คำบรรยาย
ฯพณฯ มีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภา
เรื่อง
การบังคับใช้กฎหมาย
ณ
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
วันอังคารที่ ๒๕
พฤษภาคม ๒๕๔๒
ผู้ดำเนินการอภิปราย : วันนี้นับว่าเป็นเกียรติอย่างสูง
สำหรับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรทั้ง
๒ หลักสูตร ที่ได้มีผู้ทรงคุณวุฒิซึ่ง
ถ้าเป็นในวงยุทธจักรก็ถือว่าสุดยอด
ได้มาให้ความรู้ให้แนวความคิดกับพวก
เรา
เพื่อนำไปสู่การทำยุทธศาสตร์ชาติ สำหรับในการศึกษาหลักสูตรวิทยาลัย
ป้องกันราชอาณาจักรนั้น
เราจำเป็นจะต้องทำยุทธศาสตร์ชาติใน ๖ ด้าน คือ
การเมืองในประเทศ
การเมืองระหว่างประเทศ การทหาร เศรษฐกิจ วิทยา
ศาสตร์ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
และสังคมจิตวิทยา ในวันนี้ก็เป็นภาระของ
กรรมการวิชาการทางด้านสังคมจิตวิทยา
ซึ่งมีท่านรองฯ รองพล เจริญพันธุ์
ท่านเป็นประธาน
และคณะกรรมการได้เห็นพ้องต้องกันว่าควรจะต้องกราบ
เรียนเชิญท่านผู้ทรงคุณวุฒิในระดับที่สามารถจะให้แนวความคิดและ
นโยบายที่สำคัญ
เพื่อนำไปสู่การทำยุทธศาสตร์ชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อ
ประเทศชาติต่อไปในอนาคต
เราจึงได้รับความกรุณาจากท่านผู้ทรงคุณวุฒิ
อย่างยิ่ง ความจริงมี ๔ ท่าน
แต่ว่าอีกท่านหนึ่งคือ เพื่อนของเราแต่ว่าไม่ใช่ผู้
ไม่ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ทรงคุณวุฒิอย่างยิ่งเหมือนกัน
ความจริงเราจะกราบ
เรียนเชิญคุณหมอประเวศ วะสี
แต่ว่าท่านติดธุระสำคัญ คุณหมอณรงค์ฯ ก็
เลยต้องทำหน้าที่แทน
ผมขอกราบเรียนแนะนำตามธรรมเนียม แต่ว่าในการ
แนะนำนั้น
เพื่อไม่ให้จืดเกินไปผมจึงแนะนำเป็นกลอนแบบเดียวกับมองต่าง
มุมที่เคยแนะนำ
ขอแนะนำท่านที่หนึ่งซึ่งเก่งกล้าเป็น ส.ส.เมืองยะลาเจ็ด
สมัย
จบครุศาสตร์จากจุฬาน่าชื่นใจ ท่านวันนอร์ประธานรัฐสภาไทยยิ่งใหญ่
ครับท่านอาจารย์วันมูหะมัดนอร์
มะทา ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทน
ราษฎร
จะพูดในหัวข้อสถาบันครอบครัว ศาสนา จริยธรรม วัฒนธรรม ใน
ฐานะที่เป็นรากฐานของสังคมไทย
เพื่อที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาวิกฤตของ
สังคม
ขอแนะนำท่านที่สองไม่รองใคร จบธรรมศาสตร์เกรียงไกร
ด้านกฎหมายงานอดิเรกเลื่องลือคือช่างไม้ท่านมีชัยประธานวุฒิฯ
สุดยอด
ครับท่านอาจารย์มีชัย
ฤชุพันธุ์ ประธานวุฒิสภา ท่านจะพูดเรื่อง การบังคับ
ใช้กฎหมาย
ซึ่งเป็นปัญหายิ่งใหญ่ในปัจจุบันนี้ และเราประสบกับปัญหา
วิกฤตในสังคม
ก็คงจะมีเรื่องของการใช้บังคับกฎหมายอยู่ในส่วนหนึ่งด้วย
ขอแนะนำท่านที่สามนามกระเดื่อง
จบฟิสิกส์ลือเลื่องจาก
ฮาร์วาร์ดเป็นประธานกรรมการสภาพัฒน์ฯ
ขอชี้ชัดอาจารย์สิปปนนท์คนดี
ครับท่านอาจารย์สิปปนนท์
เกตุทัต ท่านประธานกรรมการพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประธานคณะกรรมการการศึกษาไทยยุคโลกาภิ
วัฒน์ของธนาคารกสิกรไทย
งานของท่านในขณะนี้ คือการปฏิรูปการศึกษา
ท่านจะพูดเรื่อง
อนาคตการศึกษาของประเทศไทยและแนวทางปฏิรูปการ
ศึกษา
ขอแนะนำท่านที่สี่มีกรรมใหญ่ เพราะหมอประเวศมาไม่ได้
จึงยุ่งหนัก
ท่านเป็นหมอต้องพูดแทนแสนเพลียนักรองฯ ณรงค์เพื่อนรักของ
เราครับนายแพทย์ณรงค์
อังคะสุวพลา
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข จะพูด
เรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิต
และการบริการสาธารณสุข ซึ่งท่านบอกว่าจะ
ใช้เวลาน้อยกว่าพวกท่านทั้ง ๓
เพราะว่าคนกันเอง ผมขอเรียนกติกาในเบื้อง
ต้นว่าทั้ง ๓ ท่านแรก
ผมจะให้เวลาท่านละ ๒๐ นาที ต่อจากนั้น คุณหมอ
ณรงค์ฯ จะพูด ๑๐ นาที
เสร็จแล้วในรอบที่ ๒ จะพูดอีกท่านละ ๑๐ นาที จาก
นั้นจึงจะเปิดโอกาสให้ซักถาม
โดยขอเรียนท่านที่เคารพทั้งหลายว่าเราจะไม่มี
การพักไม่มีการเบรกเพื่อที่จะไปรับน้ำชากาแฟ
เพราะจะเสียเวลากับท่านที่
เคารพซึ่งมีข้อมูลมากมาย
ผมขอเข้าสู่ปัญหาการใช้บังคับกฎหมาย ซึ่งสิ่งที่เรามาฟัง
กันอยู่นี้ก็คงจะรวมถึงการออกกฎหมายด้วย
แนวทางที่ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาในที่
นี้มีคุณค่าอย่างยิ่งคือท่านอาจารย์มีชัยฤชุพันธุ์
ท่านประธานวุฒิสภา แล้วก็
เป็นผู้ที่ทำให้วุฒิสภาพ้นจากคำว่าสภาตรายาง
ขอกราบเรียนเชิญท่านพูดกับ
พวกเราถึงปัญหาทั้งการออกกฎหมายและการใช้บังคับกฎหมาย
กราบเรียน
เชิญครับ
ประธานวุฒิสภา : ท่านผู้ดำเนินการอภิปรายนำและนัก
ศึกษา อาชีพหลักจริง ๆ ของผมมี
๒ อย่าง นอกจากงานช่างไม้ที่ท่านได้อ่าน
เป็นกลอนแนะนำไปแล้ว
อาชีพหลักอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นนักเลงกลอน เมื่อ
ท่านแนะนำผมเป็นกลอน
ผมก็เลยต้องเริ่มต้นเป็นกลอนเหมือนกัน
ขอขอบคุณในน้ำคำอันล้ำค่า กรุณาแนะนำย้ำประจักษ์
ผมเป็นคนธรรมดาอย่าทึกทัก หากพูดหนักเบาไปบ้างอย่าคลางแคลง
ในท่ามกลางคนเก่งน่าเกรงขาม ล้วนรู้ความเป็นไปทำให้แหยง
มือไม้สั่นหวั่นประหม่าหน้าตาแดง แต่ไม่แล้งน้ำใจจึงได้มา
หากผิดพลาดพลั้งไปอย่าได้โกรธ จะได้ประโยชน์ต้องไม่เน้นเห็นแก่หน้า
เพื่อจักได้ดำริถูกวิชา แก้ปัญหาของบ้านเมืองให้เฟื่องฟู
ในหัวข้อเรื่อง การใช้บังคับกฎหมาย ผมคิดว่าเป็นปัญหา
ที่หนักที่สุดสำหรับบ้านเมืองเราในขณะนี้
ปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะใน
ด้านใดก็ตาม
เมื่อสอบสวนทวนความกันแล้วก็จะไปหยุดอยู่ตรงที่ว่า
กฎหมายออกมาแล้วไม่ได้ใช้บังคับ
บัดนี้ถึงขนาดเวลาเขียนรัฐธรรมนูญ เพื่อ
สะท้อนให้เห็นถึงการใช้บังคับกฎหมายที่ไม่ได้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ได้
เป็นไปอย่างทั่วถึง
ถ้าไปดูในมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๐ ของรัฐธรรมนูญ ก็จะ
เห็นว่าเขาเน้นไว้ที่ตรงนั้น
คนที่เรียนกฎหมายมาจะต้องรู้ว่าองค์ประกอบที่
สำคัญอย่างหนึ่งของคำว่า กฎหมาย ก็คือสภาพบังคับ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงที่
เป็นคำสั่ง เป็นกฎ ระเบียบต่าง
ๆ จะถือว่าเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพ
บังคับ
แล้วผู้ใดไม่ปฏิบัติตามสภาพบังคับนั้นจะต้องได้รับผลร้าย นี่เป็นหลัก
เกณฑ์เบื้องต้นของคำว่ากฎหมาย
แต่ว่าสภาพบังคับกับการใช้บังคับ
กฎหมาย
ถ้าจะใช้สำนวนวัยรุ่นเห็นจะต้องบอกว่าเป็นคนละเรื่องเดียวกัน คือ
จริง ๆ
ก็เป็นขั้นตอนของการที่เรามีกฎหมายเมื่อมีกฎหมายแล้วก็จะต้องนำ
ไปใช้บังคับ
ถามว่ากฎหมายที่เราออกกันมามากมายมหาศาลมีสภาพบังคับ
ไหม
สภาพบังคับมีอยู่ในกฎหมายหรือไม่ ก็ตอบว่ามี อาจจะเริ่มไม่มีก็ตรง
กฎหมายของอาจารย์สิปปนนท์ฯ
นี่แหละ เพราะว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการ
ศึกษา
เป็นแต่เพียงสภาพบังคับกลาย ๆ รัฐบาลไม่ทำก็ยังไม่รู้จะลงโทษกัน
อย่างไร
แต่ว่าโดยทั่วไปกฎหมายทุกฉบับจะต้องกำหนดสภาพบังคับไว้
กระบวนการในการจัดทำกฎหมายจะต้องผ่านผู้เชี่ยวชาญองค์กรต่างๆ
มาก
มายหลายขั้นตอน
ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นจากการที่มีกฎหมายโดย
ปราศจากสภาพบังคับจึงยากที่จะเกิดขึ้นได้
ที่สำคัญในบ้านเมืองเรามีคนเก่ง
มีคนหัวก้าวหน้าอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง
รู้หมดว่าประเทศไหนเขามีกฎหมาย
อะไรบ้างที่ประเทศเรายังไม่มี
แล้วก็พยายามขวนขวายให้เรามีเหมือนเขา
บ้าง
กฎหมายที่ออกมาแต่ละฉบับจึงค่อนข้างจะละเอียดรอบคอบในแง่มุม
หนึ่ง ไม่ใช่ทุกแง่ทุกมุม
แต่สิ่งที่ขาดมากเวลาที่ออกกฎหมาย หรือเวลาที่ใคร
ต้องการกฎหมายสักฉบับหนึ่ง
ก็คือความสำเนียกแห่งสภาพของสังคมไทย
ซึ่งไม่เหมือนกับใครในโลก วิถีชีวิตของคนไทยรวมตลอดถึงความนึกคิดของ
คนไทยที่มีต่อสังคมเป็นส่วนรวม
ตรงนี้บางทีคนร่างกฎหมาย แม้แต่องค์กรที่
ตรากฎหมายก็ยังขาด
เรามักจะได้ยินว่ากฎหมายเรื่องนี้ ต่างประเทศเขา
เขียนว่าอย่างไร
ทำไมเราไม่เขียนอย่างเขา น้อยครั้งที่เราจะได้ยินว่าแล้ว
กฎหมายเรื่องนี้เหมาะกับคนไทยหรือไม่
คนไทยเรารับได้หรือไม่ วิถีชีวิตของ
คนไทยจะถูกเปลี่ยนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
จนเขารับไม่ได้หรือไม่ ตรงนี้เรา
ขาด
เมื่อเราขาดตรงนี้ก็เป็นธรรมดาธรรมชาติกฎหมายเมื่อเราออกมาแล้ว
เวลาเอาไปใช้บังคับจึงกลายเป็นอีกเรื่องหนึ่งกฎหมายก็เลยกลายเป็นเอกสาร
วิจัยที่มีเก็บไว้ในตู้เอาไว้อ้างอิง
ที่ร้ายหนักกว่านั้นขึ้นไปก็คือเอาไว้เป็นเครื่อง
มือของเจ้าหน้าที่
บางทีก็ใช้ไปในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ เช่น กฎหมายออกมา
เพื่อตั้งเป้าหมายเพื่อที่จะส่งเสริมกิจกรรมหรือกิจการต่าง
ๆ เวลาไปใช้กลับ
กลายเป็นเรื่องไปบังคับ
ไปกำหนดกฎเกณฑ์ ไปจำกัดกระบวนการธรรมชาติ
ของมัน
ที่สำคัญและเป็นปัญหาอยู่มาก ๆ แต่ผมเชื่อว่ากฎหมายของอาจารย์
สิปปนนท์ฯ ก็จะเป็นปัญหา
ก็คือคนคิด ๆ อย่างหนึ่ง แต่คนปฏิบัติจะปฏิบัติ
อีกอย่างหนึ่ง
เพราะสื่อกันไม่ถึง เมื่อเขียนเป็นกฎหมายการสื่อก็ไม่สามารถ
จะสื่ออย่างละเอียดรอบคอบ
หรืออย่างที่จะให้ตรงกับใจนึกได้ ทุกอย่างก็จะ
ปล่อยให้เป็นไปตามอนุบัญญัติ
เป็นไปตามที่จะได้ไปกำหนดกฎเกณฑ์ทีหลัง
กว่าจะกำหนดอนุบัญญัติหรือรายละเอียดต่าง
ๆ เหล่านั้นได้ครบถ้วน เราก็
ไม่รู้ว่าคนอย่างอาจารย์สิปปนนท์ฯ
ซึ่งรู้เรื่องดีจะยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ แล้วใคร
จะเป็นคนไปบอกว่าตอนที่ทำนั้นคิดอย่างไร
แม้กระทั่งอธิบดีอำรุงฯ ก็เถอะ
จะทำได้เสร็จก่อนเกษียณหรือไม่ก็ยังไม่รู้
เพราะฉะนั้นมันก็จะค่อย ๆ แปรไป
ๆ
จนถึงสุดท้ายถ้าบังเอิญอาจารย์สิปปนนท์ฯ ไปแล้ว ๆ กลับมาเกิดใหม่อาจ
จะถึงต้องฆ่าตัวตายในขั้นที่สอง
เพราะคิดไม่ถึงว่ามันจะเป็นไปได้อย่างนั้น ดู
ตัวอย่างระบบการปกครองครูที่เปลี่ยนแปลงมาจากการหนี
เขาเรียกว่ามาเฟี
ยมหาดไทย มาเป็นการปกครองตนเอง
บัดนี้ก็มาอเจอมาเฟียศึกษาธิการ มัน
ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เคยคิดในตอนนั้นเลย
กระบวนการมันจะปรับเปลี่ยนไป
ตามวิถีและวิสัยของผู้คนซึ่งเหมือน
ๆ กันในเมืองไทยนี้เอง ถามว่าทำไม
กฎหมายเมื่อออกมาแล้วการใช้บังคับนั้นถึงไม่สามารถใช้บังคับกันได้
ผม
ลองสรุปดูอาจจะไม่ใช่วิชาการ
อาจจะเป็นจากการสังเกตได้ ๘ สาเหตุ
สาเหตุที่ ๑ คือในชั้นที่อยากจะมีกฎหมาย ผู้ที่เกี่ยวข้องใน
การร่างกฎหมายก็ดีในการตรากฎหมายก็ดี
คำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่หรือเป็นอยู่ใน
ต่างประเทศ
แล้วเราต้องยอมรับว่าสภาวะแห่งสังคมหรือวุฒิภาวะของคนใน
ประเทศต่าง ๆ
โดยเฉพาะในประเทศที่เจริญแล้ว ๆ เราไปเอาแบบเขามานั้น
มันแตกต่างไปจากวิถีชีวิตและวิธีคิดของคนไทยอย่างมาก
บางทีเราก็คำนึง
ถึงกระแสที่ปลุกเร้าให้เกิดมีกฎหมายทำนองนั้นขึ้น
โดยไม่คำนึงถึงความเป็น
ไปได้ในทางปฏิบัติ
หรือปล่อยไปตายเอาดาบหน้า บางทีเราออกกฎหมาย
โดยไม่คำนึงถึงกำลังงบประมาณกำลังคน
หรือสภาพแห่งสังคมของคนไทย
ในขณะนั้นว่าพร้อมหรือยังที่จะมีกฎหมายนั้น
ๆ ถ้าจะยกตัวอย่าง เอาตัว
อย่างแม่บทเลย
ตัวอย่างรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อาจารย์บวรศักดิ์
อุวรรณโณ
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า นั่งอยู่ที่นี่อย่าคิดอะไรนะ เรา
กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญเพื่อให้คนไทยไม่ว่าอยู่ที่ใดในพื้นโลกนี้
มี
สิทธิเสมอภาคกันในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
เราก็เลยกำหนดว่าคนไทยที่
อยู่ในต่างประเทศก็มีสิทธิในการเลือกตั้งได้เท่า
ๆ กับคนที่อยู่ในประเทศไทย
คนไทยที่ออกไปจากภูมิลำเนาก็มีสิทธิที่จะใช้สิทธิในการลงคะแนนเสียง
ณ
ถิ่นที่ตนเองอยู่
โดยไม่ต้องย้อนกลับไปที่ภูมิลำเนา ถ้ามองในแง่ของ
วิวัฒนาการของการรับรู้สิทธิและเสรีภาพของคน
ก็ต้องนับว่าเป็นความก้าว
หน้าอย่างมาก
แต่ถามว่าแล้วทางปฏิบัติตรงนี้ทำอย่างไร ใช้เงินเท่าไร สอด
คล้องกับนิสัยคนไทยหรือไม่
อย่านึกว่าเวลาที่เราได้ยินเสียงคนร้องเรียกสิทธิ
เสรีภาพมาชุมนุมกัน ๕,๐๐๐
คนนี่มันมากมายมหาศาล บางทีมันมีแค่ ๕,
๐๐๐ เท่านั้นแหละ
คนที่นอกเหนือจากนั้นไม่ได้คิดอย่างนั้นหรอก ตัวอย่างก็
เห็นได้ชัดว่าเมื่อเวลาที่เขาจะทำความชัดเจนให้ปรากฏว่าใครบ้างที่อยู่ในต่าง
ประเทศแล้วจะมาลงคะแนนเสียง
ดูเหมือนครั้งสุดท้ายเปิดกันอยู่เป็นเดือน ๆ
มีคนมาลงคะแนนสัก ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ คนจากจำนวนเกือบล้านคนในทั่วทุก
มุมโลก
ตรงนั้นจะต้องใช้เงินเพื่อคน ๕,๐๐๐ คน เท่าไรก็ยังไม่รู้ ปัญหาในทางปฏิบัติยังจะมีต่อไปว่า
แล้วคนที่ไม่ได้มาลงทะเบียนจะถูกตัดสิทธิตามรัฐ
ธรรมนูญที่กำหนดไว้หรือไม่
เพราะการใช้สิทธิเลือกตั้งกลายเป็นหน้าที่แล้ว
ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี
แต่คนที่ไม่มาลงทะเบียนจะถูกตัดสิทธิหรือไม่ ถ้าผู้ร่างคิดจะ
ใช้กระบวนการนี้ปิดปากคนที่อยู่ต่างประเทศ
ก็นับว่าจะสำเร็จหมด เพราะต่อ
ไปจะไม่มีใครมาเรียกร้องได้อีกแล้วจะถูกตัดสิทธิเกือบหมด
ก็จะเหลือ ๔,
๐๐๐-๕,๐๐๐ คน และ ๔,๐๐๐๕,๐๐๐ คนนั่นก็จะถูกตัดสิทธิไปอีกบาง
ส่วน เพราะถึงวันเข้าจริง ๆ
ก็คงไม่ได้มา ที่จะมากันจริง ๆ ก็คือเจ้าหน้าที่ที่อยู่
สถานทูตอยู่ในสถานกงสุลหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
เพราะฉะนั้นพวกนั้นก็จะ
หมดสิทธิไปโดยปริยาย
ถ้าสิทธินั้นหมายถึงสิทธิในการลงคะแนนเสียงเลือก
ตั้ง ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญก็คือ
การห้ามผู้สมัคร
รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา
เรื่องนี้ด้วยเจตนาดีแท้ ๆ เพราะไม่ต้องการให้
คนที่ไปสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภานั้นต้องไปทุ่มเงิน
รัฐจะพยายามจัดการให้
หมดเพื่อว่าทุกคนจะไม่ได้เปรียบเสียเปรียบ
ในทางทฤษฎีใช่ แต่ถามว่าใน
ทางความเป็นจริง
เป็นไปได้หรือไม่ ก็ตอบว่าคงยาก บัดนี้ก็ขึ้นป้าย cut out
กันอยู่ตามต่างจังหวัดเป็นแถว
ๆ คณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่ได้กำหนด
ที่ปิดประกาศด้วยซ้ำไป
กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งอันนี้ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ
กำหนดวงเงินในการหาเสียงเลือกตั้งไว้ที่จำนวนหนึ่ง
ผมจำไม่ได้ว่าครั้งสุด
ท้ายเท่าไรถึงล้านบาทหรืออย่างไรไม่ทราบ
แต่ถามว่าวงเงินนั้นเป็นวงเงิน
จากการค้นคว้าสำรวจว่ามีการใช้เงินกันเท่านั้นจริงหรือเปล่า
ก็ตอบว่าไม่ใช่
เป็นวงเงินที่คิดว่าพอสมควรแล้ว
เพื่อว่าคนที่สมัครรับเลือกตั้งถ้าไม่อยากจะ
ใช้จ่ายเงินในเรื่องใดที่คนมาขอ
ก็จะได้อ้างวงเงินนี้ไปตอบเขาว่าทำไม่ได้ แต่
ถ้าจริงใจอยากจะใช้ก็จะใช้ได้โดยไม่มีกรอบจำกัด
แล้วทุกคนในกระบวนการ
ก็รู้ว่าเมื่อเวลามารายงานค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งนั้น
รายงานเท็จกันทั้งสิ้น
เพราะคนที่รายงานจะไม่ใช่คนที่ใช้จ่ายเงิน
นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งซึ่งเวลาที่เรา
เขียนกฎหมายเราไม่ค่อยได้นึกว่า
แล้วในความเป็นจริงจะเป็นอย่างไร เรานี่
กว่าจะมันน่าจะเป็นอย่างนี้ก็เอาไว้ก่อนแล้วทำได้ทำไม่ได้ก็ไปว่ากันเอาดาบ
หน้า
รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ว่าการปกครองท้องถิ่นจะต้องมีผู้บริหารท้อง
ถิ่นและสภาท้องถิ่น
และจะต้องมาจากการเลือกตั้งหรือได้รับความยินยอม
ของสภาท้องถิ่น
พอทันทีที่รัฐธรรมนูญออก
กระบวนการการปกครองในรูปแบบสุขาภิบาลก็ขัดกับรัฐธรรมนูญทันที ก็ไม่เป็นไร
ทางแก้ก็คือว่าก็ต้องปรับ
กฎหมายสุขาภิบาลให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ
แล้วให้สุขาภิบาลนั้นเดิน
หน้าอยู่ต่อไป
เพราะว่าสุขาภิบาลจะเปลี่ยนเป็นเทศบาลตามวิวัฒนาการของ
กฎหมายว่าด้วยเทศบาล
ตามความเจริญแห่งท้องถิ่นและผู้คนที่อยู่ในท้อง
ถิ่นแต่รัฐบาลไม่ทำอย่างนั้น
รัฐก็คือคนไทยคนหนึ่งก็ทำอย่างเดียวกับคนไทย
ทั่ว ๆ ไป อยากทำอะไรก็ทำ
ก็ออกกฎหมายบังคับสุขาภิบาลทั้ง ๙๐๐ กว่า
แห่งให้เป็นเทศบาลตำบลขึ้นทันที
ถามว่ารู้ไหมว่าทำอย่างนั้นทันทีจะเกิด
ปัญหา
เงินทองจะต้องใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ก็ตอบว่ารู้แต่ถามว่าแล้วทำไมทำ ก็มัน
อยากทำ ท่าทางมันโก้ดี
แล้วบัดนี้ก็กำลังเป็นปัญหา เพราะว่าเดิมเทศบาล
เขามีอยู่ประมาณ ๑๕๐ แห่ง
มีรายได้ประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท เขาก็เอา
๑๕๐ หาร ๓,๐๐๐ ก็ได้
แห่งหนึ่งก็ได้มาก บัดนี้ถ้าเอาสุขาภิบาล ๙๐๐ กว่า
แห่งไปบวกกับ ๑๕๐
สุขาภิบาลเดิมมีรายได้ ๒,๐๐๐ บวกกับ ๓,๐๐๐ เป็น
๕,๐๐๐ เอา ๙๐๐ บวกกับ ๑๕๐
แล้วไปหาร ๕,๐๐๐ เทศบาลเดิมเจ๊งเลย
เทศบาลตำบลใหม่รวยขึ้น
วิธีแก้ปัญหาของรัฐบาลก็คือจะไปออกกฎหมาย
บอกว่าเทศบาลตำบลใหม่ที่ตั้งขึ้นจากสุขาภิบาลนั้นให้ถือเป็นเทศบาลตำบล
ชั้นสอง ให้ได้เงินน้อยหน่อย
ถามว่าจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรในเมื่อเขาเป็น
เทศบาลด้วยกัน
ทางออกที่ดีที่สุดที่รัฐบาลจะทำก็คือ ไปหาเงินมาอีก ๒,
๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท แล้วก็โปะลงไปให้กับเทศบาลที่รายได้จะต้องน้อยลง นั่น
ก็ยังไม่รู่ว่าจะไปหาที่ไหน
นั่นก็คือผลจากการที่มันอยากทำ แต่ไม่รู้ว่าหนทาง
ที่จะปฏิบัติจะทำอย่างไรก็ไม่รู้
กฎหมายอีกฉบับที่เราออก เราไม่ได้คำนึงถึง
ความเป็นไปได้
กฎหมายว่าด้วยการป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อม ตัวกฎหมาย
ไม่เท่าไร
แต่อนุบัญญัติที่ไปออก เราใช้มาตรฐานสากลเปี๊ยบเลยรับรองไม่
น้อยหน้าใคร
แต่ว่าในทางความเป็นจริงมาตรฐานเหล่านั้นใช้ได้กับบ้านเรา
ไหมตอบว่าไม่ได้
จับไปที่ไหนเป็นมลพิษไปหมด ผิดกฎหมายหมดทั้งเมือง
เอาแค่หน้ากระทรวงมหาดไทย
น้ำที่อยู่ในคลองนั่นก็ผิดแล้ว ก็เคยออก
กฎหมายเพื่อไปใช้กับการทำเหมืองแร่ในทะเล เพื่อไม่ให้เกิดมลภาวะในน้ำ
ทะเล
วิธีการก็คือกำหนดค่าความใสของน้ำทะเลไว้ แล้วถ้าการทำเหมืองแร่
นั้นก่อให้เกิดปัญหาต่อค่าความใสของน้ำ
เขาเรียกอย่างนี้หรือเปล่าก็ไม่แน่
นะ
แต่ว่าเอาเป็นว่าทำนองนั้นแหละ การทำเหมืองแร่นั้นจะต้องหยุด ถามว่า
ค่าความใสนั้นอยู่ที่ตรงไหนอยู่ตรงที่ว่าอยู่เฉย
ๆ เวลาที่คลื่นพัดมากระทบฝั่ง
ค่าความใสนั่นก็ใช้ไม่ได้แล้ว
ก็แปลว่าไม่ต้องทำอะไรมันก็เกิดมลภาวะของ
มันตามธรรมชาติ
ถามว่าออกมาอย่างนั้นเพื่ออะไร เพื่อจะได้ไปปิดเหมืองแร่
รายนั้นได้ นั่นก็เป็นตัวอย่างว่าบางทีเราก็ใช้กฎหมายหนึ่งไปทำกับกิจกรรม
อีกกิจกรรมหนึ่ง
นี่กำลังจะมีกฎหมายอีกฉบับหนึ่งซึ่งต่อไปจะเป็นความวุ่น
วาย
ก็คือกฎหมายที่เกี่ยวกับคลื่นความถี่วิทยุ ต่อไปคงจะเป็นปัญหามาก ๆ
เพราะว่าผมก็ไม่แน่ใจว่าผู้ออกกฎหมายจะตรงใจกับผู้ร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่
แต่มองไปข้างหน้าแล้วคิดว่าปัญหาจะเกิดไม่ใช่เกิดกับใครคนใดคนหนึ่ง
แต่
จะเกิดกับประเทศ
สาเหตุที่ ๒ ที่กฎหมายไม่ค่อยได้ถูกใช้บังคับ
คือออก
กฎหมายโดยรู้อยู่แล้วว่ามัน against ต่อความรู้สึกนึกคิดของสังคม
โดยหวัง
ว่าจะปรับสังคมให้มันสอดคล้องขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
และยึด
ทฤษฎีแห่งกฎหมายของต่างประเทศตามที่ได้เล่าเรียนมากันอย่างเข้มงวด
กวดขั้น
เพราะฉะนั้นพอกฎหมายเหล่านั้นออกมาแล้ว เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็
ไปบังคับมันไม่ได้
เพราะบังคับเข้าบางทีก็จะเกิดฮือฮาขึ้น หรือบางทีก็รู้ทั้งรู้
แต่ก็ทำหลับตาเสียถามว่าทำไมไม่แก้ให้มันสอดคล้อง
ก็บอกถ้าแก้แล้วมันจะ
ผิดทฤษฎี ยกตัวอย่างง่าย ๆ
กฎหมายสรรพากรว่าด้วยภาษีเงินได้ ถามว่าคน
กี่เปอร์เซ็นต์ของประเทศไทยเสียภาษีเงินได้แล้วคนกี่เปอร์เซ็นต์ของประเทศ
ไทยมีเงินได้
ฐานภาษีของเราแคบมาก เมื่อฐานภาษีแคบอัตราภาษีก็ต้องสูง
แต่จะสูงอย่างไรก็ไม่เป็นไรหรอก
เพราะอย่างไรเขาก็หลบกันจนได้ มาบัดนี้
มันเกิดบริษัทมหาชนขึ้นซึ่งหลบไม่ได้
บริษัทเหล่านั้นก็ลำบาก ยืนอยู่ไม่ได้
แม้กระทั่งกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มเราก็ไม่ได้เตรียมความพร้อมให้เพียงพอ
ไม่ได้เตรียมสังคมให้รับรู้
ผมเคยเสนอเขาบอกว่าเพื่อให้ฐานภาษีเต็มเม็ดเต็ม
หน่วย
ทำไมเราไม่ลองใช้แนวความคิดของคนโบราณในเรื่องรัชชูปการ คน
ทุกคนเสียภาษีอย่างน้อยปีละ ๑
บาท เอาแค่นี้ แล้วหลังจากนั้นไปค่อย ๆ
ตรวจสอบรายได้ของคน
คนที่อายุอยู่ในวันที่จะทำงานและมีงานทำ ที่ทำงาน
เป็นส่วนตัวก็ไปดูว่าเขาอยู่ได้ด้วยอย่างไร
จำนวนเงินเท่าไร ค่อย ๆ พัฒนาตัว
ฐานนี้ไป
แต่ก็บอกทำอย่างนั้นไม่ได้เพราะขัดกับทฤษฎีการเก็บภาษีเงินได้
แต่ว่าการปล่อยให้คน ๘๐% ของประเทศไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
หลบเลี่ยง
ภาษีเงินได้เป็นไปตามทฤษฎีอยู่แล้ว
เพราะว่าคนก็ย่อมหลบเลี่ยงภาษี แต่ว่า
ของเราหลบเลี่ยงมากกว่าชำระภาษี
เมื่อกฎหมายเราออกมาในลักษณะนั้น
เจ้าหน้าที่เราก็คิดในลักษณะนั้น
ก็เท่ากับยอมรับกันในเบื้องต้นว่า การใช้
บังคับกฎหมายนั้นไม่จำเป็นต้องใช้บังคับกันทั่วหน้า
ใช้บังคับกันตามความ
เหมาะสมและสมควรแก่เหตุการณ์
แล้วก็เลยปลูกนิสัยให้สมาชิกในสังคม
เกิดความเคยชินว่า
การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายนั้นไม่ใช่เรื่องเสียหาย บาง
เรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายเป็นเรื่องน่าอายเสียด้วยซ้ำไป
ยกตัวอย่าง เช่น
ใครขับรถผิดกฎจราจรแล้วถูกตำรวจปรับ
แหมรู้สึกอับอายขายหน้า ยอมเสีย
เงินเป็นพันเป็นหมื่น
เพื่อว่าเขาจะได้แค่ตักเตือน บางทีก็ต้องเลี้ยงสารวัตรเอา
ไว้เป็นรายเดือน
เขาจะได้ไม่ต้องออกใบสั่งหรือโดนตักเตือน ใช้เงินมากกว่า
ค่าปรับตั้งเยอะ
สาเหตุที่ ๓ กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่ออกมามีราย
ละเอียดหยุมหยิมจนยากที่จะปฏิบัติตาม
บางทีออกมาโดยไม่รับรู้ถึงวิถีชีวิต
ของคน
ไม่รับรู้ถึงความจำเป็นในการดำรงชีวิตของคน เพราะฉะนั้นผู้คนที่อยู่
ภายใต้กฎหมายถ้าเลี่ยงได้ก็เลี่ยง
เลี่ยงไม่ได้ก็ใช้เงินจ้างเจ้าหน้าที่ให้ทำเสีย
เอง ยกตัวอย่าง การขนดิน อิฐ
หิน ปูน ทราย เรากำหนดความเร็วกำหนดน้ำ
หนักบรรทุก
กำหนดร้อยแปดพันประการในกฎหมายจราจร ผมเชื่อว่าที่นั่งอยู่
ในที่นี้มีรถทุกคนแล้วถ้าเอาเราไปให้กรมการขนส่งนั่งไล่ไปตั้งแต่
๑๑๐๐ ข้อ
ของกฎที่เกี่ยวกับรถยนต์ ๙๘% ในที่นี้รถของท่านจะผิด โดยท่านไม่เคยรู้ว่า
มันผิด
มันออกมาเสียจนกระทั่งบางทีเจ้าหน้าที่ก็จำไม่ได้ แล้วว่าเรื่องอะไร
บ้าง นอกจากนาน ๆ
จ่าแกหาเงินที่ไหนไม่ได้ แกก็จี้เอาเรื่องที่แกพอนึกออก
แล้วยิ่งถ้าเป็นอย่างที่เขาลือกันว่าต้องหาเงินส่งเจ้านาย
ซึ่งหวังว่าคงจะไม่
จริง
แต่ถ้าเป็นจริงก็ยิ่งไปกันใหญ่ กฎหมายเหล่านี้ก็เป็นเครื่องมือหมด เรามี
กฎหมายว่าด้วยการห้ามขายสุราเกินเวลา
ห้ามเปิดร้านอาหาร ไนท์คลับ บาร์
เกินเวลา
กฎหมายห้ามขายสุราเกินเวลา เราออกในสมัยยุคที่ไฟไม่พอน้ำมัน
ขาดแคลน
และบัดนี้กฎหมายนี้ก็ยังอยู่ สถานที่ท่องเที่ยวอยากให้คนเขามา
ท่องเที่ยว
แต่เราก็ไปกำหนดว่าเที่ยงคืนปิด ต่อมาก็เป็นตี ๒ ปิด เมื่อตอนสั่ง
ปิดเที่ยงคืนนั้นเขาก็ละเมิดไปปิดเอาตี
๒ ต่อมาเมื่อเราไปเปลี่ยนเป็นตี ๒ เขา
ก็เลยเลื่อนไปปิดเอาตี ๔
ก็ไล่กันไปอยู่อย่างนี้ เพราะเวลาเราจะทำเราไม่ได้
นึกถึงว่า แล้วจริง ๆ
เราควรจะทำกันอย่างไร เราใช้กฎหมายหนึ่งไปแก้ไข
ปัญหาอีกปัญหาหนึ่ง
เราใช้กฎหมายว่าด้วยการควบคุมสิ่งเหล่านี้ไปนึกว่า
เพื่อจะได้ลดโจรขโมยให้มันน้อยลง
มันคนละเรื่องกัน
สาเหตุที่ ๔ กำลังคนและกำลังเงินมีไม่เพียงพอที่จะไป
บังคับให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างครบถ้วน
เมื่อเจ้าหน้าที่ไม่สามารถจะทำ
อะไรได้ครบถ้วน
ก็เอาหูไปนาเอาตาไปไร่เสีย หรือถือหลักฝรั่งที่ว่า If you
couldnt beat it, you better joint. คือใช้เป็นเครื่องมือทำมาหากินเสียเลย
ถามว่าทำไมกำลังคนกำลังเงินไม่เพียงพอทั้ง
ๆ ที่เรามีคนล้นงาน ก็ตอบว่า
เหตุหนึ่งที่กำลังคนไม่เพียงพอเพราะหน่วยราชการของเราเป็นกรม
เป็นนิติ
บุคคล ข้าราชการทุกคน ในกรมทำงานเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของกรม
โดย
นึกว่าถ้ากรมรุ่งเรืองแล้วประเทศต้องรุ่งเรืองแต่ไม่
บางทีกรมรุ่งเรืองแต่
ประเทศล่มจมก็ได้
เป้าหมายที่แท้จริงต้องทำงานเพื่อประเทศเป็นส่วนรวม
การทำงานเพื่อประเทศเป็นส่วนรวมนั้นผลที่สุดอาจจะทำให้ต้องยุบกรมนั้น
ลงไปก็ได้แต่ถามว่าบ้านเรามีใครคิดไหม
ถ้าใครคิดก็จะได้ชื่อว่าเผาเรือนของ
ตัวเอง
คนที่มีอยู่เราถูกใช้ไปในทางอื่น เราถูกใช้ไปในทางอำนวยความ
สะดวก อำนวยบริการ
หรือกำกับดูแลเสียเกือบหมดคนที่จะลงไปในพื้น
สนามที่จะปฏิบัติจริงเหลือน้อยเต็มทนอย่างที่อาจารย์สิปปนนท์ฯ
ว่า ๆ
หนังสือฉบับหนึ่งอาจจะต้องผ่าน
๑๙ โต๊ะ เพียงเพื่อให้รู้ว่ามันได้ผ่านไปแล้ว
เท่านั้น
ผมกำลังนั่งนึกถึงกรมตำรวจขอประทานโทษท่านที่มาจากกรมตำรวจ
คนที่อยู่ในระดับพ้นภาระที่จะทำอะไรด้วยมือตัวเองมันมากขึ้นทุกวัน
คือคน
วางแผนมากขึ้นทุกวัน
คนกำหนดนโยบายมากขึ้นทุกวัน แต่คนปฏิบัติจริง ๆ
จะน้อยลง ๆ
ยิ่งรัฐบาลลดอัตรากำลัง ใครเกษียณก็ตัดอัตรานั้นไปคนปฏิบัติ
จะยิ่งน้อยลง
เพราะเวลาตัดเขามาตัดที่พลตำรวจ ตัวข้างบนที่ปลดเกษียณ
เขาไม่ได้ตัด
เขาก็คงอันนั้นไว้ แล้วเขามาตัดข้างล่างให้ ต่อไปจะยิ่งลำบาก
มาก
คนที่จะปฏิบัติหน้าที่ก็จะเหลือน้อยลง แล้วข้อสำคัญก็คือว่าเราดูกรม
ตำรวจเป็นกระโถนท้องพระโรง
และเป็นนารายณ์อวตารกฎหมายออกมากี่
สิบฉบับกี่ร้อยฉบับก็อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมตำรวจ
ถามว่าจริง ๆ ใครที่
เป็นคนดูแลกฎหมายเหล่านั้น
คนที่ดูแลจริง ๆ คือคนที่ค่อนข้างจะเกเรา พ่อ
แม่พอมีสตางค์เหลือก็ส่งไปเรียนพลตำรวจ
บางคนก็เสียสตางค์ลงทุนอย่างที่
เคยเป็นข่าว
กรมตำรวจก็อบรมดูเหมือนจะวิชาการ ๖ เดือน แล้วก็ฝึกภาค
ปฏิบัติ ๖ เดือน
เดี๋ยวนี้จะขยายหรือเปล่าผมไม่ทราบ ถ้าผิดก็ขออภัย แต่ว่า
ระยะเวลาสั้นมาก
จบออกมาบนบ่าให้กฎหมายไว้ ๓ เข่ง สิทธิซื้อปืน ๑
กระบอกเงินเดือน ๔,๐๐๐-๕,๐๐๐ บาท เราจะหวังประสิทธิภาพอะไรจาก
คนเหล่านี้
เขาไม่ใช่เป็นคนไม่ดีมาแต่กำเนิด แต่ในที่สุดระบบจะทำให้เขาเป็น
คนไม่ดี และ once เมื่อเขาเป็นคนไม่ดีแล้วยากที่จะเอาเขากลับคืนมาได้
เพราะเขาจะเคยชินต่อรายได้ที่เขาได้มา
สาเหตุที่ ๕
ดุลพินิจทั้งหลายทั้งปวงกฎหมายกำหนด
ปล่อยให้ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่
ๆ สามารถใช้ดุลพินิจนั้นได้โดยไม่ต้องชี้แจง
แสดงเหตุผล
ในระยะหลังเริ่มมีกฎหมายบังคับให้เจ้าหน้าที่ต้องแสดงเหตุผล
แต่เหตุผลที่เจ้าหน้าที่แสดงก็หาได้เกิดความกระจ่างให้ต่อผู้คนพอใจไม่
ข้า
ราชการก็มาปรึกษาว่าแล้วจะทำอย่างไรถ้าเขาทำผิด
คนนั้นถูกย้ายเลยเขาก็
มาโอดครวญกัน
ผมก็บอกว่าดีกว่าติดตะราง แล้ววันหน้าเขาติดตะรางแน่ ๆ
เลย ถ้าเขาไม่เขียนตรงนี้
สาเหตุที่ ๖ ขั้นตอนต่าง ๆ
ของทางราชการเองมีมากมาย
เกิดความยุ่งยากไม่ได้รับการแก้ไขปรับปรุง
ผู้คนก็พยายามหลีกเลี่ยงการ
เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับทางราชการมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่
อยากจะไปติดต่อ
ที่ไปติดต่อก็จะต้องเตรียมอะไรต่ออะไร เอาไว้อำนวยความ
สะดวก
ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความเคยชินต่อการหลีกเลี่ยง คิดดูง่าย ๆ
ถ้าท่านมีใบอะไรสักใบหนึ่งที่กฎหมายบังคับให้ท่านต้องพก
แล้วมันหายไป
ยกตัวอย่างเช่น
บัตรประจำตัวประชาชน กฎหมายบอกว่าเมื่อบัตรประจำตัว
ประชาชนสูญหายหรือขาดอายุก็ต้องไปทำใหม่
ถ้าสูญหาย เวลาท่านไปขอ
ทำใหม่
เขาก็บอกว่าคุณต้องไปแจ้งความที่ตำรวจก่อนถามว่าทำไมถึงต้องไป
แจ้งความที่ตำรวจ
เขาบอกว่าอ้าวเผื่อคุณโกหกเจ้าพนักงานตำรวจ เขาจะได้
จับคุณได้ในฐานะแจ้งความเท็จ
แล้วผมถามแล้วพวกคุณเป็นอะไรล่ะ คุณไม่
ได้เป็นเจ้าพนักงานหรอกหรือ
ก็เห็นกฎหมายเขียนไว้ตามกฎหมายบัตร
ประจำตัวประชาชนว่าคุณเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่
ผมโกหกคุณก็มีผลลัพธ์
เท่า ๆ กับผมไปโกหกตำรวจ
เขาบอกไม่ได้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยวางไว้
ผมก็เรียนเรื่องนี้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตั้งแต่สมัยผมยัง
ทำงานอยู่ในฝ่ายบริหาร
จนจำไม่ได้ว่ากี่คน แต่เรียนทุกคน มีโอกาสก็จะบอก
ทุกคนว่าเลิกทีเถอะจนป่านนี้ก็ยังไม่เลิก
ผมก็ยังนึกไม่ออกว่าเขาจะมีเอาไว้ทำไม ตำรวจเขาก็คงรำคาญเต็มทีเขาก็ต้องไปลงบันทึกประจำวัน
ไม่ได้ไม่ดี
อะไร ขั้นตอนต่าง ๆ
เหล่านั้นสร้างขึ้น โดยไม่ได้นึกถึงทางปฏิบัติ แล้วคนที่
ออกขั้นตอนและออกกฎเหล่านั้นจะเป็นคนแรกที่หนี
เพราะทำไม่ได้ ทนทำไม่
ไหว
ถ้าเป็นกฎกติกาว่าด้วยเรื่องการเงินการคลัง คนที่หนีคนแรกคือกระทรวง
การคลัง เพราะรู้ว่าทำไม่ได้
รัฐวิสาหกิจเขาตั้งขึ้นมาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
เพื่อให้เกิดความคล่องตัวดีกว่าราชการ
กระทรวงการคลังก็เข้าไปดูแล ดูไปดู
มาสัก ๒๐ ปี
รัฐวิสาหกิจก็กลายเป็นอุ้ยอ้ายยิ่งกว่าราชการ พอกระทรวงการ
คลังจะทำกิจการใด
กระทรวงการคลังจึงเป็นคนแรกที่หนีไม่ให้มันเป็นรัฐ
วิสาหกิจ
โดยไปเอาทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มาบวกเข้าไปอีก ๒%
แล้วก็กิจการนั้นก็จะไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ
มายุคที่ผู้คนหนีออกจากแวดวงราช
การ ในยุคที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู
เงินเดือนข้างนอกเป็นแสน กระทรวงการคลัง
เป็นคนแรกที่รู้ว่าถ้าจะได้คนดีต้องจ่ายเงินเดือนเป็นแสน
กระทรวงการคลังก็
หาวิธี
เพราะฉะนั้นกิจการของกระทรวงการคลังจะมีคนมาบริหารงานที่มีเงิน
เดือนเป็นแสนทั้งนั้น
แต่ใครอย่าได้ไปแตะนะ ใครอย่าได้ไปเอาอย่างนะ
กระทรวงการคลังจะคัดค้านหัวชนฝา
บอกอย่างนี้จะทำให้ระบบการเงินการ
คลังของบ้านเมืองพังพินาศสันตะโร
ถามว่าทำไมกระทรวงการคลังทำได้
เพราะกระทรวงการคลังคิดว่าตัวเป็นคนดี
ยังไง ๆ เสียก็ไม่ถลุง แต่คนอื่นนั้น
คงจะเอาไปถลุง
เพราะฉะนั้นระบบก็ไม่ได้รับการแก้ไข เพราะคนออกกฎนั้น
เองเป็นคนที่เลี่ยงกฎเสียก่อน
สาเหตุที่ ๗ สังคมรับรู้การหลีกเลี่ยงกฎหมายด้วยอาการ
สงบ
และด้วยความเห็นอกเห็นใจเพราะมันเพาะนิสัยการหลีกเลี่ยงกฎหมาย
สืบต่อกันมาจนเป็นอุปนิสัย
ผู้มีอิทธิพลก็เกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ใครไม่มีอิทธิพล
ก็พยายามทำให้ดูเหมือนว่ามีอิทธิพล
ไม่ด้วยทางใดก็ใช้ด้วยเงิน แม้กระทั่งไม่
มีอะไรจริง ๆ ไปซื้อหมวกมาวางไว้ท้ายรถก็ยังเอา
เพื่อให้ดูมีอิทธิพลแล้วคนก็
จะได้เกรงอกเกรงใจ
เรารู้หมดถึงการกระทำผิดหรืออุปนิสัยของสังคมตั้งแต่
รัฐบาลลงมาถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ยกตัวอย่างเรื่องเล่นการพนัน การตั้งบ่อน
ตำรวจในท้องที่ไม่รู้หรือว่าบ่อนอยู่ที่ไหน
สิ้นเดือนจ่าไปเก็บสตางค์ได้อย่างไร
ถ้าไม่รู้ว่าบ่อนอยู่ที่ไหน
แต่ก็เพราะว่าปล่อยเลย ๆ กันมา ถ้ามีใครพูดว่าถ้า
อย่างนั้นทำไมไม่ทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย
คนก็จะฮือขึ้นมาว่าผิดหลักศีล
ธรรม
แต่เราก็ปล่อยให้คนไปสร้างบ่อนรอบ ๆ บ้านเรา คนไทยเราเองก็ไป
สร้าง
คนที่เป็นรัฐมนตรีก็ไปสร้าง ยังไม่สะดวกนักก็จัดทัวร์เหมาไปเล่นการ
พนันที่เพิร์ธ ที่เมลเบิร์น
ที่มาเก๊า เดี๋ยวนี้เขาว่าไม่ได้ไปกันแล้ว แต่ก็ยังไปกัน
เราก็รับรู้
ประการสุดท้าย
ความล่าช้าของของรัฐในการดูแลแก้ไข
ปัญหาของสังคมที่เกิดขึ้น
ปกติจะปล่อยให้มันเกิดหรือถลำตัวมากขึ้น แล้ววัน
ดีคืนดีก็รู้สึกถึงความรุนแรงก็ออกกฎหมายมาใช้บังคับ
แม้ว่าจะมีความรอบ
คอบในการออกกฎหมายมาใช้บังคับ
คือให้เวลาในการปรับตัว มีบทเฉพาะ
กาล
แต่รัฐไม่มีมาตรการในการช่วยเหลือแบบเบ็ดเสร็จในระหว่างบทเฉพาะ
กาลเหล่านั้น
เพราะฉะนั้นถึงเวลาบังคับจริง ๆ ก็เกิดเรื่อง เกิดการต่อต้าน
เกิดความรู้สึกว่ารัฐมารังแก
ออกกฎหมายมารังแกความจำเป็นต้องหลีกเลี่ยง
กฎหมาย
จำเป็นต้องไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ในที่สุดเมื่อคนมารวมตัวกัน
มาก ๆ รัฐก็ผ่อนปรน
รัฐใช้หลักรัฐศาสตร์เมื่อกฎหมายออกมาแล้ว รัฐไม่เคย
ใช้หลักรัฐศาสตร์ก่อนที่จะออกกฎหมายเลย
ทั้ง ๆ ที่ควรจะใช้ก่อนกฎหมาย
ควรจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่รัฐพึงออก
เพราะไม่มีหรอกครับกฎหมายที่จะออกมา
เพื่อเชิดชูบุคคลกฎหมายออกมาเพื่อบังคับคนทั้งนั้นมันถึงจะเรียกว่า
กฎหมาย
เพราะฉะนั้นเมื่อมีกฎหมายมากเท่าไร ไม่ได้แปลว่าเราเจริญมาก
เท่านั้น
แปลว่าเราตกต่ำมากเท่านั้น สังคมยิ่งแยกมากเท่านั้น รัฐต้องใช้หลัก
รัฐศาสตร์ดูแลปัญหาต่าง ๆ
เสียก่อนที่จะออกกฎหมาย และเมื่อจะออก
กฎหมายต้องออกให้ครบถ้วนกระบวนความ
ต้องไม่ออกกฎหมายเพียงครึ่ง
เดียว แล้วอีก ๒-๓ วัน อีก ๒-๓
ปีจะไปคิดออกกฎหมายใหม่ จะออกมาตร
การใหม่เพื่อทำให้สมบูรณ์ขึ้น ที่บ้านเมืองเราล่มจมแทบจะขายตัวก็เพราะ
ออกมาตรการไม่เบ็ดเสร็จสมบูรณ์
เราเปิดเสรีทางการเงินโดยรู้ว่าเสรีทางการ
เงินนั้นจะต้องมีมาตรการอีก ๑-๒-๓ มารปะกอบกัน ประเทศถึงจะไปรอด
แล้วเราก็คิดว่าออกอันนี้มาก่อนได้ประโยชน์ทางการเมือง
แล้วจะออก ๒-๓-
๔ ตามมา ก็การเมืองเมืองไทยนี่ครับ
นั่งหลับฝันอยู่ดี ๆ เปลี่ยนเสียแล้ว ๒
๓-๔ ก็ไม่ตามมา
คนที่มาใหม่ก็ไม่รู้ว่าต้องมี ๒-๓-๔
ถึงเวลาก็พัง เราไม่ได้นึก
ถึงความสมบูรณ์ของมาตรการ
เรานึกว่ายังพอมีเวลาเพราะฉะนั้นก็เป็น
ปัญหาของสังคมมาโดยตลอด
ผมได้พูดถึงเหตุที่เกิดขึ้นในสังคมว่าการใช้บังคับกฎหมาย
ไม่ได้เป็นตามที่ควรจะเป็น
ช่วงนี้ผมขอพูดทางแก้สั้น ๆ ทางแก้เฉพาะในส่วน
ที่เกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย
ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล จริง ๆ คงจะต้องแก้อะไรมาก
กว่านี้
อย่างที่อาจารย์สิปปนนท์ฯ ท่านว่าคนเป็นเรื่องสำคัญ แต่ผมจะพูดแต่
เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมาย
ทางแก้ทางที่ ๑ คือต้องสังคายนากฎหมายที่มีอยู่ใน
ปัจจุบัน
ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็ไม่มีใครบอกได้ว่ามีอยู่จำนวนกี่ฉบับ รู้แต่ว่าที่ active อยู่
ประมาณ ๕๐๐๖๐๐ กว่าฉบับ
ถามว่าจะสังคายนาไปอยู่ที่ไหน ก็ต้องตั้ง
เป้าหมายว่ากฎหมายบรรดาที่มีอยู่จะต้องมีวัตถุประสงค์ให้เกิดความสงบ
เรียบร้อย เกิดความเป็นธรรม
และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในสังคมและ
ประเทศชาติ
ต้องหลีกเลี่ยงการที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการดำเนินชีวิต หรือ
การทำมาหากินของคนทั่วไปต้องเหลือให้น้อยที่สุดกฎหมายประเภทนั้น
อะไรที่เขาทำกันได้ต้องปล่อยให้เขาทำไปอย่าเข้าไปยุ่ง
บางทีแม้กระทั่งจะ
เข้าไปจัดระเบียบก็เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดปัญหาและระเบียบก็ไม่เกิด
ยกตัว
อย่าง
ถ้าเมื่อไรกรุงเทพมหานครก็ดี หรือตำรวจก็ดีไปจัดระเบียบทางเท้าเมื่อ
ไรแปลว่าคนทำมาหากิจมีต้นทุนสูงขึ้น
เราดูแลคนได้ไม่ถึงระดับล่าง เพราะ
ฉะนั้นบางทีแม้กระทั่งการเข้าไปจัดระเบียบก็จะเป็นปัญหาได้
เพราะฉะนั้น
ต้องหลีกเลี่ยงให้มีกฎหมายลักษณะนั้นให้เหลือน้อยที่สุด
กฎหมายต้องแยก
ออกเป็น ๓ ประเภท
ประเภทที่ ๑ คือประเภทที่จำเป็นต้องมีเพื่อประโยชน์ของ
ส่วนรวมประเทศชาติที่ใครจะไปทำละเมิดไม่ได้จริง
ๆ ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่จะต้อง
ไปควบคุม เช่น อาวุธสงคราม
พฤติกรรมหรือการกระทำบางอย่างที่จะมีผล
กระทบต่อระบบของประเทศ
ประเภทที่ ๒ คือรัฐต้องดูแลห่าง
ๆ คือเข้าไปกำกับเฉย ๆ
วางกฎกติกาไว้แล้วอย่างไปยุ่ง
ปล่อยให้เขาปฏิบัติ ไม่ต้องมาขออนุญาต ไม่
ต้องทำอะไรทั้งสิ้น แล้วเมื่อเขาทำผิดก็ดำเนินการ
วิธีนี้เราจะใช้เจ้าหน้าที่
น้อยลงไปครึ่งหนึ่ง
ประเภทที่ ๓ คือประเภทที่ส่งเสริมเพื่อให้เขาคิดปัจจัยใน
การที่จะไปต่อสู้กับโลกภายนอก
ส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรม ส่งเสริมให้
เกิดความคล่องตัวและการผลิตที่มีประสิทธิภาพ
กฎหมายต้องแยกออกเป็น ๓ ประเภทดังได้กล่าวมาแล้วนั้น
นั่นคือทางแก้ทางที่ ๑
ทางแก้ทางที่ ๒
ออกกฎหมายให้น้อยที่สุด ไม่จำเป็น
อย่าไปออกกฎหมายกฎหมายนั้นไม่ใช่สิ่งดีงามเสมอไป
ส่วนใหญ่จะ
เป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่งามเสียด้วยซ้ำไป
เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นจริง ๆ อย่า
ออกกฎหมาย
ทางแก้ทางที่ ๓
การออกกฎหมายต้องคำนึงถึงความ
เป็นไปได้และความเป็นจริงแห่งสังคมไทย
ต้องไม่ยึดถือทฤษฎีจาก
ต่างประเทศจนเกินกว่าเหตุ
ต้องทำในลักษณะที่ว่าค่อยเป็นค่อยไป
เป็นขั้นเป็นตอน
อย่าออกกฎหมายโดยกำหนดเป้าหมายสูงสุดระดับ
สากลแล้วจึงค่อยมาทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ถ้าจำเป็นจะต้องค่อย
เป็นค่อยไปก็ต้องออกกฎหมายอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เพื่อจะได้ปฏิบัติ
ตามกฎหมายนั้นอย่างครบถ้วน
ได้สร้างนิสัยการหลีกเลี่ยงกฎหมาย
ทั้งผู้ใช้บังคับ
และผู้ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
ทางแก้ทางที่ ๔ อันนี้สำคัญ
ในแต่ละครั้งที่ใครจะออก
กฎหมายหน่วยราชการใดจะเสนอการออกกฎหมาย
จะต้องคำนวณค่าใช้
จ่ายทั้งกำลังคนและกำลังเงินว่าจะต้องใช้เท่าไร
แล้วกำหนดสภาพบังคับแห่ง
กฎหมายนั้นให้สอดคล้องกับกำลังคนและกำลังเงินที่มีอยู่อย่าออกกฎหมาย
แล้วไปตายเอาดาบหน้า
นึกว่ามีกฎหมายแล้วสำนักงบประมาณจะต้องให้
เงินตามที่จำเป็น
สำนักงบประมาณเขาก็ให้เงินตามที่จำเป็น แต่ตามที่จำเป็น
ของเขา
ไม่ใช่ตามที่จำเป็นแห่งสภาพของการใช้บังคับกฎหมาย ต้องคำนวณ
ค่าใช้จ่ายออกมาให้ชัดเจนว่าจะต้องใช้อะไรบ้างเป็นค่าอะไรบ้าง
คนจะต้อง
ใช้เท่าไร
กฎหมายเหล่านั้นถึงจะได้รับการใช้บังคับอย่างสมบูรณ์
อาจารย์ครับผมมีความเห็นว่าสังคมวิกฤตในขณะนี้เกิดกับ
ปัญหา ๒ เรื่องเท่านั้นเอง
คือเราขาดวินัยของคนในชาติ และเราขาดบท
บัญญัติว่าด้วยอำนาจของนักการเมือง ๒ เรื่องเท่านี้เอง คำถามสั้น
ๆ ของผม
ก็คือว่าจะเป็นไปได้แค่ไหนเพียงใดที่วุฒิสภา
หรือรัฐสภาจะออกข้อแนะนำ
หรือออกบทบัญญัติว่าด้วยวินัยของคนในชาติตามความในรัฐธรรมนูญ
ซึ่ง
ผมก็ไม่ทราบว่ารัฐธรรมนูญ
ฉบับที่ ๑๖ นี้ เขียนไว้แค่ไหนเพียงใด เพราะอ่าน
ดูไม่ค่อยเห็นเราก็ออกบทบัญญัติว่าด้วยการใช้อำนาจของฝ่ายการเมือง
ถ้า
เห็นว่าการออกเช่นนี้เป็นการก้าวก่ายอำนาจของฝ่ายบริหาร
ก็ใช้คำแนะนำ
ของฝ่ายบริหารให้ออกมาแล้วมาขอความเห็นชอบจากรัฐสภา
ผมคิดว่าถ้า
เราได้รูปธรรมที่ชัดเจน
แต่ละปี ๆ ว่าปีนี้วินัยของคนในชาติเอาสัก ๔-๕ ข้อ
ตรงนี้ หรือ ๓ ข้อ
ว่าอำนาจของนักการเมืองว่ากัน ๔-๕ ข้อตรงนี้ ไปเรื่อย ๆ
แล้วก็ใช้บังคับกันจริงจัง
ผมเชื่อว่าจะเป็นหนทางที่แก้ไขปัญหาสังคมวิกฤต
ในปัจจุบันนี้ได้
ไม่ทราบว่าเป็นไปได้แค่ไหนอย่างไร
ประธานวุฒิสภา : เป็นไปไม่ได้ทั้ง ๒ กรณี กรณีแรก
สมาชิกวุฒิสภาหรือสภาไหน ๆ
ก็แล้วแต่ ก็เป็นคนไทยคนหนึ่งเหมือนกัน ถ้า
คนไทยทั้งประเทศเป็นคนที่ไม่มีวินัยสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นคนไทยก็คงไม่มี
วินัยเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นจะไปออกกฎ กติกาอะไรให้คนเขาทำ คงจะต้อง
ให้นักคิดเขาคิดกันขึ้นมาว่าวินัยของคนในชาติอย่างลักษณะค่อยเป็นค่อยไป
อย่ามุ่งไปสู่การเรียงแถวอย่างสิงคโปร์เสียทีเดียว
ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไป ทีละ
อย่างทีละขั้นทีละตอน
น่าจะเกิดขึ้นได้มากกว่า เพราะว่าบางทีที่เราแก้
ปัญหาอะไรมาแล้วไม่ค่อยได้รับผลสำเร็จก็เพราะเราให้คนบนยอดคิด
ซึ่งบาง
ทีก็คิดคนละอย่างกับคนที่อยู่ข้างล่าง
เพราะฉะนั้นอาจจะต้องให้คนข้างล่าง
ช่วยกันคิดเพื่อให้คนที่อยู่บนยอดปฏิบัติ
บางทีจะได้ผลดีกว่าที่ทำมา กรณีที่
สองที่เรื่องอำนาจของนักการเมือง
ความจริงเขาพยายามกันมาหลายครั้งจะ
เห็นได้ว่าในกฎหมายระเบียบข้าราชการพลเรือนนั้นได้พยายามเปลี่ยนแปลง
มาโดยตลอดยิ่งเปลี่ยนก็ยิ่งลึก
และยิ่งเปลี่ยนข้าราชการประจำก็ยิ่งเจ็บตัว
ครั้งสุดท้ายเขาเปลี่ยนในลักษณะที่ว่าเพื่อไม่ให้นักการเมืองเข้ามายุงเกี่ยวกับ
ข้าราชการประจำ
ให้คุมแต่หัวขบวนคนเดียวคือตัวปลัดกระทรวง โดยหวังว่า
ปลัดกระทรวงจะยืนหยัดและมีพลังทัดทานเพียงพอ
แต่เราก็พบว่าปลัด
กระทรวงที่ยืนหยัดและมีพลังทัดทานเพียงพอมีอยู่คนเดียว
แล้วก็ถูกย้ายไป
ย้ายมาหลายครั้งในระหว่างกระทรวงกับสำนักนายกรัฐมนตรี
นอกจากนั้นไม่
มี พอหลังจากนั้นก็กลัวกันหมด เราพบว่าที่นึกว่าปลัดกระทรวงจะคุ้มครองดู
แลนั้น
ความจริงเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะอธิบดีก็อยากเป็นปลัด
กระทรวง
ตัวอธิบดีเองนั่นแหละในที่สุดก็ไปทำให้ปลัดกระทรวงย่ำแย่แล้วก็
ทำงานคุ้มครองหรือทำอะไรมากไม่ได้
นักการเมืองก็รู้ เขาก็รู้ว่าตามกฎหมาย
เขาทำได้ แต่เฉพาะปลัดกระทรวง
เพราะฉะนั้นเขาก็ไม่ทำกับคนอื่น เขาไปสั่ง
กับคนอื่น
เขาก็เรียกอธิบดีมาเขาก็บอกว่าอธิบดีปีหน้าปลัดกระทรวงเขาก็จะ
เกษียณนะ อยากเป็นปลัดกระทรวงไหม
ทำนี่ ๆ ให้หน่อยซิ เดี๋ยวนี้ก็ไปไกลถึง
ผู้อำนวยการกอง ซี ๗ ซี ๖
เรื่อยลงไปโดยไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะคนที่จะสั่ง
คืออธิบดีเป็นคนสั่ง
ปลัดกระทรวงเป็นคนสั่งให้ เพราะกฎหมายบอกเขาไม่ให้
สั่ง เขาก็ไม่ต้องรับผิดชอบ
แต่ถามว่าแล้วอธิบดีร้องแรกแหกกระเชอได้ไหม
เขาบอกว่านี่ผมทำเพราะจำเป็นต้องทำเพราะนักการเมืองเขาสั่ง
ไม่มีใคร
กล้าร้อง เพราะกลัวถูกย้าย
ทั้งหมดนี้ถามว่าทำไม ก็ตอบว่าขิงก็ราข่าก็แรง
ข้าราชการเราก็มิได้ตรงไปตรงมานัก
จึงถูกนักการเมืองเขาใช้จุดอ่อนนั้นมา
ใช้
เขาจับตรงไหนแสดงว่าเราผิดตรงนั้น บางทีผิดนั้นผิดด้วยเถยจิต บางทีผิด
เพราะกฎ ระเบียบ
ข้อบังคับมันบังคับให้ผิด แล้วก็เลยกลายเป็นเหยื่อให้เขา
ต้องเอามาใช้ข่มขู่บังคับหรือบีบเราได้
เพราะด้วยเหตุนั้นเราจึงกลัวถูกย้าย
ถามว่าทำไมเราย้ายไปที่ไหนก็ได้ เราเป็นข้าราชการ ซี ๑๐ ซี ๙
ไม่ว่าจะไป
อยู่ที่ไหนมันก็ซี ๑๐ ซี ๙
เหมือนกัน ตอบว่าประโยชน์มันต่างกัน เมื่อเราคำนึง
ถึงตรงนั้นเราก็กลัว
เมื่อเรากลัวเราก็ถูกบีบบังคับได้ง่าย ยิ่งตำรวจยิ่งกลัวมาก
เพราะว่ามันต่างกันราวฟ้ากับดินเลย
ต่อให้เป็นพลตำรวจเอกแต่นั่งอยู่เฉยสู้
เป็นพันตำรวจเอกแต่ดูแลพื้นที่อย่างแถวจักรวรรดิ์
แถวพลับพลาไชยยังดีกว่า
ดีอย่างไรผมก็ไม่รู้เห็นลูกน้องมาขอไปลงที่นั่นเรื่อย
ผมยังถามมันเป็นอย่างไร
ก็บอกว่าไปกินโจ๊กง่ายดี
ผมก็ไม่รู้จริงหรือไม่จริง แต่ว่าตรงนั้นเป็นจุด เพราะ
ฉะนั้น
ถึงเราจะเขียนอย่างไรแต่ในทางความเป็นจริงก็เป็นไปไม่ได้ เว้นแต่เรา
ปรับโครงสร้างทั้งหมดอย่างท่านอาจารย์สิปปนนท์ฯ
ว่าด้วยเรื่องคน ปรับ
ระบบกฎหมายทั้งหมดให้เหลืออำนาจในมือเจ้าหน้าที่น้อยที่สุด
ให้ผู้คนเขาดู
แลตนเองให้มากที่สุดเจ้าหน้าที่คอยแต่เพียงกำกับเป่านกหวีดว่าคุณล้ำเส้น
แล้ว เท่านั้นพอแล้ว
แล้วก็ใครมีหน้าที่จะจับดำเนินการก็จับคือถ้าไม่ทำอย่าง
นั้นความผิดจะมีทั่วทุกแห่งจนจับไม่ไหว
จนไม่มีกำลังพอที่จะจับ จับมาก็คา
ราคาซัง พนักงานสอบสวนก็แย่
ไม่รู้จะสอบกันกี่ร้อยกี่พันคดี พอถึงเวลาใกล้
ๆ เดือนตุลาคม
อ้าวหนังสือร้องเรียนมาแล้วพนักงานสอบสวนแย่ที่สุด แล้วก็
กลายเป็นแหล่งที่เขามาเหยียบแล้วก็ไต่ไปที่อื่น
ส่วนคนที่สอบสวนจริง ๆ ก็นั่ง
ติดอยู่ตรงนั้น
คดีมาทีก็ต้องนั่งทำ สตางค์ก็ไม่ค่อยมีกับเขา พยานก็ต้องไป
ตามมา
ตัวเองก็ต้องไปศาลอยู่เป็นประจำ น่าสงสารมากที่สุดเลย ผมเคย
เสนอเขาบอกว่าต้องแยกพนักงานสอบสวนออกมาแล้วให้เขามีช่องทางของ
เขาขึ้นไป
ใครอย่าไปยุ่งกับเขาเชียว คนที่ไม่เคยสอบสวนอย่าได้มาพูดเลย
แต่ว่าทำไม่ได้ ก็ยังไม่ได้ทำ
นักศึกษา วปอ.
: ขออนุญาตกราบเรียนถาม
คือผมมองใน
แง่ของการใช้บังคับกฎหมาย
ซึ่งต้องยอมรับว่าขณะนี้มีผลมาก ๆ เลย เรื่อง
การใช้บังคับกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเห็นอยู่
เสมอว่า
เราจะเอาคนเฉพาะปลายแถวเท่านั้นที่มาลงโทษได้ตัวการสำคัญ ๆ
เราตามไม่ค่อยถึง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของด้านเศรษฐกิจที่เห็นอยู่ก็ดีหรือว่า
กรณีนักการเมืองทุจริตก็ดี
เราสาวไปไม่ค่อยถึง มันจะเพราะอะไรก็แล้วแต่
จะเป็นเพราะโครงสร้างกระบวนการยุติธรรมเราไม่สมบูรณ์
หรือว่ากฎหมาย
เราไม่ดี
หรือว่าการตีความกฎหมายเราขัดข้อง หรือว่าการขอความร่วมมือ
จากพยานเราไม่ถึงขั้น
ก็สุดแล้วแต่ ก็เป็นปัญหาอยู่ตลอดผมคิดว่าปัญหานี้
ผมยังมองไม่เห็นทางแก้ได้
คำถามอยากจะกราบเรียนถามว่าเราจะแก้กัน
อย่างไรในการใช้บังคับกฎหมายให้มีผลถึงตัวการสำคัญ
ๆ เราจะใช้มาตร
การทางสังคมอย่างไรบ้าง
มีหรือไม่ที่จะมาแก้ไขปัญหานี้ ผมจะถาม ๒
ประเด็น คือ
ถ้าไม่ใช่มาตรการทางสังคมมาตรการทางกฎหมายในทางปฏิบัติ
จะแก้กันอย่างไร
อยากจะกราบเรียนเพิ่มเติมด้วยว่าพฤติการณ์ของตำรวจที่
อยากไปอยู่จักรวรรดิ์นั่น
ผมคิดว่าเป็นพฤติการณ์ที่น่ารังเกียจและควรจะต้อง
ทำลายให้หมดสิ้นไป
เราต้องต่อต้านบุคคลเหล่านี้จะสนับสนุนไม่ได้ ผมเอง
ผมคิดว่าตำรวจยุคใหม่นี้คงมีความคิดเช่นนั้นไม่มากหรอกครับ
คงมีน้อย
ประธานวุฒิสภา : ผมไม่รู้ว่ายุคใหม่หรือยุคเก่า
เมื่อ ๒-๓
วันเห็นเขาตั้งผู้กำกับกับสารวัตรกัน
เห็นวิ่งกันจ้าละหวั่นเลย คนที่อยู่แล้วก็นั่ง
กอดเก้าอี้กลัวว่าตัวจะไป
คนที่จะมาใหม่ก็พยายามวิ่งกันอยู่ มันเป็นเรื่องน่า
เห็นใจที่สุดที่คนที่อยู่ในกรมตำรวจ
ผมเคยพูดอย่างนี้ว่าคนที่ไม่มีเวรกรรมพอ
สมควรแล้วจะไม่ได้มารับราชการ
แล้วคนที่ไม่มีเวรกรรมอันร้ายกาจสาหัส
แล้วจะไม่ได้เป็นตำรวจ
คือมันจะไปตกอยู่ในวังวนนี้ แล้วคนดีนี่น่าสงสารที่
สุดเลย ในกรมตำรวจ
เพราะมันจะถูกเตะไปข้ามไปข้ามมา จนวันหนึ่งคนนั้น
หมดความอดทนก็ต้องวิ่งไปหาใครสักคน
หาใครไม่ได้ บางทีหาเสี่ยงก็ยังมี ดู
แล้วน่าสงสารที่สุด
ผมก็ไม่รู้ว่าเขาจะแก้กันอย่างไร แก้ ก.ตร.ไปให้แล้ว
ก.ตร.ก็ไม่ค่อยทำงานกันเท่าไร ปัญหาที่ว่าในการดำเนินคดีหลายคดี โดย
เฉพาะในคดีเศรษฐกิจไม่ได้ผล
เพราะผมคิดว่าเราเริ่มต้นผิด เราโยนคดีทุก
คดีทุกชนิดให้กับตำรวจโดยไม่คำนึงถึงพื้นฐานความรู้
คดีเศรษฐกิจอย่าว่า
แต่ตำรวจซึ่งเป็นเป็ดนะครับไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งจะเข้าใจได้
คนทั่ว ๆ
ไปก็ยังไม่เข้าใจเงื่อนงำ ไม่เข้าใจถึงวิธีการแยบยลทั้งหลายในการที่
ทำให้เกิดการทุจริตยักยอก
และตัวเองก็ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ที่ไปจับกุมมาแต่แรก
การที่ใครคนใดคนหนึ่งไปสอบเบื้องต้นแล้วก็ได้ข้อมูลพอสมควร
แล้วก็ไป
กล่าวโทษไว้ที่กรมตำรวจ
ถึงแม้กรมตำรวจจะมีกองเศรษฐกิจขึ้นมาแต่ผมก็
เห็นว่ากองเศรษฐกิจนั้นก็ย้ายขึ้นมาจากที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง
ไม่ค่อยเห็นมีใคร
เรียนทางเศรษฐกิจทางการเงินการคลังมากน้อยเท่าไร
เพราะฉะนั้นก็ยากที่
จะให้ตำรวจติดตามหรือศึกษาคดีเหล่านั้นได้อย่างละเอียดรอบคอบ
ถ้าจะทำ
ได้ก็ต้องใช้เวลานานมาก
เราก็จะพบว่ามีการกล่าวหาบุคคลไปตั้งเยอะแล้ว
ห้ามเดินทางออกต่างประเทศก็เยอะแล้ว
แต่ใครรู้บ้างไหมครับว่าแล้วมีการ
เริ่มฟ้องได้กี่คดีเพราะว่ามันยังสอบไม่เสร็จ
มันสอบไม่ได้จริง ๆ นะ ศึกษา
ยาก จริง ๆ
เรื่องเหล่านี้ต้องเป็นเรื่องของสถาบันที่ควบคุมการเงิน เขาต้อง
เป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงในการฟ้องร้องคดี
เหมือนกับหน่วยต่างประเทศที่ DEA
เขาก็ดำเนินการฟ้องร้องเขาเองใช่ไหม
เขาก็ไม่ต้องไปส่งให้ตำรวจไม่ต้องไป
ส่งให้ใครต่อใคร เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญเขาก็ฟ้องเอง
เขาจะสามารถบอกได้ง่าย
กว่าแต่ถ้ามาโยนให้ตำรวจ
ตำรวจก็เป็นแพะเปล่า ในที่สุดก็คงลำบากจะไป
เอาความรู้เหล่านั้นมาได้อย่างไร
แต่ก่อนนี้เราเคยมีกองตรวจภาษี เราก็บอก
ไม่ไหวหรอก ไม่ทันกินตำรวจ
เดี๋ยวก็จะไปเกิดข้อครหาเสียเปล่า ๆ ก็ยกเลิก
กันไป ต่อมาก็มามีกองเศรษฐกิจ
ตอนนี้ยิ่งยากกว่ากองภาษีอีกเพราะ
เศรษฐกิจคราวนี้มันเศรษฐกิจแบบเคาะกันตามจอคอมพิวเตอร์แทบจะไม่รู้
ข้อมูล ไม่รู้ตื้นลึกหนาบาง
ตามไม่ทัน ตามไม่ได้แล้วจะฟ้องร้องกันอย่างไรก็
ยังลำบาก
ผมก็ไม่แน่ใจว่าผมตอบปัญหาหรือเปล่านะครับ แต่คิดว่าคำตอบก็
น่าจะเป็นว่ายังอยู่ในมือตำรวจจะลำบาก