา บางทีเขาก็ใช้ทางเลือกที่ ๔ และทางเลือกที่ ๕ ผสม

กัน เช่น กฎหมายว่าด้วยควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้ เขาจะกำหนดว่าเมื่อเกิด

เพลิงไหม้ขึ้น ณ ที่ใด ฝ่ายบริหารก็มีอำนาจตราพระราชกฤษฎีกาให้ใช้บังคับพระราช

บัญญัติควบคุมการก่อสร้างในเขตเพลิงไหม้สำหรับพื้นที่นั้นได้ ก็แปลว่า ๑. ถ้าเกิดเพลิง

ไหม้ขึ้น ๒. เขาก็ไปกำหนดวันก็แปลว่าทั้งทางเลือกที่ ๔ และทางเลือกที่ ๕ ใช้ควบคู่กัน

ไปก็ได้ แต่วันที่ใช้กันเป็นการทั่วไป ก็คือวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

โครงสร้างของกฎหมายประการที่ ๕ คือสถานที่ที่ใช้บังคับ

กฎหมาย โดยหลักปกติแล้วจะใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร ถามว่ามีที่ไหนในบทบัญญัติ

ของกฎหมายเขียนว่าใช้บังคับ  ทั่วราชอาณาจักร ไม่มี มีแต่พระราชบัญญัติให้ใช้บังคับ

ตั้งแต่วันที่เท่านั้น ก็แปลว่าใช้บังคับกับทุกคน แต่กฎหมายบางฉบับใช้บางพื้นที่ได้ จำ

เป็นต้องใช้บางพื้นที่เพราะความพร้อม เช่น พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร

ใหม่ ๆ เราก็ใช้แต่เฉพาะในเขตเทศบาล เขตชุมชนเมืองและ ค่อย ๆ ขยายขึ้น การที่จะใช้

บังคับในที่ไหน เมื่อไหร่ ก็จะมีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าจะให้   ทำอย่างไร

โครงสร้างของกฎหมายประการที่ ๖ คือคำนิยาม ถามว่า

กฎหมายจำเป็นต้องมีคำนิยามไหม  ก็ตอบว่าไม่จำเป็น  ถ้าไม่จำเป็นจะต้องทำก็ไม่ต้อง

ทำ  ถ้ามีความจำเป็นต้องทำก็ต้องทำคำนิยามนั้นทำไว้เพื่ออะไร  ทำไว้เพื่อวัตถุประสงค์

๒ อย่าง

วัตถุประสงค์ของการเขียนคำนิยามประการที่ ๑ คือทำให้เกิดความ

ชัดเจน ในความชัดเจนทำอย่างไร

ประการที่ ๑ คือการกำหนดขอบเขตของคำว่าหมายความว่าอย่างไร

ประการที่ ๒ คือขยายความให้กว้างขึ้น

ประการที่ ๓ คือจำกัดความหมายให้แคบเข้า

เราจะพบเห็นอยู่เสมอว่าคำบางคำบางทีเราก็ใช้จนน่าจะเข้าใจ แต่

เวลาไปเขียนกฎหมายก็ต้องไปเขียนคำนิยาม เพราะคำที่เราเข้าใจบางทีไม่ตรงกับ

กฎหมายต้องการให้เป็นเราก็ต้องไปเขียนคำนิยามให้เกิดความชัดเจนว่ามีความหมาย

ว่าอย่างไร ตัวอย่างในพระราชบัญญัติ    คนต่างด้าว  เขานิยามคำว่าคนต่างด้าว หมาย

ความว่าบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ถามว่าถ้าไม่นิยามอย่างนี้แล้วจะทำให้เกิดความเข้า

ใจผิดได้ไหม ตอบว่าอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ คนบางคนเกิดมายังไม่เคยเข้า

แผ่นดินไทยเลย พูดภาษาไทยก็ไม่ได้  อาจจะไม่ใช่คนต่างด้าวก็ได้ เด็กที่เกิด  ในต่าง

ประเทศอายุยังไม่ถึง ๒๑ ปี ยังไม่ได้เลือกสัญชาติ ถ้าถามเราว่าคนนั้นเป็นคนต่างด้าว

ไหม  ใน sense ธรรมดา  เราก็จะนึกว่าเขาเป็นคนต่างด้าว แต่ในความหมายของ

กฎหมายไม่ใช่ตราบเท่าที่เขายังมีสัญชาติไทยถึงแม้เขาจะมีสัญชาติอื่นเขาก็ยังไม่ใช่เป็น

คนต่างด้าว  หรือในกรณีที่เขาทำความชัดเจนด้วยวิธีขยายความให้กว้างขึ้น เขาอาจจะ

นิยามว่า  เป็ดให้หมายความรวมถึงไก่ คือเขาขี้เกียจเขียนคำว่าเป็ดและไก่ นกให้หมาย

ความรวมถึงค้างคาว นั่นก็แปลว่าขยายให้กว้างขึ้น หรือทำให้แคบเข้า เช่น พระราช

บัญญัติคุ้มครองสัตว์ป่า เขาอาจจะไม่ต้องการคุ้มครองสัตว์ป่าทุกชนิดก็ได้  เขาก็

กำหนดว่าสัตว์ป่าหมายความเฉพาะดังต่อไปนี้ ก็หมายความแค่นั้น อย่างอื่นถึงแม้จะ

เป็น   สัตว์ป่าก็แปลว่าไม่ได้อยู่ในความหมายของกฎหมายนั้น

วัตถุประสงค์ของการเขียนคำนิยามประการที่ ๒ คือการหลีก

เลี่ยงการใช้ถ้อยคำยาว ๆ หรือซ้ำ ๆ กัน เช่น ถ้าเราจะต้องเขียนว่าสำนักงานคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการทุกคำทุก

ครั้ง เราคงเหนื่อยตาย เขาก็ทำคำย่อสำนักงาน    ให้หมายความว่าสำนักงานคณะ

กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบใน  วงราชการ คณะ

กรรมการ ให้หมายความว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและ

ประพฤติมิชอบในวงราชการ เวลาจะเขียนกฎหมายต่อไปก็ใช้คำว่า สำนักงาน และคณะ

กรรมการ  แต่คำนิยามเหล่านี้ต้องเข้าใจว่า  เมื่อนิยามอยู่ในกฎหมายใดก็ใช้เฉพาะใน

กฎหมายนั้น  อย่าไปนึกว่ามีกฎหมายนิยามแล้วจะไปใช้ได้กับกฎหมายอื่น ๆ ไม่ได้ 

เพราะถ้าไปถึงพระราชบัญญัติว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานที่ว่านั้นไม่ได้

หมายความว่าสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิ

ชอบในวงราชการ  กลายเป็นสำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินไปแล้ว หรือ

มหาวิทยาลัยถ้าอยู่ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็จะหมายถึง

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือมหาวิทยาลัยถ้าอยู่ในพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัยก็หมายถึงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำนิยามในกฎหมายแต่ละฉบับก็ใช้

เฉพาะฉบับนั้น ถามว่ามีบ้างไหมที่คำนิยามในกฎหมายหนึ่ง  จะเอาไปใช้กับอีก

 

กฎหมายหนึ่ง ตอบว่าเอาไปโดยตรงไม่มี แต่ในเชิงแปลความจะตีความกฎหมายอาจนำ

ไปใช้ได้ถ้ากฎหมายนั้นเกี่ยวเนื่องใกล้เคียงกัน และกฎหมายที่เราจะตีความไม่มีคำ

นิยามไว้  และหาที่ใดก็ไม่ได้ก็อาจจะไปอ้างอิงกฎหมายที่ใกล้เคียงตามหลักการตีความ

ที่ให้ดูกฎหมายใกล้เคียงกันก็เอามาประยุกต์ตีความได้ แต่ว่าใช้โดยตรงทีเดียวคงไม่ได้ 

ถามว่าในการเขียนคำนิยามก็มีวิธี  ซึ่งหลักเกณฑ์ค่อนข้างจะยาว

หลักเกณฑ์ประการที่ ๑  การที่เราจะเขียนคำนิยามต้องนึกไว้เสมอ

ว่า เมื่อมีเหตุ  ๒ อย่างที่พูดถึงวัตถุประสงค์เกิดขึ้นคือ ๑  เมื่อต้องการทำให้เกิดความชัด

เจนหรือ ๒ ต้องการจะหลีกเลี่ยงคำซ้อน ๆ กัน  จะเขียนคำนิยามก็ต้องเพื่อวัตถุประสงค์

๒ ประการนี้ไม่ใช่เขียนเพื่อโก้หรือเขียนเพื่อให้มีคำนิยาม  ถ้าไม่มีความจำเป็นใน ๒

ประการนั้นก็ไม่ต้องเขียน

หลักเกณฑ์ประการที่ ๒  ต้องใช้คำเดียวกันตลอดไปทั้งพระราช

บัญญัติ เมื่อนิยามคำนั้นแล้ว เมื่อจะมุ่งหมายให้หมายความอย่างนั้น ต้องใช้คำนั้นไป

ตลอด จะไปเปลี่ยนเพื่อความสวยงามในภายหลังไม่ได้ ที่สำคัญก็คือว่าเวลาที่เขามีการ

แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายในภายหลัง      ต้องนึกเสมอว่ากฎหมายตัวต้นเขียนคำนิยามไว้

ว่าอย่างไร  เราต้องการตามนั้นหรือไม่ถ้าไม่ต้องการต้องรีบเปลี่ยนคำนิยาม ต้องไปเขียน

คำนิยามขึ้นมาใหม่ หรือแก้ไขเพิ่มเติมคำนิยามเดิมเสียให้  สอดคล้องกัน เพราะฉะนั้น

คำนิยามที่ได้นิยามไว้แล้วทั้งพระราชบัญญัติจะต้องใช้อย่างเดียวกัน

หลักเกณฑ์ประการที่ ๓  คำที่มีความหมายชัดเจนอยู่แล้ว ถูกต้อง

ตามเจตนารมณ์และตามวัตถุประสงค์ของเราแล้วไม่ต้องเขียนคำนิยาม

หลักเกณฑ์ประการที่ ๔  อย่างนำคำที่มีความหมายอย่างหนึ่ง

แล้วมานิยามให้มีความหมายอีกอย่างหนึ่ง เช่น คนให้หมายความรวมถึงสัตว์ หรือสัตว์

ให้หมายความรวมถึงคน    เขาไม่ทำกัน ถามว่าทำไมถึงไม่ทำ เพราะจะทำให้ผู้อ่านสับ

สน แล้ววันหนึ่งผู้ร่างเองก็จะสับสนด้วย เคยมีคำนิยามในกฎหมายพัฒนาที่ดิน เขา

นิยามคำว่าดินว่าอย่างนี้ ดินหมายความรวมถึงหิน กรวด ทราย แร่ธาตุ น้ำ และอินทรีย์

วัตถุต่าง ๆ ที่เจือปนในเนื้อดินด้วย ถามว่าคำไหนที่มีความหมายคนละอย่างแล้วมา

นิยามรวมกัน คำว่าน้ำ ดินกับน้ำคนละธรรมชาติ เวลาเรานึกถึงดินจะไม่นึกถึงน้ำ คน

ร่างก็คิดอย่างเดียวกับเรา เวลานึกถึงดินก็จะไม่นึกถึงน้ำเพราะฉะนั้นเมื่อเขานิยามคำต่อ

ไป เขานิยามคำว่า การพัฒนาที่ดิน เขาก็ไปเขียนว่าหมายความว่า การกระทำใด ๆ ต่อ

ดินหรือที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและหมายความรวมถึงการปรับปรุงดินหรือที่ดินที่ขาด

ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ และการอนุรักษ์ดินและน้ำ นี่แปลว่าเขาลืมไปแล้วว่า

เขานิยามคำว่าดินให้รวมถึงน้ำ  เพราะฉะนั้นเวลาที่เขาจะเขียนต่อไป โดยธรรมชาติ

สามัญสำนึกของคนก็จะไม่นึกถึงน้ำ  เวลาไปเขียนใหม่จะไปนึกว่าถ้าเราเขียนถึงดิน

เดี๋ยวจะไม่รวมถึงน้ำก็ใส่คำว่าน้ำลงไป นั่นก็จะเห็นถึงความผิดพลาดของการใช้คำ

นิยามที่ไปใช้คนละลักษณะ แต่ก็มีข้อยกเว้น บางทีเพื่อความสะดวกจริง ๆ แล้วอยู่ใกล้

 

เคียงกัน เช่นเขานิยามคำว่าเป็ดให้รวมถึงไก่เพราะอยู่ใกล้เคียงกัน ยังพอนึกได้ จริง ๆ ใน

เชิงร่างกฎหมายเขาจะไม่ค่อยทำหรอก ถึงแม้จะอนุโลมเขาก็จะไม่ค่อยทำ  เพราะเขาจะ

ใช้คำอื่น  เขาจะใช้ คำว่าสัตว์ปีก สัตว์ปีกให้หมายความรวมถึงเป็ด ไก่ ถ้าอยากได้นกก็

ใส่นกลงไป นกกระทา อะไรก็ใส่ลงไป

หลักเกณฑ์ประการที่ ๕  คำที่ใช้เพียงแห่งเดียวไม่ต้องนิยาม

เพราะจะขัดกับ  วัตถุประสงค์ของคำนิยาม คำนิยามต้องทำให้สั้นเข้า ถ้าเราทั้งนิยาม

ด้วย แล้วเขียนเพียงแห่งเดียวก็เขียนตรงนั้นเสียให้ชัดเจนแน่นอน

                        หลักเกณฑ์ประการที่ ๖  คำที่เราจะพบอยู่ในคำอธิบายของคำ

นิยามจะมีคำที่มีความหมายอยู่ ๒ คำ คำว่า “หมายความว่า” กับคำว่า “หมายความ

รวมถึง” คำว่า “หมายความว่า” หมายความว่าคำที่อยู่ต่อท้ายคำว่า “ว่า” คือความ

หมายที่แท้จริง และมีเพียงเท่านั้น  ถึงคำต้นจะมีความหมายว่าอย่างไรในเชิงภาษา

ธรรมดา ความหมายนั้นก็จะหมดสิ้นไป  เช่น สัตว์หมายความว่า ช้าง ม้า วัว ควาย คำ

ว่าสัตว์ในเชิงภาษาแปลว่าสัตว์ทุกชนิดที่ไม่ใช่มนุษย์ แต่ทันทีที่เขียนว่าอย่างนี้ คำว่า

สัตว์หมายความว่า ช้าง ม้า วัว ควาย คำว่าสัตว์ในที่นั้นจะแปลแต่เพียงว่าช้าง ม้า วัว

ควาย   ไม่รวมถึงสิ่งอื่นอีกเลย แต่ถ้าเมื่อไหร่เราใช้คำว่า “หมายความรวมถึง” ความ

หมายเดิมจะยังอยู่แล้วรวมไปถึงสิ่งที่ระบุต่อจากนั้นไปด้วย เช่น คนหมายความรวมถึง

ช้าง ม้า วัว ควาย อย่างนั้น คำว่าคนความหมายเดิมจะยังอยู่ แต่ในกฎหมายนั้นจะรวม

ไปถึงช้าง ม้า วัว ควายด้วย ซึ่งจะต่างกับกรีแรก กรณีที่เขาจะใช้ “หมายความรวมถึง”

เขาใช้ได้ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งก็คือเพื่อให้ include สิ่งซึ่งปกติไม่ include หรืออย่างที่ ๒ ก็

เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนในเชิงเป็นตัวอย่างว่าที่จริงในหลักการร่างกฎหมายเขาจะไม่

ทำ แต่ดูกฎหมายทั่วไปแล้วก็จะมี เพราะแทนที่เขาจะยกเป็นตัวอย่าง เขาต้องใช้คำว่า

เช่น สัตว์ หมายความว่า สัตว์ทุกชนิด เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ก็แปลว่าทำให้คนเห็นภาพ

ว่ามุ่งหมายไปที่อะไร

                        หลักเกณฑ์ประการที่ ๗ การจะเขียนคำนิยามได้โดยปกติคำนิยาม

จะมิใช่เป็น    คำธรรมดาที่จะเข้าใจได้ง่าย ๆ และมักจะเป็นคำทางเทคนิค เพราะฉะนั้น

ผู้ร่างจะต้องเข้าใจเทคนิคนั้น ๆ ให้ชัดเจนพอที่จะรู้ว่าวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้นจะ

ครอบคลุมไปถึงไหนอย่างไร ถ้าไม่รู้เรื่องเทคนิค ซึ่งปกตินักกฎหมายก็จะไม่รู้ก็ต้องไป

ศึกษาจากคนซึ่งเขาเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น เพราะคนเหล่านั้นเขาจะอธิบายได้ว่าความมุ่ง

หมายของเขาอยู่ที่ตรงไหน ยกตัวอย่างเช่น คำว่ากฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า ถามว่า

เวลาที่เราพูดกันถึงโรคพิษสุนัขบ้า เรานึกถึงอะไร ถ้าให้เราเขียนเราเขียนไม่ถูกหรอก แต่

เมื่อเราไปถามพวกหมอที่เขายุ่งอยู่กับหมาเราจะได้คำตอบที่ชัดเจนมองเห็นภาพ เขา

เขียนว่าอย่างไรรู้ไหม เขาเขียนว่าโรคพิษสุนัขบ้าหมายความว่าในกรณีของสุนัขอาการที่

สุนัขนั้น ดุร้าย วิ่งเพ่นพ่าน กัดสิ่งกีดขวางหรือเซื่องซึม ซุกตัวในที่มืด ปากอ้า ลิ้นห้อย

และสีแดงคล้ำ น้ำลายไหล หรือขาอ่อนเปลี้ยเดินโซเซ และในกรณีของสัตว์ควบคุมอื่น

 

อาการตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ในกรณีของหมามองเห็นภาพเขาอธิบายแจ่มแจ้ง

เลย แต่ถามว่าถ้ามองในแง่ของการเขียนกฎหมาย ตามหลักที่พูดมาตั้งแต่ต้นฟุ่มเฟือย

ไหม ดูค่อนข้างฟุ่มเฟือยแต่ไม่มีทางเลี่ยง เพราะเป็นอาการที่เขาอธิบายให้ฟังเพื่ออะไร

เพราะกฎหมายนี้จะใช้กับคนทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนมีความรู้หรือไม่มีความรู้ ใครที่มีหมา

ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะต้องนำมาฉีดยา ใครที่เห็นหมาที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ามีหน้าที่จะ

ต้องไปบอกเจ้าหน้าที่ เพราะฉะนั้นเขาต้องเขียนอะไรที่คนธรรมดาทั่ว ๆ ไปมองภาพออก

เวลาที่เขาเขียนเรื่องนี้เขาถึงเขียนละเอียด แล้วก็ไม่ต้องสงสัยกันอีก แต่ถ้าเป็นสัตว์อื่น

ถ้าเป็นแมวซึ่งก็อาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ เขาก็ให้อธิบดีประกาศกำหนดในภายหลัง

หลักเกณฑ์ประการที่ ๘  บางกรณีคำนิยามที่เราเขียนไว้ไม่แน่หรอ

กว่าเราจะนึกได้หมด เพราะฉะนั้นถ้าเกิดกรณีอย่างนั้นขึ้น โยนต่อไป เรียกว่า sub-

delegate ออกไปให้คนที่เขารู้เรื่องจริงไปกำหนดขึ้นในภายหลัง เช่น กรณีพิษสุนัขบ้า ใน

กรณีของสัตว์ควบคุมอื่นอาการตามที่อธิบดีประกาศกำหนด แปลว่า อธิบดีเขาจะไป

กำหนดทีหลังว่าอย่างไรจึงจะเรียกว่าโรคพิษสุนัขบ้า แต่ในการมอบอำนาจต่อไปนี้จะ

มอบอำนาจลอยไปเลยได้หรือไม่ ก็ตอบว่าถ้าเป็นนักร่างกฎหมายที่ดีเขาจะไม่ทำอย่าง

นั้น เพราะว่าการทำอย่างนั้นจะทำให้ผู้ใช้กฎหมายไม่รู้เลยว่าคืออะไร จนกว่าอีกคนหนึ่ง

จะมาพูด อีกคนหนึ่งจะไปกำหนดขึ้น แล้วเวลากำหนดก็จะไม่มีเงื่อนไขอะไร จะไป

กำหนดอย่างไรก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะพูดถึงดาวฤกษ์ ถ้าเรานิยามในขณะนี้เราก็

บอกว่า  ดาวฤกษ์คือวัตถุที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา ถามว่าเวลา

เราอ่านกฎหมายฉบับนี้เรานึกถึงดาวฤกษ์ว่าอย่างไร  จิตใต้สำนึกเราอาจจะนึกถึงสิ่งที่

อยู่บนท้องฟ้าแต่ถามว่าอำนาจที่ให้ไปกำหนดสิ่งที่อยู่บนท้องฟ้าไหมก็ตอบว่าไม่  วันดี

คืนดีรัฐมนตรีอาจจะกำหนดว่า  เก้าอี้คือดาวฤกษ์ถามว่าผิดกฎหมายไหมก็ตอบว่าไม่ผิด 

คนคือดาวฤกษ์ หมาเน่าที่ลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาคือดาวฤกษ์  ที่ร้ายก็คือว่าเมื่อเรา

อ่านกฎหมายทั้งฉบับแล้วเราจะไม่รู้เลยว่ากฎหมายนี้จะไปใช้กับอะไร เพราะฉะนั้นใน

หลักจึงไปจะต้องเขียนคำนิยามเป็นเงื่อนไขพอที่จะให้คนรู้ว่าหมายถึงอะไรคร่าว ๆ  แล้ว

ในรายละเอียดจึงกำหนด  เช่น  ในเรื่องดาวฤกษ์เราอาจจะเขียนว่าหมายความว่าวัตถุที่

มีแสงสว่างในตัวเองที่อยู่ในอวกาศตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด  อย่างนี้เราพอจะนึก

ออก  พอเห็นเราก็จะรู้ว่ากฎหมายนี้คงจะเกี่ยวกับสิ่งที่ลอยอยู่บนท้องฟ้า อะไรที่มีแสง

สว่างในตังเองรัฐมนตรีก็กำหนดให้เป็นดาวฤกษ์ได้  แต่ไม่ได้หมายความสิ่งที่มีแสงสว่าง

ในตัวเองที่ลอยอยู่ในอวกาศทุกดวงจะเป็นดาวฤกษ์  จะเป็นดาวฤกษ์ก็ต่อเมื่อรัฐมนตรี

ประกาศกำหนด นี่ก็เป็นหลักเกณฑ์ของกฎหมายในการเขียน    คำนิยามว่าจะต้องยึด

หลักอะไรกันบ้าง

โครงสร้างของกฎหมายประการที่   คือผู้รักษาการและอำนาจ

ของผู้รักษาการ  ถามว่าทำไมกฎหมายถึงต้องมีผู้รักษาการ  การที่เขากำหนดให้มีผู้

รักษาการขึ้นก็เพื่อวัตถุประสงค์    ประการ

ประการที่    เพื่อกำหนดภาระหน้าที่ของกระทรวงและของรัฐ

มนตรีผู้รับผิดชอบให้รู้ว่าใครจะต้องทำอะไร  อยู่ในภาระหน้าที่ของกระทรวงไหน

ประการที่   เพื่อความสะดวกแก่ประชาชนที่จะติดต่อว่าจะต้อง

ไปติดต่อที่ไหน                       

ประการที่    เพื่อความสะดวกของรัฐสภาในการที่ควบคุมการ

บริหารราชการแผ่นดินจะรู้ว่าจะไปตั้งกระทู้ถามใคร  เวลางานบกพร่องจะไปอภิปรายไม่

ไว้วางใจใคร

โดยหลัก    ประการนี้จึงเป็นเหตุให้จำเป็นต้องมีผู้รักษาการและใน

ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการกำหนดอำนาจของผู้รักษาการในการตราอนุบัญญัติไปในตัว

ด้วย  เช่น  เวลาเราพูดถึงกฎกระทรวง  นักกฎหมายต้องรู้ทันทีว่ารัฐมนตรีเป็นผู้ออกกฎ

กระทรวง  อธิบดีเป็นผู้ออกประกาศของกรม  ปลัดกระทรวงเป็นผู้ออกประกาศหรือข้อ

กำหนดของกระทรวง  ถามว่าคนเหล่านั้นเขามีอำนาจมาจากไหน ก็ตอบว่าในกฎหมาย

ทุกฉบับจะบอกไว้ว่า เช่น ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการตราพระ

ราชบัญญัตินี้  และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดการนั้น ๆ  เขาจะบอกไว้เสร็จ

แล้วเป็นคำสั่งซึ่งจะใช้ตลอดเวลา  นั่นคือการสร้างอำนาจของรัฐมนตรีในการที่จะออก

อนุบัญญัติขึ้นไว้ ในระยะหลังการกำหนดผู้รักษาการค่อนข้างจะเปลี่ยนความหมายไป

บ้างตรงที่ว่า ไปกำหนดบุคคลซึ่งมิใช่เป็นตำแหน่งทางการเมืองให้เป็นผู้รักษาการ  โดย

นึกว่าบุคคลเหล่านั้นจะได้เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายนั้น  แต่ถาม

ว่าแล้วรัฐสภาจะควบคุมอย่างไรเมื่อคนเหล่านั้นไม่ใช่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 

การตั้งกระทู้ถามจะตั้งกระทู้ถามกับใคร  การอภิปรายไม่ไว้วางใจจะอภิปรายกับใคร สิ่ง

เหล่านี้ยังเป็นคำถามที่ยังตอบไม่ได้เพราะว่าหลักเดิมได้ถูกเปลี่ยนแปลงไปแล้ว การ

เขียนบทบัญญัติว่าด้วยผู้รักษาการนั้น กฎหมายจะเขียนในที่ที่ไม่ค่อยเหมือนกัน 

กฎหมายบางฉบับก็เขียนอยู่ข้างหน้า  บางฉบับก็ไปอยู่ข้างท้าย  แต่ถ้าไปดูแล้วส่วน

ใหญ่จะอยู่ข้างหน้า  คือทันทีที่จบบทบัญญัติว่าด้วยคำนิยามก็จะมีบทบัญญัติว่าด้วยผู้

รักษาการ

โครงสร้างของกฎหมายประการที่    การยกเลิกกฎหมายเก่า 

ถ้าเป็นกฎหมายที่ออกมาใหม่ก็ไม่มีเหตุอะไรที่จะต้องไปยกเลิกกฎหมายเก่า ถ้าเป็น

กฎหมายที่มีกฎหมายเดิมอยู่แล้ว  ผู้ร่างก็จะต้องถามว่าจะทำอย่างไรกับกฎหมายเดิม

จะทิ้งเอาไว้หรือจะยกเลิกเสีย ในการยกเลิกมี ๓ วิธี

วิธีที่ ๑  คือ  ระบุตัวกฎหมายที่จะยกเลิกโดยตรงรวมทั้งบทบัญญัติ

ทุกฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายนั้น

วิธีที่    คือ  เขียน  Sweeping clause  บทบัญญัติของกฎหมาย

ใดถ้าขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ให้เป็นอันยกเลิกและใช้เป็นพระราชบัญญัตินี้แทน

นี่คือ  Sweeping clause แปลว่าผู้ร่างไม่รู้กฎหมายอยู่ที่ไหน ซึ่งบางกรณีจำต้องมี  แต่

ส่วนใหญ่ที่ใช้กันนั้นมักจะใช้เพราะ     ขี้เกียจไปดูว่ามีอยู่ที่ไหน และผลบางทีก็ไปไกล

 

เกินกว่าที่เราต้องการ เพราะบทบัญญัติแห่ง       กฎหมายในแต่ละเรื่องบางทีครอบคลุม

ไปถึงสิ่งซึ่งเรานึกไม่ถึง  และสิ่งที่เรานึกไม่ถึงนั้นไปมีอยู่ในพระราชบัญญัติอื่น ๆ  อีก

หลายแห่ง  แล้วถ้าเราไปเขียนบอกว่าบรรดาตัวบทกฎหมายใดถ้าขัดหรือแย้งหรือกับ

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน  แปลว่าไปยกเลิกของที่เขาใช้อยู่แล้วโดย

ที่เราไม่ได้ตั้งใจ  โดยหลักของนักร่างกฎหมายที่ดีจะต้องตรวจสอบดูว่ากฎหมายที่เราไม่

พึงประสงค์นั้นมีอยู่ที่ไหน  ชื่ออะไร  แล้วก็เขียนลงไปให้ชัดเจนว่าจะยกเลิก  หรือจะปรับ

ปรุงแก้ไข

วิธีที่ ๓ อีกหนทางหนึ่งที่เขาทำกันก็คือนอกจากระบุกฎหมายที่เขา

จะยกเลิกชัดเจนแน่นอนแล้วยังมี  Sweeping clause  ต่อท้าย  คือกลัวหมดก็ใส่ต่อท้าย

เข้าไปอีก นั่นก็เป็น ๓ วิธีที่เขาเขียนกันแบบที่ดีที่สุดคือแบบที่ระบุลงไปให้ชัดเจนว่า

กฎหมายใดที่เราประสงค์จะยกเลิก      บางกรณีอาจจะไม่ยกเลิกทั้งฉบับ  อาจจะยกเลิก

บางมาตรา

โครงสร้างของกฎหมายประการที่    คือ  สาระสำคัญของ

กฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องยากที่สุด  เพราะว่าตัวกฎหมายนั้น  หัวกับท้ายนั้นเป็นโครง

สร้างเชิงรูปแบบ  ซึ่งเมื่อศึกษาแล้วก็จะเขียนได้ถูกต้อง  แต่วิธีการเขียนสาระสำคัญของ

กฎหมายนั้นเรียนรู้ได้ยาก  เพราะกฎหมายทุกฉบับจะมีวัตถุประสงค์และกระบวนการที่

แตกต่างกัน  ถามว่านักร่างกฎหมายเขาจะต้องนึกอะไรบ้างเวลาที่เขาเขียนสาระสำคัญ

ของกฎหมาย  หลักที่จะต้องระมัดระวังมีอยู่    ประการ

ประการที่    ต้องไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญ  ต้องนึกอยู่ตลอดเวลาว่า

รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ว่าอย่างไร  และเมื่อเราจะเขียนกฎหมาย  กฎหมายนั้นจะต้องไม่

ขัดกับรัฐธรรมนูญ   อย่างไรจึงจะเรียกว่าขัดกับรัฐธรรมนูญ  คือไม่สอดคล้องกับที่รัฐ

ธรรมนูญไว้  หรือไม่ตรงตามเงื่อนไขที่ รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เช่น  ถ้าเราไปดูในเรื่องที่ว่า

ด้วยสิทธิและเสรีภาพของประชาชนชาวไทย  เราจะเห็นว่าสิทธิและเสรีภาพบางประการ

เป็นสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานที่เด็ดขาด ออกกฎหมายมาไม่ได้เลย  สิทธิและเสรีภาพบาง

ประการก็เป็นสิทธิและเสรีภาพที่มีอยู่โดยมีเงื่อนไขว่ารัฐอาจจะออกกฎหมายมาจำกัดได้

บางประการ  พวกที่    คือสิทธิและเสรีภาพที่จะมีต่อเมื่อมีกฎหมายกำหนดให้มีขึ้น ถ้า

เป็นประเภทแรกเราไปออกกฎหมายไปทำอะไรไม่ได้รัฐธรรมนูญว่าอย่างไรก็ปล่อยไป

ตามนั้นจะออกกฎหมายอะไรมาไม่ได้เลย  ประเภทที่    ออกกฎหมายมาได้บ้างตาม

เงื่อนไขที่   รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้บางกรณีก็กำหนดไว้

ค่อนข้างเจาะจงบางกรณีก็ไม่เจาะจงเลย  ซึ่งถ้ามองในสายตานักกฎหมายสิทธิและเสรี

ภาพเช่นว่านั้นก็ไม่ได้มีอยู่จริง  ยกตัวอย่างเช่น  บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิต

และร่างกาย  ถ้าฟังอย่างนี้ก็ค่อนข้างจะเด็ดขาด  แปลว่าอย่างอื่นเด็ดขาด  ดูวรรคสาม 

การจับกุม  คุมขัง  ตรวจค้นตัวบุคคลหรือการการะทำใดอันกระทบสิทธิและเสรีภาพ

ตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย 

 

อย่างนี้แปลว่าเราออกกฎหมายมาทำอย่างไรก็ได้เพราะไม่มีเงื่อนไข  ถ้าเป็นกรณีที่มี

เงื่อนไข  เช่นบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การ

ตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อถึงกันรวมทั้งการการกระทำอื่น

ใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกันจะกระทำมิได้ เว้น

แต่โดยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของของรัฐหรือ

เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน แปลว่าเราออกกฎหมาย

ได้แต่เฉพาะเพื่อ ๓ ประการนี้เท่านั้น อย่างอื่นออกไม่ได้ ถ้าเป็นกรณีแรกออกได้หมดจะ

ออกอย่างไรก็ได้ตราบเท่าที่ฝ่ายนิติบัญญัติเขายอมให้ออก  สิทธิที่จะมีต่อเมื่อมี

กฎหมายบัญญัติขึ้น เช่น การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ถ้าไม่ได้ใช้เพื่อการที่กำหนดเอาไว้

ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรคสาม  และการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป

ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ  อย่างนี้แปลว่าสิทธินั้นจะมีต่อเมื่อมีกฎหมายขึ้น ถ้า

ไม่มี สิทธินั้นก็ยังไม่มีหรือสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง  ทั้งนี้

ตามที่กฎหมายบัญญัติแปลว่าเราจะได้รับความคุ้มครองต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติ 

บังเอิญมีอยู่แล้วถ้าไม่มีก็แปลว่ารัฐธรรมนูญไปลิดรอนสิทธิที่เรามีอยู่โดยธรรมชาติ  แปล

ว่าต้องไปออกกฎหมายเสียก่อนเราถึงจะได้รับความคุ้มครอง  เพราะฉะนั้นเวลาเขียน

กฎหมายจึงต้องนึกถึงว่าเราต้องการอะไร  แล้วต้องเขียนให้เป็นอย่างนั้น    สิ่งที่เรา

ต้องการนั้นไปลดสิทธิที่มีอยู่แล้วหรือต้องการเพิ่มสิทธิเพราะวิธีเขียนจะเขียนกันคนละ

อย่าง  นั่นคือหลักที่นักกฎหมายจะต้องคิดประการที่    กฎหมายนั้นต้องไม่ขัดกับรัฐ

ธรรมนูญ

ประการที่    สาระของกฎหมายนั้นต้องมีลักษณะเป็นการทั่วไป

ไม่เจาะจงบังคับเฉพาะบุคคลใดบุคคลหนึ่ง  หลักนี้บังเอิญในรัฐธรรมนูญปัจจุบันได้

เขียนเพิ่มไว้ แต่จริง    ถึงแม้เดิมไม่ได้เขียนไว้ก็เป็นหลักที่นักร่างกฎหมายต้องยึดถืออยู่ 

คือเราจะออกกกฎหมายมาเพื่อใช้กับคนบางคนเท่านั้นไม่ได้  ถามว่าแล้วเคยมีไหมออก

กฎหมายมาเพื่อใช้เพื่อใช้กันคน ๆ เดียว มีแล้วก็บังเอิญไม่มีใครทักท้วง กรณีนั้นก็เป็น

กรณีนโยบายของรัฐบาลเขาเป็นอย่างนั้น คือเวนคืนที่ดิน   เวนคืนมาหมดแล้วตลอด

๓๐๐ กิโลเมตร เหลืออยู่รายเดียว ทุกคนเขารับเงินไปหมดแล้วตารางวาละ ๓๐๐ บาท

เหลือรายนี้รายเดียว ทำให้เสียเงินในการรอคอยไปอีก ๓๐๐ ล้านบาท ในที่สุดก็ต้องออก

กฎหมายเวนคืนเฉพาะรายนี้ กฎหมายเวนคืนระบุว่าให้ระบุเจ้าของที่ดินที่จะเวนคืน ถ้า

ใน   พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มิได้กำหนดค่าตอบแทนไว้เป็นอย่างอื่นให้

จ่ายค่าตอบแทนตามราคาที่เป็นธรรมและราคาในท้องตลาด พระราชบัญญัติ

อสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นก็กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นโดยกำหนดว่าให้จ่ายค่าทดแทนให้ใน

ราคา ตารางวาละ ๓๐๐ บาท เพราะฉะนั้นเมื่อคนอื่นได้รับ ๓๐๐ บาทไปเมื่อ ๑๕ ปีที่

แล้ว ก็มีความหมาย พอมาถึง ๑๕ ปีถัดมาได้รับไป ๓๐๐ บาท  ก็หมดความหมายทันที

ว่าที่จริงในหลักนิติธรรมกฎหมายนั้นก็ไม่ถูกเพราะมีอคติในการออกกฎหมายเพื่อตอบ

 

โต้คน ๆ  นั้น แต่ถ้าคิดในแง่ของความเป็นธรรมในความรู้สึกของชาวบ้าน คนจะเกิดรู้สึก

ว่าถ้าเรายอมดี ๆ ทุกคนได้ ๓๐๐ บาท ถ้าเราดื้อทำให้รัฐเสียหายไป ๓๐๐ ล้านบาท

กลับได้ ๓๐,๐๐๐ บาท ความเสมอภาคก็จะไม่เกิดขึ้น ก็ต้องเป็นการชั่งน้ำหนักของรัฐ

บาลว่าจะถือหลักอะไร อะไรจะเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความรู้สึกยอมรับได้ของสังคม

เพราะฉะนั้นโดยทั่ว ๆ ไป เราจะไม่ออกกฎหมายเพื่อใช้เจาะจงกับใครเว้นแต่เป็นกติกาที่

วางไว้ชัดเจนแน่นอน เช่น พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อย่างนี้ เขากำหนดไว้

ชัดเจน

ประการที่   สาระสำคัญของกฎหมายต้องมีความเป็นธรรมหรือ

อยู่ในกรอบแห่งหลักนิติธรรม  คนละอย่างกับยุติธรรม  ยุติธรรมสุดสิ้นกระบวนความ

โดยชอบแล้วก็ถือว่ายุติธรรม แต่ถามว่าบางกรณีเป็นธรรมไหม ไม่เป็นธรรม แต่ถามว่า

ศาลทำให้เกิดความเป็นธรรมอย่างนั้นได้หรือไม่ ตอบว่าทำได้ยาก เพราะศาลก็จะอยู่

ภายใต้บังคับของกระบวนการในการพิจารณาและการรับฟังพยานหลักฐาน  แต่ว่าใน

การร่างกฎหมายทำให้เกิดความเป็นธรรมได้หรือไม่  ตอบว่าได้ เพราะอยู่ที่คนเขียนจะ

เขียนอย่างไรถ้านึกถึงหลักนิติธรรม  และความเป็นธรรมอย่างแท้จริงแล้วเขียนกฎหมาย

ให้ดี ๆ ก็จะสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมได้แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ใช้กฎหมายใน

ภายหลังว่าจะไปใช้สม่ำเสมอคงที่หรือไม่

ประการที่   ไม่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว คือกฎหมายเป็น

บทบัญญัติที่ใช้บังคับกับคน  ใช้บังคับกับพฤติกรรมของคนที่ออกมาบังคับในเรื่องหนึ่ง

ฉบับหนึ่งก็หนักหนาสาหัสพออยู่แล้ว ถ้าขืนมีมาก ๆ คนก็จะไม่รู้ว่าแล้วจะต้องปฏิบัติ

ตามฉบับไหน  ซึ่งบางทีก็ไม่เหมือนกัน  กำหนดกฎเกณฑ์ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นนัก

ร่างกฎหมายที่ดีเวลาจะพิจารณาสาระสำคัญของกฎหมายจะต้องไปตรวจสอบ

กฎหมายเก่าทั้งหมดว่ามีอยู่อย่างไร สมควรจะปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ของใหม่ควรจะให้

มีวิวัฒนาการอย่างไร

 ประการที่    ต้องเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ  ทั้งฝ่ายผู้ถูกบังคับและ

ฝ่ายที่จะบังคับการตามกฎหมาย  ถ้าเราเขียนกฎหมายแล้วคนปฏิบัติเขาปฏิบัติไม่ได้ 

เขียนไปก็จะมีแต่คนฝ่าฝืน  ถูกลงโทษ  และเป็นที่มาแห่งคอร์รัปชั่น  เพราะเมื่อคน

ปฏิบัติไม่ได้ คนก็จะถูกจับแล้วก็ในที่สุดจะเกิดการเลือกที่รักมักที่ชังขึ้น กฎหมายเป็น

จำนวนมากที่ครึ่งหนึ่งออกมาปฎิบัติได้แต่ต่อมาเมื่อพัฒนาขึ้น วิวัฒนาการก้าวไป เกิด

ปฏิบัติไม่ได้ก็มีเยอะ แล้วเราก็ไม่ได้ปรับปรุงแก้ไข ไปดูกฎหมายเรื่องป่าไม้เราจะพบว่า

เป็นกฎหมายที่เดี๋ยวนี้ปฎิบัติได้ยากมาก แล้วก็เป็นช่องว่างในการฝ่าฝืนกฎหมาย หรือ

เป็นช่องทางในการทำมาหากินมากขึ้น

ประการที่   ต้องไม่สร้างภาระให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนจนเกินสม

ควร บางที      ผู้ประสงค์อยากจะมีกฎหมาย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐมักจะนึกถึงความ

สะดวกของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นหลักมากกว่าจะนึกถึงว่าสิ่งเหล่านั้นเมื่อไปสร้างภาระให้

 

แก่ประชาชน แล้วคุ้มกับสิ่งที่ตัวได้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหน่วยราชการต้องการ

อยากจะรู้ว่าใครเขาทำการค้ากันที่ไหนแทนที่หน่วยราชการจะออกไปตรวจสอบ ก็จะ

ออกกฎหมายบังคับว่าทุกคนที่จะประกอบการค้าต้องมาจดทะเบียน กฎหมายนั้นก็จะ

ทำให้คนทุกคนในประเทศต้องเดินทางเข้ามาหาเจ้าหน้าที่เพื่อที่จะมาบอกให้     เจ้า

หน้าที่รู้ว่ามีคนค้าขายในประเทศกี่คน ซึ่งจริง ๆ เจ้าหน้าที่ขวนขวายนิดเดียวไปขอกรม

สรรพากรก็รู้ได้ พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์เป็นตัวอย่าง ใครจะทำการค้าจะต้องไป

จดทะเบียนพาณิชย์ ถามว่าใครทำการค้าเขาจดทะเบียนที่ไหนหรือเปล่า ต้องจดเพราะ

กรมสรรพากรเขากำหนดให้จดอยู่แล้ว  และนั่นเป็นส่วนสำคัญเพราะจะเก็บภาษีเขา

กฎหมายเหล่านั้นก็จะเป็นกฎหมายที่สร้างภาระให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนจนเกินกว่าเหตุ

แต่ว่ากฎหมายบางฉบับในขณะหนึ่งอาจจะไม่สร้างภาระแต่เมื่ออยู่ต่อมาอาจจะสร้าง

ภาระก็ได้ เราจะพบว่ามีกฎหมายเป็นจำนวนมากที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาในสังคม แต่วิธี

แก้ปัญหาในสังคมก็คือเหวี่ยงแหให้ทุกคนเข้ามาอยู่ในกรอบ เพื่อให้สังคมเดินไปตามที่

ต้องการ ทั้ง ๆ ที่นั่นไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด และไม่ใช่วิธีที่ประพฤติปฏิบัติได้ง่าย ยกตัวอย่าง

เช่น เราไม่อยากถูกมองว่าบ้านเมืองเราเป็นคนกินอยู่ฟู่ฟ่าไม่ระมัดระวังเที่ยวเตร่กันไม่มี

เวลา อาจจะก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมได้เราก็กำหนดกฎหมายว่าใครเปิดร้าน

อาหารต้องเปิดเวลานั้นเวลานี้ ถามว่าร้านอาหารที่เปิดภายในเวลาเท่านั้นเท่านี้แล้วต้อง

ปิดลง ถ้ายังขายได้มีร้านไหนที่ปิดบ้าง ก็ตอบว่าไม่มี  ที่ขายเกินเวลากันอยู่ประจำก็ต้อง

ให้เงินกับตำรวจเพื่อที่จะเปิดได้ต่อไป เพราะภาระนั้นเป็นภาระ  ซึ่งสวนทางกับทางทำ

มาหากินของเขา แต่กฎหมายนั้นก็จะยังอยู่ เพราะว่ายากที่เมื่อมีกฎหมายออกมาใช้

บังคับแล้วจะเลิกได้ง่าย ๆ บางทีสังคมก็ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่สร้างให้เกิดเป็นภาระนั้น คุ้ม

หรือไม่คุ้มและคนซึ่งอยู่นอกวงการก็จะไม่หันไปมองว่าแล้วคนในวงการนั้นเขาเดือดร้อน

เขาทุกข์ยาก    เขาเป็นภาระมากน้อยแค่ไหน เรากลัวว่าลูกเราจะออกไปเที่ยวเตร่ดึก ๆ

เราจึงอยากให้มีกฎหมายบังคับไม่ให้เปิดดึก ถามว่านั่นถูกต้องหรือไม่ ทำได้ง่ายกว่านั้น

ก็เราก็ห้ามลูกเราไม่ให้ไปเที่ยวดึกๆ ห้ามคนเดียว เรายังห้ามลูกเราไม่ได้ แต่เราอยากจะ

ให้มีกฎหมายไปห้ามคนทุกคนไม่ให้ประกอบอาชีพให้ดึก แล้วเราก็รู้ว่าทำไม่ได้ ตี ๒ เรา

ขับรถผ่านไปก็ยังเปิดอยู่ ถ้ายังขายได้ก็ยังเปิดอยู่ ถามว่าเปิดได้อย่างไร ก็ต้องจ่าย

กฎหมายถ้าออกมาเป็นภาระเกินกว่าเหตุก็คือการสร้างหนทางในการ  คอร์รัปชั่น สร้าง

หนทางให้คนเริ่มคุ้นเคยต่อการละเมิดกฎหมายเพราะรู้ว่าจะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ถ้าไม่

ละเมิดกฎหมาย และเมื่อคุ้นเคยต่อสิ่งนั้น แล้วต่อมาความจำเป็นที่จะต้องละเมิด

กฎหมาย  แม้จะไม่มีก็เกิดความคุ้นเคยที่จะต้องละเมิด และเกิดความภาคภูมิใจที่

ละเมิดได้แล้วไม่ผิด จะเห็นว่าบ้านเมืองเราที่เดือดร้อนกันทุกวันนี้ไม่ใช่อะไร เพราะเรา

เป็นคนไม่มีวินัย เราเป็นคนที่ไม่เคารพกติกา ถ้าเมื่อไหร่เราได้ใบสั่งเราก็เอาใบสั่งไปให้

เพื่อนเราได้  เราจะรู้สึกภาคภูมิใจทั้ง ๆ ที่น่าอายจะตายไป ทำไมเราถึงเป็นอย่างนั้น

เพราะว่ากฎหมายหลายฉบับเป็นกฎหมายที่บังคับให้ทำในสิ่งที่ทำไม่ได้แล้วก็ไม่ได้ปรับ

 

ปรุง ก็เกิดความคุ้นเคย เราจะมีความรู้สึกว่าใครขับรถตัดหน้าเรา แหมแย่จริง ๆ แต่ถ้า

เราขับรถตัดหน้าคนอื่นเราก็จะว่าทำไมใจดำไม่มีแก่ใจจะให้เราเข้าเสียหน่อยก็ไม่ได้

เพราะเราไม่รู้สึกถึงคุณค่าของกติกา แล้วเราเองก็จะลำบาก ถ้าบ้านเราอยู่ในซอยจะต้อง

เลี้ยวขวาเข้าซอย เพราะรถติดอยู่อีกฝั่งเราจะนึกหงุดหงิด เขาจะเว้นที่ให้เราเข้าซอย

หน่อยก็ไม่ได้ ถ้าเราเข้าซอยไปแล้วถนนก็จะโล่งก็จะไม่ติด เราจะต้องเปิดไฟเลี้ยวขวา รถ

ข้างหลังก็ติดกันเป็นแถว แต่ถามว่าในขณะที่รถติดแล้วแล่นไปอีกฝั่ง เราผ่านซอยถามว่า

เราเคยหยุดเว้นไหม ไม่เคยหยุด ข้างหน้าขยับนิด เราก็จี้ไปไม่เคยนึกเลยว่าเดี๋ยวเผื่อคน

ที่เลี้ยวขวาจะมา นั่นเป็นการสร้างกันจนเป็นอุปนิสัย  ถ้าเราไม่ปรับปรุงตรงนี้เราก็

ลำบาก เพราะเราก็ลำบาก เพราะว่ารัฐเองก็ต้องช่วย ต้องไม่ทำให้เกิดความ   คุ้นเคยต่อ

การละเมิดกฎหมายต้องไม่ออกกฎหมายมาในลักษณะที่ทำให้คนต้องละเมิดจึงจะดำรง

ชีวิตอยู่ได้ ถ้าออกกฎหมายในลักษณะนั้นมาเมื่อไหร่คนก็จะต้องละเมิดเพราะมิฉะนั้น

จะดำรงชีวิตอยู่ไม่ได้ กฎหมายเหล่านั้นนับวันก็จะมีมากขึ้น เพราะวิวัฒนาการของโลก

และสังคมเปลี่ยนแปลงไป

ประการที่   ไม่เป็นอุปสรรคในการประกอบกิจการที่แข่งขันกัน

เราจะพบว่าหลักในราชการของเราคือพยายามจะเข้าไปควบคุมดูแลกิจการทุกกิจการให้

เกิดความเป็นธรรมไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบกันขึ้น ใครจะทำอะไรจะต้องมาขอ

อนุญาตเสมอเพื่อรัฐจะได้ดูแลว่า     ผู้ที่มาขออนุญาตนั้นเป็นคนดี ทำถูกต้องตรงตาม

กติกา แต่ถามว่าจริง ๆ แล้วรัฐดูได้ไหมว่าเป็น  คนดี ถ้าเราจะเปิดร้านขายยา กฎหมายก็

กำหนดคุณสมบัติเอาไว้เยอะแยะมากมายรวมทั้งมีความเหมาะสมด้วยประการทั้งปวง

เจ้าหน้าที่ก็จะดูว่าเราเหมาะสมไหม ถามว่าเจ้าหน้าที่มารู้จักอะไรเราถึงจะรู้ว่าเหมาะสม

หรือไม่เหมาะสม ถามว่าดูวันนั้นวันเดียว แล้วเราจะไม่มีวันขายยาประเภท ก. ให้กับคน

เลยหรือ โดยไม่มีเภสัชกร ก็ตอบว่าไม่ ทันทีที่ได้รับใบอนุญาตทุกคนก็ขายยา มีเภสัชกร

ขึ้นป้ายไว้ อยู่หรือไม่อยู่ก็ขายได้ทั้งนั้น ถามว่าแล้วรัฐดูอะไร ไม่ได้ดูหรอกอยู่ไป ๓ ปีบอก

ว่ามาต่อใบอนุญาตใหม่ ถามว่าต่อทำไม จะได้ดูว่ายังดีอยู่หรือเปล่าก็ทั้ง ๓ ปีนั้นทำไม

ไม่ไปดู สิ่งเหล่านี้ก็เป็นอุปสรรคต่อการแข่งขัน พอทันทีที่โลกเริ่มเปลี่ยนเป็นโลกาภิวัฒน์

คนไม่มีพรมแดนในการทำมาหากิน ใครก็เข้ามาหากินในบ้านเราได้ ถึงแม้เราจะไปหา

กินในบ้านอื่นได้ขีดความสามารถเราก็ยังไม่ถึง คนก็เข้ามามะรุมมะตุ้ม เราก็ถูกจำกัด

ด้วยกฎหมายของเราเองแข่งขันกับเขาไม่ได้ เพราะกว่าเราจะไปขออนุญาตในเรื่องบาง

เรื่องได้ใช้เวลานาน วันของราชการกับวันของธุรกิจ มีความสั้นยาวต่างกัน ถ้าเราทำ

อะไรให้นักธุรกิจ เสร็จภายใน ๑๕ วัน เราอาจจะถูกเจ้านายเพ่งเล็งว่าเราเริ่มจะไปรู้เห็น

เป็นใจกับเขา อะไร ๑๕ วัน เสร็จแล้ว แต่ถ้านักธุรกิจภายใน ๑๕ ชั่วโมงถ้าคุณยังทำไม่

เสร็จเขาอาจจะไล่คุณออก แล้วงานชิ้นเดียวกันนั้นเพราะดอกเบี้ยมัน run แต่ราชการเรา

ไม่มี ระยะเวลาความสั้นความยาวต่างกัน เพราะฉะนั้นถ้าเมื่อไหร่ราชการเข้าไปเป็นคน

ดูแลมากเท่าไหร่ burden ก็จะมีมากเท่านั้น ต้นทุนก็จะสูงขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นระยะ

 

หลังนักร่างกฎหมายจึงต้องเริ่มคิดถึงสิ่งเหล่านี้ว่ากฎหมายที่ออกไปนั้นเป็นอุปสรรคต่อ

การค้าขาย คุ้มค่าต่อการควบคุมดูแลหรือไม่ จำเป็นหรือไม่ที่รัฐจะต้องเข้าไป รัฐดูห่าง ๆ

ได้ไหม ถ้ารัฐต้องการจะดูไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ รัฐดูตามหลังได้ไหม แทนที่จะ

นั่งอยู่เฉย ๆ ทุก ๓ ปี ให้มาหาแล้วดูทีหนึ่ง เช่น โรงงาน ผู้ใดจะประกอบกิจการโรงงาน

ต้องได้รับอนุญาต ก่อนสร้างต้องได้รับอนุญาต จะประกอบกิจการต้องได้รับอนุญาต       

ใบอนุญาตมีอายุ ๓ ปี ทุก ๓ ปี ต้องมาต่อใหม่ ถ้าไม่ต่อโรงงานนั้นก็ประกอบกิจการไม่

ได้ ถามว่าคุณสร้างโรงกลั่นราคา ๒๕,๐๐๐ ล้านบาท แล้ว ๓ ปี มาต่อที เป็นไปได้ไหม

ว่ารัฐไม่ต่อให้ ในทางเศรษฐกิจเป็นไปไม่ได้ที่รัฐไม่ต่อให้ ถามว่ารัฐต้องการอะไร

ต้องการตรวจสอบทำไมไม่ไปตรวจสอบทุกวัน ต้องการเงินทำไมไม่เอาเงินเขาดื้อ ๆ เอา

ตรง ๆ เลย บอกว่าทุก ๓ ปี มาจ่าย เขาก็จ่ายให้ ที่แย่ยิ่งกว่านั้นคือกฎหมายโรงแรมยังใช้

กฎหมายเก่า ผู้จัดการโรงแรมเรียกว่า เจ้าสำนัก เวลาทุกปีจะต้องยื่นคำขออนุญาต

เสมือนเป็นการก่อสร้างใหม่ ไม่ใช้ต่อใบอนุญาต แต่เสมือนเป็นการก่อสร้างใหม่ 

กฎหมายนี้ก็ยังอยู่ ถามว่าแล้วมีใครปฏิบัติตามไหม ก็ตอบว่าไม่ถึงเวลาก็ให้เด็กไปให้

ตำรวจแล้วก็ให้สตางค์เขาไว้ก้อนหนึ่ง ทำเมื่อไหร่ เสร็จเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นเป็นการส่งเสริม

ให้ทุจริตมากขึ้น แต่ burden ที่เกิดขึ้นนั้นเสียหายทางเศรษฐกิจเกินกว่าที่รัฐจะได้

ประโยชน์จริง ๆ เพราะฉะนั้นหลักในการเขียนกฎหมายระยะหลังไม่ใช้เฉพาะประเทศ

ไทย ประเทศอื่นๆ เข้าเริ่มตั้งคำถามว่าประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่คำนวณออกมาเป็นเงิน

ได้กับภาระที่ประชาชนจะได้รับเมื่อคำนวณออกมาเป็นเงินบวกลบคูณหารแล้วเป็น

อย่างไร เป็นบวกหรือเป็นลบ  ถ้าเป็นลบเขาไม่ออกกฎหมายนั้น เขาใช้วิธีการอื่น ถ้าเป็น

บวกจึงจะออก

ประการที่    ต้องคำนึงถึงวัฒนธรรม  ประเพณี หรือความเชื่อถือ

ทั่วไปของประชาชน สิ่งนี้เป็นสิ่งซึ่งจะทำให้กฎหมายสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคน ซึ่งถ้า

เมื่อไหร่กฎหมาย  สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนมากเท่าไหร่ การบังคับการก็จะง่ายขึ้น

ความรู้สึกต่อต้านและความรู้สึกลำบากต่อการปฏิบัติการตามกฎหมายจะน้อยลงเพราะ

สอดคล้องกับชีวิตของเขา จริงอยู่เราอาจจะออกกฎหมายว่าพ่อไม่จำเป็นต้องเลี้ยงดูลูก

ลูกไม่ต้องอุปการะพ่อ แต่ถ้าขัดกับประเพณีของไทย  ถึงออกไปก็ไม่มีการบังคับ แต่ถาม

ว่าเมืองนอกออกได้ไหม ตอบว่าได้เพราะเขาไม่มีความผูกพันอย่างนั้น เพราะฉะนั้นเวลา

ออกกฎหมายของเราจึงต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

นั่นก็เป็นหลักเกณฑ์ที่นักร่างกฎหมายเขาจะต้องคิดอยู่ตลอดเวลาที่

ในการทำสาระสำคัญ

โครงสร้างของกฎหมายประการที่ ๑๐ เรื่องอำนาจหน้าที่ซึ่งจะ

ต้องมีอยู่ในตัวบทกฎหมาย เพราะเจ้าหน้าที่จะมีอำนาจมากน้อยแค่ไหน จะบังคับการ

ให้เป็นไปตามกฎหมายได้มากน้อยแค่ไหน เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากเมื่อเราพูดถึง

พนักงานเจ้าหน้าที่ เวลาเขียนกฎหมายก็จะเขียนกันว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจ

 

เรียกบุคคลมาสอบถาม เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ถึงเวลาที่จะ

ปฏิบัติจริง ๆ พวกนี้จะรับแต่อำนาจ ไม่รับหน้าที่ จึงสร้างความลำบากให้แก่ประชาชน

มากทีเดียว เช่น ถ้าเวลาหน่วยงานทั้งหลายจะเขียนกฎหมายก็จะต้องบอกว่าให้

พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบอะไรต่าง ๆ ครบถ้วน มากกว่าตำรวจอีก แต่

สมมุติว่าถ้าเราจะไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ในฐานะที่เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามประมวล

กฎหมายอาญา       เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะไม่รับ ยกตัวอย่างง่าย ๆ คุณทำบัตรประจำตัว

ประชาชนหาย ใครเป็นผู้มีอำนาจ ใครเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกบัตรประชาชน

ปลัดอำเภอ คุณไปบอกกับปลัดอำเภอว่า   บัตรประชาชนหายขอทำใหม่ ปลัดอำเภอจะ

บอกว่าให้ไปแจ้งความกับตำรวจก่อน ถามว่าทำไมถึงต้องไปแจ้งความที่ตำรวจก่อน

ปลัดอำเภอจะอ้างว่าจะรู้ได้อย่างไรเผื่อมาโกหก แปลว่าถึงเวลา   ตอนทำหน้าที่ลืมไป ก็

ถ้าผมโกหกคุณโทษผมก็เท่ากับผมโกหกตำรวจเหมือนกันเพราะคุณก็เป็นพนักงานเจ้า

หน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ทุกวันนี้ก็ยังไม่แก้ ก็ยังไปแจ้ง

ความกันอยู่ที่ตำรวจผมก็ยังนึกว่ายังอยากจะยุใครสักคนเวลาไม่แจ้งแล้วก็ไปฟ้องศาล

ตามมาตรา ๑๕๗ ติดตารางเสียทีดีไหม ไม่มีเหตุอะไรเลยที่จะปฏิเสธ ก็เวลาออ

กฎหมายบังคับเขาในฐานะเป็นเจ้าพนักงาน ผมเคยมีประสบการณ์บังเอิญเป็นผู้ใหญ่

แล้วก็เลยไม่อยากไปทำ ผมทำใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลหายก็ไปแจ้งกับเจ้าหน้าที่กรม

ทรัพยากรธรณี เขาบอกว่าต้องไปแจ้งความกับตำรวจก่อน ผมบอกว่าผมไม่แจ้ง ผมมา

แจ้งกับคุณนี่แหละ คุณไม่ออกให้ผมก็แล้วไป และให้ช่วยลงบันทึกไว้ด้วยว่าคุณไม่ออก

ในที่สุดเขาก็เลยให้เจ้าหน้าที่ของเขาไปแจ้งความ เสร็จแล้วก็ออกมาจนได้ ผมก็ไม่รู้จะ

ทำอย่างไรกับเขา ผมยังนึกว่าจะทำเป็นกรณีตัวอย่างแล้วนะ เขาก็ไม่ยอมทำแต่ว่าจริง ๆ

ถ้าเราเป็นนักกฎหมายเราก็จะรู้ว่าการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จไม่จำเป็นต้องแจ้งกับเจ้า

หน้าที่ตำรวจหรอก แจ้งกับใครที่เขามีอำนาจเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ถือว่าแจ้งความ

เท็จได้ทั้งสิ้น ใช้ได้อย่างเดียวกัน

โครงสร้างของกฎหมายประการที่ ๑๑ บทกำหนดโทษ หลักของ

บทกำหนดโทษก็มีเพียงง่าย ๆ

๑.      โทษที่จะลงนั้นต้องสอดคล้องกับความหนักเบาแห่งการกระทำ

ความผิด

. ต้องไม่เป็นการรุนแรงเกินกว่าเหตุ

. ถ้าเทียบเคียงกับกฎหมายอื่น ๆ ได้ก็ต้องเทียบเคียงกัน

แต่ว่าในระยะหลังการเทียบเคียงดูจะมีน้อยลง เพราะว่าเราไปเน้น

ทางโทษสูงขึ้นในทางเศรษฐกิจมากกว่าโทษบังคับในทางร่างกาย เนื่องจากว่าความผิด

ส่วนใหญ่จะกระทำโดยนิติบุคคลซึ่งไม่สามารถจะนำมาลงโทษได้ก็ยังมีความเข้าใจผิด

กันอยู่อย่างหนึ่งคือ เวลาอาชญากรรมในเรื่องใดสูงขึ้นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมักจะ

เสนอกฎหมายให้เพิ่มโทษให้สูงขึ้น สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ โดยหวังว่าคนจะเข็ดหลาบ ผมนึกว่า

 

โทษที่สูงขึ้นไม่ได้ทำให้คนเข็ดหลาบ เพราะคนที่จะทำความผิดยังไม่ผิด ยังไม่ได้ทำ จะ

เข็ดได้อย่างไร ต้องไปติดมาสักหนถึงจะเข็ด แต่มีผลร้ายถ้าโทษสูงเกินสัดส่วนของการ

เลวร้ายแห่งการกระทำ ศาลและตำรวจเองจะเป็นตัวซึ่งทำให้การบังคับการนั้นไม่กล้า

เพราะถ้าสมมุติว่าคุณเพิ่มโทษคนลักขนุนในที่สาธารณะเป็นโทษประหารชีวิต ถามว่า

ศาลคนไหนจะตัดสินใจได้ง่าย ๆ จะต้องนึกแล้วนึกอีกจนแน่ใจ ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ถ้ามี

อะไรโหว่สักนิดต้องยกประโยชน์ให้จำเลยเพราะไม่มีวันที่ใครจะไปตัดสินประหารชีวิต

ก่อนเพียงเพราะโทษไปลักขนุนใบเดียว นี่เป็นตัวอย่าง extreme ให้เห็นว่าถ้าโทษยิ่งสูง

ขึ้นกระบวนการในการดำเนินการก็จะลำบากมากขึ้น จริง ๆ แล้วความไม่เข็ดหลาบอยู่ที่

ประสิทธิภาพในการทำงานของกระบวนการยุติธรรมเบื้องต้นในการบังคับการตาม

กฎหมาย ถ้าบังคับการตามกฎหมายอย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง ไม่ยอมปล่อยปละละ

เลยให้คนที่ทำผิดกฎหมายเห็นตำตาผ่านไปได้ ต่อไปคนก็จะเปลี่ยนนิสัย ก็จะดีขึ้น

โครงสร้างของกฎหมายประการสุดท้าย บทเฉพาะกาล ซึ่งบาง

กรณีก็จำเป็นต้องมี บางกรณีก็ไม่จำเป็นต้องมี ถามว่ากรณีไหนต้องมี กรณีที่มีธุระจำ

เป็นจะต้องทำก็ต้องเขียนบทเฉพาะกาลไว้ ส่วนใหญ่มักจะมีเพราะจะมีเรื่องคาราคาซัง

ค้างมา เช่น วันนี้เราออกกฎหมายว่าห้ามผู้ชายไว้ผมยาว ผู้ใดไว้ผมยาวเกิน ๓

เซนติเมตร จะลงโทษจำคุก ๑๐ ปี ก็ต้องมีบทเฉพาะกาลว่า คนที่ผมยาวอยู่แล้วก่อนวัน

ที่กฎหมายใช้บังคับจะให้ไปตัดภายในเมื่อไหร่ ตรงนั้นต้องเขียนไว้ เพราะอยู่ ๆ ทันทีที่ไป

ลงโทษเขาจะกลายเป็นกฎหมายย้อนหลัง เพราะผมเขายาวมาก่อน เพราะฉะนั้นต้อง

เขียนช่วงไว้ว่าแล้วจะให้เขาไปตัดเมื่อไหร่ หรือถ้าเราไปดูในรัฐธรรมนูญเราก็จะเห็นว่า

บทเฉพาะกาลเยอะแยะเลย นั่นเพราะมีกระบวนการที่จะต้องทำในระหว่างนั้นมากพอที่

จะต้องทำให้สำเร็จก่อนที่กฎหมายจะใช้บังคับได้เต็มที่

ทั้งหมดนี้ถามว่าแล้วทำอย่างไรถึงจะเป็นนักร่างกฎหมายที่ดีได้คุณ

สมบัติของ    นักร่างกฎหมายที่ดีมีง่าย ๆ มี ๕ ประการ

ประการที่ ๑ ต้องเป็นนักอ่าน ต้องอ่านหนังสือทุกชนิดเพราะ

กฎหมายเกี่ยวข้องกับทุกเรื่อง ไม่เจาะจงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ตั้งแต่อวกาศลงไปถึงใต้ดิน

รถไฟ เรือเมล์ ลิเก ตำรวจ   เกี่ยวข้องหมด คุณจะร่างกฎหมายเหล่านั้นได้ ก็ต่อเมื่อคุณ

ต้องเคยอ่าน ต้องอ่านเรื่องเหล่านั้นมา ถ้ายังไม่เคยอ่านก็ต้องไปอ่านตอนร่างอ่านแล้วก็

ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจนะต้องไปนั่งซักคนที่เขารู้เรื่องดี ๆ

ประการที่ ๒ ต้องเป็นนักสังเกต ขี้สงสัย สงสัยแล้วต้องแสวงหาคำ

ตอบ คำตอบนั้นต้องเป็นคำตอบที่มีหลักฐานอ้างอิงได้ไม่ใช่ฟังเขาเล่าว่า ผมเชื่อว่าในที่

นี้เป็นนักกฎหมายส่วนใหญ่ หรือมิเช่นนั้นก็ต้องเป็นนักรัฐศาสตร์ ถามว่าในขณะนี้เขา

กำลังฮือฮากันเรื่องคุณสมบัติของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ช่วยยกมือหน่อยว่าเมื่อได้ยิน

เรื่องนี้แล้วมีใครกลับไปเปิดรัฐธรรมนูญดูกี่คนว่า   รัฐธรรมนูญเขาเขียนไว้ว่าอย่างไรไม่มี

เลยเหรอ นี่ขาดคุณสมบัติการเป็นนักร่างกฎหมาย นักร่างกฎหมายที่ดีทันทีที่ได้ยิน

 

ปัญหากฎหมายต้องกลับไปเปิด เพราะเราจะไปเถียงกับเขาได้อย่างไร   เรายังไม่รู้เลย

กฎหมายเขียนว่าอย่างไร ถ้าเราเป็นตาสี ตาสา เถียงได้ ก็ได้ยินมาว่าอย่างนี้           แต่

นักกฎหมายจะบอกว่าฉันได้ยินว่าอย่างนี้ได้อย่างไร ต้องไปเปิดดูว่าเขียนว่าอย่างไร

แล้วเราถึงจะไปเถียงกับเขาได้ อย่าว่าแต่รัฐธรรมนูญซึ่งเราไม่เคยเปิด กฎหมายอาญา

กฎหมายแพ่ง ที่เราเรียนกันมา เวลาเช้าอ่านหนังสือพิมพ์เราเคยตั้งคำถามไหมว่าคดี

อาชญากรรมที่เกิดขึ้นกฎหมายอาญาว่าอย่างไร คนที่เป็นผู้พิพากษา อัยการอาจจะได้

เปรียบ แต่นักกฎหมายทั่ว ๆ ไป น้อยคนนักที่กลับไปคิดว่ากฎหมายอาญาว่าอย่างไร จำ

ได้ บางทีก็งู ๆ ปลา ๆ ตก ๆ หล่น ๆ เพราะฉะนั้นคนที่เป็นนักร่างกฎหมายที่ดีได้ต้องเป็น

นักสังเกต เห็นอะไรต้องสังเกตไปหมดแล้วต้องนึกว่าทำไม เพราะเวลาร่างกฎหมายต้อง

ถามอยู่เรื่อย ทำอย่างนี้ได้ไหม แล้วจะเป็นอย่างไร ถ้าคุณไม่ถามคำถามเหล่านี้กฎหมาย

คุณมีช่องโหว่เยอะเลย เหมือนกับที่เขาต่อว่าทำไมนักกฎหมายไม่เขียนกฎหมายให้ชัด

เจน ก็ในขณะที่เขาเขียนเขาก็นึกว่าชัดเจน แต่เวลาเกิดปัญหาขึ้นจะเกิดปัญหาว่าแล้ว

ชัดเจนหรือไม่ ก็แปลได้หลายอย่าง เพราะฉะนั้นนักร่างกฎหมายที่ดีจะต้องหมั่นถามตัว

เอง ค้นคว้าหาคำตอบให้ได้ แล้วจดจำให้ได้ทุกเรื่องด้วย เราลงเรือข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา

เราเคยสังเกตไหมเรือขับสวนทางไหน ถ้าสังเกตเราก็จำได้ พอเราเห็นเรือขับผิดช่องทาง

ที่เรารู้ เราจะถามทำไม เกิดอะไรขึ้นจงใจฝ่าฝืน หรือเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้น ถามไปตลอด

เพราะจะสร้างนิสัยเพื่ออุดช่องโหว่ของกฎหมาย นักร่างกฎหมายกว่าจะเขียนออกมาแต่

ละมาตรา เขาถามคำถามเป็น ๑๐๐ คำถาม ถ้าไม่ถามออกมาดัง ๆ ก็ต้องถามอยู่ในใจ

เพื่ออุดตรงนั้นแล้วยังมีช่องโหว่ อย่านึกว่าไม่มีช่องโหว่ มี เพราะคนเขียนอย่างมากก็ ๕

คน แต่คนใช้ ๖๐ ล้านคน คน ๖๐ ล้านคนมาช่วยกันหาช่องโหว่ ต้องหาเจอจนได้ ถ้ายิ่ง  

ไม่คิดเลยอะไรจะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นนักร่างกฎหมายที่ดีจึงต้องสังเกต

ประการที่ ๓ คล้าย ๆ กับประการที่ ๒ คือต้องไม่ละเลยหาความ

จริง ไม่เป็นคนประมาท คนส่วนมากจะเชื่อมั่นในตัวเองพอใครเขาพูดถึงสิทธิและเสรี

ภาพเราก็จะเชื่อมั่นว่าเราจำได้ถ้าเราอ่านมาแล้ว เราก็จะจำได้ แต่ถ้าลองไปเปิดดูเถอะ

เราจะพบถ้อยคำที่เราจำไม่ได้เยอะแยะเลย ทำไมนักกฎหมายตอบคำถามออกมายัง

public ไม่ค่อยเหมือนกัน แล้วบางคนเมื่อตอบไปแล้วก็จะหายเงียบไป ไม่ออกมายืนยัน

อีก เพราะตอบก่อนไปหาความจริง ตอบแล้วจึงไปเปิด เปิดแล้วจึงรู้ว่าตาย ก็ต้องเงียบ

ผมไม่เคยที่จะคิดอะไรแล้วจะไม่ไปเปิดกฎหมายดูก่อน ผมเชื่อว่าผมนั่งอ่าน      รัฐธรรม

นูญมากกว่า สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (...) ที่ร่างหลายคน คนที่เขาร่างจริง ๆ เขา

อาจจะอ่านมากกว่า แต่ ส... ๙๙ คน ครึ่งหนึ่งไม่ได้อ่านทั้งหมด อ่านเฉพาะมาตราที่

ตนสนใจ แต่แม้ว่าผมจะอ่านมากทุกครั้งที่มีเรื่องผมจะต้องไปเปิดดูก่อนเพราะผมไม่แน่

ใจ ผมไม่ประมาทว่าผมจะจำได้หมด ถ้าจำได้ตรงก็เท่ากับเน้นความทรงจำนั้นได้ดีขึ้น

ถ้าจำไม่ได้จะได้ปรับปรุงแก้ไข กฎหมายทุกฉบับต้องกลับไปเปิดใหม่ทั้งนั้นไม่มีใครที่จะ

เป็นคอมพิวเตอร์แล้วจำได้ตลอด เพียงแต่ว่าเรารู้วิธีหรือไม่เท่านั้น ตรงที่ต้องหาความ

จริงโดยไม่ประมาทเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เราตอบคำถามได้

ประการที่ ๔ ต้องเป็นคนใจคอกว้าง รับรู้ และรับฟังความคิดเห็น

ของคนอื่นเพราะเราต้องยอมรับขีดจำกัดของมนุษย์ปุถุชน คน ๆ หนึ่งไม่มีวันจะรู้อะไร

ถ่องแท้และมากมาย แม้แต่วิชาที่เราเรียนมาเอง ถ้าเรานึกว่าเราเก่งที่สุด เราคือคนที่โง่ที่

สุด เราต้องนึกว่าคนอื่นเขาก็เก่ง แล้วจะทำอย่างไรที่จะเอาความเก่งของเขามาสะสมใน

ตัวเรา วิธีที่ทำได้ง่ายก็คือฟังเขาพูดให้จบเสียก่อน แล้วเราก็จะรู้ว่าเก่งหรือขี้เท่อ แต่ทันที

ที่เขาอ้าปากแล้วเราบอกว่า อ๋อรู้แล้ว เราจะไปรู้อะไรมาเพิ่ม  มีอยู่เท่าไหร่ก็เท่านั้น วัน

หนึ่งก็หมด เพราะเมื่อความรู้ก้าวหน้าแล้วเราอยู่กับที่เราก็หมด การไม่รับฟังความคิด

เห็นของคนอื่นใจคอไม่กว้างขวางก็ทำให้เราเป็นคนอยู่ในมุมมืด ในที่สุดก็จะกลายเป็น

คนเผด็จการไปในตัว ความคิดอ่านก็จะไม่ก้าวหน้า คนเป็นจำนวนไม่น้อยในยุคที่เรียน

หนังสือ   โดยระบบของโรงเรียนสาธิตทำตัวเป็นน้ำชาล้นถ้วย คือฟังความคิดเห็นของคน

อื่นไม่ได้ เพราะรู้สึกขี้เท่อตั้งแต่เขาอ้าปาก ไม่อยากรู้แม้กระทั่งแล้วขี้เท่ออย่างไรเพราะ

ฉะนั้นนักร่างกฎหมายทำอย่างนั้นไม่ได้ ถ้าทำอย่างนั้นคุณจะเขียนกฎหมายให้คนโง่

อ่านได้อย่างไร เพราะกฎหมายอ่านทั้งคนฉลาดและคนโง่ ต้องเขียนให้เขาอ่านให้ได้

อย่างน้อยที่สุดถึงเราจะไม่ได้อะไรจากคนที่เขาอ้าปาก เราก็จะรู้ว่าคนธรรมดาเขาโง่ได้

อย่างไรแบบไหน เวลาเราเขียนกฎหมายเราจะได้เขียนได้ถูกต้องนึกถึง      คนอย่างนั้น

บ้าง จะไปนึกถึงคนฉลาดทั้งหมดได้อย่างไร

ประการสุดท้าย อ่านและหัดเขียนกฎหมายให้มาก ๆ ถ้าเราไม่เคย

อ่านกฎหมายเลยแล้วเราจะเขียนกฎหมายได้อย่างไร ถ้าเราไม่เขียนกฎหมายเลย เราจะ

เขียนกฎหมายเป็นได้อย่างไร เพราะฉะนั้นการอ่านกฎหมาย   การเขียนกฎหมายจึงเป็น

ส่วนสำคัญที่จะทำให้เราเป็น    นักร่างกฎหมายที่ดีได้ ถ้าปราศจากสิ่งนี้แล้วไม่มีวันที่เรา

จะเป็นนักร่างกฎหมายที่ดีได้

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57

ร่างกฏหมายที่น่าสนใจ
ความเห็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ 
งานวิจัย
บทความทางกฎหมาย
บุคลากร
จัดซื้อ / จัดจ้าง
กฤษฎีกาสาร  
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักกฎหมายปกครอง
  
บริการอื่น ๆ
เสนอแนะ - ติชมเว็บไซต์



สำหรับทำให้ IE เปิดไฟล์ TIFF ได้
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๕ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับจอภาพขนาด 1,024 x 768 พิกเซล