การบรรยาย
การบรรยาย
การร่างกฎหมาย
นายอัชพร จารุจินดา
กรรมการร่างกฎหมายประจำ
บทที่ ๑
แนวความคิดเกี่ยวกับการร่างกฎหมาย
- กฎเกณฑ์อาจเป็น
- ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล -
กฎหมายแพ่ง
- การรักษาความสงบเรียบร้อย -
กฎหมายอาญา
- การให้อำนาจรัฐบริหารประเทศ -
กฎหมายปกครอง
- กฎเกณฑ์ต่าง
ๆ มีการพัฒนาไปตามสภาพสังคม
เช่น
ซื้อขาย -
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
สัญญา -
สัญญาไม่เป็นธรรม
การค้าขาย -
กฎหมายทุ่มตลาด/ผูกขาด/การ
ประกอบอาชีพที่มีผลกระทบสังคม
- กฎหมาย
: จึงเป็นเรื่องการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมและเป็นเรื่องผูกพันอยู่กับสังคม
- การร่างกฎหมาย
: การสร้างกลไกทางกฎหมายซึ่งต้องเข้าใจในศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้อง
เพื่อแปลงมาสู่กฎหมายที่ใช้บังคับได้ตามเจตนารมณ์ มิใช่การใช้ภาษาไทย
- ความสำคัญ
: วางกลไกการบริหารประเทศ
- บทบาทของนักร่างกฎหมาย ซึ่งต้องประกอบด้วย
๑.
การสามารถทราบปัญหาของสังคมเป็นอย่างดีว่าปัญหาพื้นฐานเกิดขึ้นจากสิ่งใด
มีสาเหตุอย่างไร เกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง และแนวทางแก้ไขปัญหานั้นจะกระทำอย่างไร
๒.
ต้องมีวิสัยทัศน์สามารถเล็งเห็นปัญหาและการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
๓.
ต้องรู้กระบวนการออกกฎหมายของประเทศ
ลักษณะกฎหมายที่เหมาะสมจะนำมาใช้เป็นรูปแบบเพื่อแก้ไขปัญหานั้น
๔.
ต้องรู้กฎหมายทุกลักษณะที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นว่าจะมีกฎหมายใดนำมาใช้บังคับได้
หรือจะทำให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ขึ้นได้อย่างไร
๕.
ต้องรู้จักออกแบบกลไกที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหา
ทั้งในแง่การกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติ และการจัดองค์กรบังคับการตามกฎหมาย
๖.
ต้องรู้จักนำกลไกต่าง
ๆ
มาเขียนเป็นกฎหมายที่จะทำให้ผู้ใช้กฎหมายเข้าใจได้ง่ายมีการปฏิบัติถูกต้องตามวัตถุประสงค์ในการตรากฎหมาย
สรุป
- การร่างกฎหมายเป็นหัวใจในการบริหารประเทศให้เกิดขึ้น
- รัฐจะบริหารประเทศได้มีประสิทธิภาพ
ก็ต้องอาศัยกลไกของกฎหมายผลักดันให้เกิดขึ้น
ยกตัวอย่าง นโยบาย
พรฎ.บริหารกิจการ
- แผนบริหารราชการ แปลงนโยบายมาเป็นปฏิบัติ
-
แผนปฏิบัติการ
- แผนกฎหมาย (ต.ย.แผนพัฒนาเศรษฐกิจ) การออกกฎเกณฑ์เพื่อบังคับให้เป็นไปตามนั้น
-
แผนงบประมาณ
บทที่
๒
ลักษณะกฎหมายและกระบวนการตรากฎหมาย
- แบ่งได้หลายรูปแบบ
- แบ่งตามองค์กรผู้มีอำนาจตรากฎหมาย -
ในแง่การร่างกฎหมาย
๑.
กฎหมายของฝ่ายนิติบัญญัติ
- พระราชบัญญัติ
- ลักษณะกฎหมาย -
บังคับใช้ทั้งหมดทุกคน
ข้อจำกัด -
กระทบสิทธิเสรีภาพได้
๑.
ขัดรัฐธรรมนูญไม่ได้ -
มีบทลงโทษผู้ฝ่าฝืน
๒.
ต้องสอดคล้องกับกฎหมายอื่น
ๆ -
การรับรองฐานะตามกฎหมาย
-
กระบวนการตรากฎหมาย
ผู้เสนอ
๑.
ครม.
๒.
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เมื่อพรรคเห็นชอบและมีผู้รับรอง ๒๐ คน
๓.
ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า
๕ หมื่นคนร้องขอ
กระบวนการ

-
โดยปกติกระทรวง จัดทำ
เสนอครม. คณะฯกลั่นกรอง



ครม ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่งครม. ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ส่งสภา
- สภาผู้แทนราษฎร
- วาระที่หนึ่ง รมต.แถลง อภิปรายลงมติ
- วาระที่สอง ตั้งกรรมาธิการรายมาตราแปรญัตติ
- สามัญ
-
วิสามัญ
รายงานสรุปเสนอสภา
สภาพิจารณารายมาตรา (พูดได้เฉพาะที่แก้ไข)
- คนอื่น
-
คนสงวนคำแปรญัตติ
- วาระที่สาม เห็นชอบ
- วุฒิสภา
ต.ย. พิจารณา ๓ วาระ เหมือนกัน
- คุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผลการพิจารณา
- สภาตำบล ๑. เห็นชอบ
๒.
ไม่เห็นชอบ ให้ยับยั้งส่งร่างคืนสภาผู้แทน
- ส่งสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ถ้าเห็นชอบ
นำขึ้นทูลเกล้าถ้าไม่เห็นชอบตั้งกรรมาธิการร่วมส่งสภาทั้ง ๒
ถ้าสภาใดไม่เห็นชอบให้ยับยั้ง
การยับยั้ง : สภาผู้แทนจะยกขึ้นพิจารณาใหม่เมื่อพ้น
๑๘๐ วัน : ถ้ายืนยันร่างเดิมก็เป็นอันใช้ได้
- นายกนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
๒.
กฎหมายของฝ่ายบริหาร
- เป็นที่เข้าใจทั่วไปตรงกันว่าการนิติบัญญัติเป็นเรื่องของรัฐสภา
แต่ในทางความเป็นจริงรัฐบาลในฐานะผู้ใช้อำนาจบริหารก็จำเป็นต้องมีอำนาจตรากฎหมายอยู่ด้วย
ซึ่งมีการรับรองในรัฐธรรมนูญ ได้แก่
- พระราชกำหนด
- พระราชกฤษฎีกา
- พระราชบัญญัติให้อำนาจไว้
- ระดับ
พรบ.
- พระราชกำหนด
(ม.๒๑๘, ม. ๒๑๙ และม. ๒๒๐)
- ลักษณะกฎหมาย -
เท่ากับพระราชบัญญัติ
- เงื่อนไข -
มีเหตุที่กำหนด
๑.
กระทบมั่นคงเศรษฐกิจ+จำเป็นเร่งด่วน
๒.
ภาษีอากร +
ลับ +
ด่วน
- กระบวนการ
- รัฐออกใช้บังคับทันที
- เมื่อมีการประชุมสภาต้องเสนอในโอกาสแรก อาจเสนอ
- ถ้าสภาอนุมัติ
- ใช้ได้ - ประกาศการอนุมัติ ศาลรัฐธรรมนูญ
- ถ้าสภาไม่อนุมัติ - ตกไป ไม่กระทบที่ผ่านมา วินิจฉัย
- ถ้าเป็นกฎหมายภาษีอากรเสนอภายใน
๓ วัน
กฎหมายลำดับรองของฝ่ายบริหาร ก.ม.ไม่อาจเขียนทุกเรื่องได้
เหตุผล
๒.
ปัญหาทางเทคนิค : ยา
/ อาหาร
/ อาคาร
การกำหนดรายละเอียดที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
๓.
ความยืดหยุ่นของก.ม. -
ก.ม.แข็งไม่อาจผันแปรตามสภาพสังคม
- กม.จึงต้องกว้าง แต่หากปล่อยให้พัฒนา
โดยใช้การตีความอย่างเดียว
อาจไกลเกินไป
การมอบออกกฎ
จึงแน่นอน
๔.
การแก้ไขปัญหารีบด่วน
: -
ภาษี (การคลัง)
ข้อจำกัดการออกกฎหมายลำดับรอง
๑.
ฝ่ายบริหารจะมีอำนาจตรากฎหมายลำดับรองได้
เมื่อกฎหมายแม่บทให้อำนาจชัดแจ้งหรือโดยปริยาย
- กฎหมายแม่บทอาจเป็นรัฐธรรมนูญหรือพระราชบัญญัติก็ได้
- เนื้อหาสาระ
ต้องอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายแม่บทกำหนด
- วิธีการออกและวิธีใช้บังคับต้องเป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎหมายแม่บท
(เช่น
ต้องผ่านกรรมการ)
๒.
กฎหมายลำดับรองจะมีบทกำหนดโทษโดยตนเองไม่ได้
- ผู้ฝ่าฝืนต้องถูกลงโทษตามกฎหมายแม่บท
๓.
กฎหมายลำดับรองจะบัญญัติมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารไปออกกฎต่อไปไม่ได้
(sub-delegate) เว้นแต่มอบให้ในเรื่องวิธีปฏิบัติ
นอกนั้นอาจมีเกณฑ์เฉพาะใน
ก.ม.
แต่ละฉบับ
ประเภทและการออกกฎลำดับรอง
๑.
พระราชกฤษฎีกา
- ลักษณะกฎหมาย : - พรฎ.ที่เป็นอิสระ -
อำนาจตามรัฐธรรมนูญ
- พรฎ.ออกตามแม่บท
พรบ.บัญญัติให้ตราพรฎ.ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
- เป็นเรื่องสำคัญเสนอประมุข
เช่น การใช้กฎหมาย/เวลา
/ สถานที่
- กระบวนการ
- กระทรวง ครม.
สคก. ครม. ทูลเกล้าฯ
ประกาศ
๒.
กฎกระทรวง
-
ลักษณะกฎหมาย -
เดิมกฎเสนาบดี
- เป็นการกำหนดรายละเอียด
มีผลทั่วไป
- รมต.ออกเองไม่ได้ต้องผ่าน ครม.
- กระบวนการ
กระทรวง
ครม. สคก. ครม. ประกาศ
๓.
ประกาศกระทรวง/ระเบียบ
- ลักษณะกฎหมาย : เรื่องรายละเอียดเฉพาะกระทรวง
- กระบวนการ
กระทรวงประกาศเว้นแต่มีผลบังคับทั่วไปเข้าครม
๔.
กฎหมายลูกบทอื่น
- ข้อบังคับ
/ กฎ
ก.พ.
- ข้อกำหนด
มติครม.ที่ออกเป็นระเบียบตามกฎหมายบริหารราชการแผ่นดิน
๕.
ข้อบัญญัติท้องถิ่น
- ลักษณะกฎหมาย
-
ข้อบัญญัติโดยใช้อำนาจเอกเทศ
: ออกตามกฎหมาย
จัดตั้ง
มีโทษได้ -
ข้อบัญญัติตามกฎหมายเฉพาะ : สาธารณสุข
/ อาคาร
ในตัวเอง
-
ข้อสังเกต :
กระจายอำนาจ
สรุป
การรู้ประเภทกฎหมายทำให้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพ
สามารถกำหนดตัวผู้รับผิดชอบตามลำดับชั้น
บทที่
๓
การตรวจสอบความจำเป็นในการตรากฎหมาย
บทตรวจสอบ ๑๐ ประการ
- ไม่ให้กฎหมายมีมากเกินความจำเป็น
- ผู้เสนอกฎหมายต้องตรวจสอบให้ได้
บทตรวจสอบ
(Checklist) ๑๐ ประการ
คำถามที่ทุกฝ่ายพึงต้องตอบในการเสนอแนะและพิจารณากฎหมาย
๑.
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของภารกิจ
๑.๑ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของภารกิจนั้นคืออะไร
๑.๒ มีความจำเป็นต้องทำภารกิจนั้นเพียงใด
๑.๓ เพื่อแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องใด
๑.๔
มาตรการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของภารกิจคืออะไร
๑.๕
มีทางเลือกอื่นที่จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกันหรือไม่
๑.๖
ภารกิจนั้นจะแก้ไขปัญหาหรือข้อบกพร่องนั้นได้เพียงใด
๒.
ใครควรเป็นผู้ทำภารกิจ
๒.๑
รัฐควรทำเองหรือควรให้ภาคเอกชนเป็นผู้ทำ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการคุ้มครองประชาชน
ประสิทธิภาพ
ต้นทุนและความคล่องตัว
๒.๒ ถ้ารัฐควรทำ
รัฐบาลควรเป็นผู้ทำหรือควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ทำ
๓.
ความจำเป็นในการตรากฎหมาย
๓.๑
ในการทำภารกิจนั้นจำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาบังคับหรือไม่
ถ้าไม่ตรากฎหมายจะก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการปฏิบัติภารกิจอย่างไร
๓.๒ ถ้าจำเป็นต้องมีกฎหมาย
กฎหมายนั้นควรเป็นกฎหมายระดับชาติหรือกฎหมายระดับท้องถิ่น
๓.๓
ถ้าควรเป็นกฎหมายระดับชาติจำเป็นต้องใช้บังคับพร้อมกันทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักรหรือควรทยอยใช้เป็นท้องที่ท้องที่ไปหรือเพียงบางท้องที่เท่าที่ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและจะกำหนดอายุของกฎหมายไว้ด้วยได้หรือไม่
๓.๔ กฎหมายที่จะตราขึ้นควรใช้ระบบควบคุม
ระบบกำกับหรือระบบส่งเสริม
๓.๕
สภาพบังคับของกฎหมายควรกำหนดเป็นโทษทางอาญาหรือมาตรการบังคับทางปกครอง
๔.
ความซ้ำซ้อนของกฎหมาย
๔.๑
ในเรื่องเดียวกันหรือทำนองเดียวกันนี้มีกฎหมายอื่นบัญญัติไว้แล้วหรือไม่ หากมี จะสมควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงภารกิจที่จะทำหรือสมควรมีกฎหมายขึ้นใหม่
๔.๒ ถ้าสมควรมีกฎหมายขึ้นใหม่จะดำเนินการอย่างไรกับกฎหมายที่มีอยู่แล้ว
สมควรยกเลิกปรับปรุง หรือแก้ไขกฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกันเพียงใดหรือไม่
๕.
ภาระต่อบุคคลและความคุ้มค่า
๕.๑
กฎหมายที่จะตราขึ้นได้สร้างภาระหน้าที่ใดให้เกิดขึ้นแก่บุคคลบ้าง
๕.๒
สิทธิและเสรีภาพของบุคคลในเรื่องใดบ้างที่ต้องถูกจำกัด
๕.๓
การจำกัดนั้นได้จำกัดเท่าที่จำเป็นหรือไม่
๕.๔
ประชาชนและสังคมส่วนรวมจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง
๕.๕
บทบัญญัติในกฎหมายนั้นอยู่ในวิสัยที่จะปฏิบัติได้โดยไม่เกิดความยุ่งยากหรือภาระหน้าที่เกินสมควรหรือไม่
๕.๖ เมื่อคำนึงถึงงบประมาณที่ต้องใช้
ภาระหน้าที่ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนและการที่ประชาชนจะต้องถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับแล้วจะคุ้มค่า
หรือไม่
๖.
ความพร้อมของรัฐ
๖.๑ รัฐมีความพร้อมในด้านกำลังคน
กำลังเงิน ความรู้ ที่จะบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
๖.๒ มีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ผู้ที่จะต้องถูกกฎหมายบังคับมีความเข้าใจ
มีความพร้อมและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างยินยอมพร้อมใจ
๗.
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๗.๑
มีหน่วยงานอื่นใดที่ปฏิบัติภารกิจซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกันหรือไม่ ถ้ามี
สมควรยุบหน่วยงานนั้นหรือควรปรับเปลี่ยนอย่างไรหรือไม่
๘.
วิธีการทำงานและการตรวจสอบ
๘.๑
ในการกำหนดวิธีการทำงานได้กำหนดให้สอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีหรือไม่
๘.๒ มีระบบการตรวจสอบและคานอำนาจ
และกระบวนการที่ทำให้เกิดความรวดเร็ว ไม่ซ้ำซ้อน และมีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง
๙.
อำนาจในการตราอนุบัญญัติ
๙.๑ ได้กำหนดกรอบหรือมาตรการป้องกันมิให้มีการตราอนุบัญญัติที่เป็นการขยายอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือเพิ่มภาระแก่บุคคลเกินสมควรไว้เพียงใดหรือไม่
๑๐.
การรับฟังความคิดเห็น
๑๐.๑
ในการยกร่างกฎหมายได้เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายแสดงความคิดเห็นแล้วหรือไม่
๑๐.๒ ข้อคัดค้านของผู้เกี่ยวข้องมีประการใด
บทที่
๔
เทคนิคการยกร่างกฎหมาย
๑. หลักทั่วไป
จะเริ่มยกร่างกฎหมายอย่างไร
ขั้นตอนที่ ๑ การทำความเข้าใจ
เป็นการศึกษาสภาพปัญหา
โดยทำความเข้าใจนโยบายเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้น
ซึ่งต้องประกอบด้วย
๑.
ต้องทราบความเป็นมาของเรื่องเพียงพอที่ผู้ร่างจะมองเห็นภาพโดยรวมของสภาพปัญหาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
๒.
ผู้กำหนดนโยบายต้องสามารถแจ้งวัตถุประสงค์หลักในการมีกฎหมายให้ชัดเจน
โดยผู้ร่างต้องเข้าใจโดยปราศจากข้อสงสัยในวัตถุประสงค์นั้น
๓.
วิธีการที่จะนำไปสู่วัตถุประสงค์หลักต้องมีการกำหนดชัดเจน
วิธีการ
ต้องมีการหารือร่วมกับผู้กำหนดนโยบายให้ได้คำตอบที่ผู้ร่างสร้างภาพได้
เช่น หมอรักษาคนไข้ ต้องรู้ว่าเจ็บป่วยอาการอย่างไร /
สถาปนิกสร้างบ้าน เช่น
ให้ออกกฎหมายปรามหวยเถื่อน ต้องรู้เรื่องหวยเถื่อน /ไม่รู้ว่าโกงภาษีอย่างไร
จะเขียนกฎหมายได้อย่างไร / กฎหมายสมยอมเสนอราคาต้องรู้ว่าการฮั้วกันทำอย่างไร
เช่น ข้าราชการครูพลศึกษา
: จะเอายังไง
-
เป็นขั้นตอนสำคัญมากถ้าเข้าใจผิดก็ยกร่างผิดไป
ขั้นตอนที่ ๒ การวิเคราะห์กลไกของกฎหมาย
เหมือนเขียนหนังสือ/ -
เป็นการนำนโยบายมาศึกษาวิเคราะห์
เพื่อกำหนดกลไกของกฎหมาย
รายงาน โดยการทำหัวข้อของกฎหมายว่ามีกี่หัวข้อที่จำเป็นต้องมีในกฎหมาย
เพื่อให้
เค้าโครงนำมาจาก บรรลุวัตถุประสงค์
และวิเคราะห์แต่ละหัวข้อมีปัญหาข้อกฎหมายหรือข้อขัดข้อง
นโยบาย+ข้อกม. ในการใช้กฎหมายอย่างไร
- เครื่องมือในการช่วยกำหนดกลไกของกฎหมาย
๑
เข้าใจในระบบกฎหมายของไทยที่ใช้บังคับในปัจจุบันและในอดีต
- กระบวนการตรา
ก.ม.
- ลักษณะ
ก.ม.
หรือศักดิ์ของ ก.ม. (ลำดับรองข้อจำกัด)
- รู้เนื้อหาของกฎหมายทุกฉบับ
- รู้กลไกแต่ละก.ม.
- ไม่ขัดแย้ง
๒.
เข้าใจระบบการบริหารงาน
- ก.ม.จะบังคับให้สำเร็จได้ไม่ใช้โทษอย่างเดียว
แต่ต้องมีองค์กรบังคับใช้ที่เหมาะสม
- รู้ว่ากรณีใดควรเป็นอำนาจ
รมต. / ปลัดกระทรวง
/ อธิบดี
หรือควรเป็นคณะกรรมการ
- ควรทำโดยเจ้าหน้าที่หรือเอกชน
/ การออกแบบองค์กร
๓.
เข้าใจเรื่องเทคนิคของเรื่องที่จะตรากฎหมาย
เช่น ทำ ก.ม.
ตลาดหลักทรัพย์
๔.
ต้องทราบสภาพปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น
- เพื่อหลีกเลี่ยงหรืออุดช่องว่างปัญหาที่เคยเกิดขึ้นแล้ว
เช่น ต.ย. ก.ม.ชื่อสกุลหญิงมีสามี
- ศาลรัฐธรรมนูญ
: บังคับไม่ได้
๕.
การเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ
- รวดเร็ว
เพราะแก้ปัญหาแล้ว ดูว่าคิดอะไร ระวังให้ดูข้อวิเคราะห์สภาพการใช้กฎหมาย
- อย่าลอกเลียนตรง
ต้องปรับกับของไทย
- หน้าที่พิเศษของนักร่างกฎหมาย :
(หน้าที่อันตราย)
- แม้ว่าปกตินโยบายถูกหรือผิดไม่ใช่หน้าที่นักร่างกฎหมายก็ตาม
(เช่น
กำหนดพื้นที่ป่าสงวน นักร่างกฎหมายไม่มีหน้าที่บอกว่าพื้นที่นี้ไม่เอา)
- แต่ในท้ายที่สุด
นักร่างกฎหมายก็ไม่สามารถล้างมือให้สะอาดได้
เพราะนักร่างกฎหมายต้องรับผิดชอบต่อสังคมในกฎหมายที่ทำขึ้น : การปรับนโยบายเป็นกฎหมายต้องดูกรอบความเหมาะสมที่มีผลกระทบด้วย
- ที่ว่าอันตรายคือต้องโต้แย้งผู้กำหนดนโยบาย
+ ตอบสังคม
- ตัวอย่างเช่น
เรื่องที่เป็นหน้าที่พิเศษของนักร่างกฎหมายต้องดูในร่างกฎหมายที่มีบทบัญญัติ
*
โดยปกติสิทธิรัฐธรรมนูญ ๑. กระทบสิทธิของบุคคล - เกินสมควรกว่าเหตุ
มีข้อยกเว้นให้ออกกฎหมายได้ ๒.
กระทบสิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล - หรือมีการเยียวยาแล้ว
แต่ต้องดูเป็นพิเศษ ๓. การใช้กฎหมายย้อนหลัง
๔.
กระทบต่อชุมชนหรือสาธารณประโยชน์
๕.
กระทบสิทธิของดินแดน
ต.ย. ๖. กระทบสิ่งที่ขัดต่อการเป็นประชาธิปไตย (มากกว่ารัฐธรรมนูญ)
กม.โรงรับจำนำแก้อัตราดอกเบี้ย ๗.
กระทบการประกอบอาชีพเกินสมควร
อันอยู่ไม่ได้หรือเฉพาะรายเก่า ๘.
กระทบต่อหน้าที่ของหน่วยงานอื่นของรัฐ
- นักร่างกฎหมายต้องระวัง
เพราะอาจเป็นคนเยียวยาสังคมให้ได้รับความเป็นธรรม หรือ
ผลักคนในสังคมให้ตกอยู่ในความทุกข์ ก็ได้
ขั้นตอนที่ ๓ การเขียนกฎหมาย
เป็นขั้นตอนการยกร่างเป็นกฎหมาย
ซึ่งต้องใช้กระบวนการในการคิดและเขียนเป็นข้อความให้ตรงความมุ่งหมาย
โดยต้องผ่านการปรึกษาหารือร่วมกันหลาย ๆ คน และอาจร่างหลาย ๆ ครั้ง
จนกว่าจะครบถ้วน ซึ่งมีข้อพิจารณาดังนี้
๑.
การยกร่างกฎหมายใหม่
- ต้องมีเนื้อหาครบถ้วนจบกระบวนการในฉบับเดียวทั้งกรณี
ผู้บริหารกฎหมาย / ผู้ปฏิบัติตามกฎหมาย
/ วิธีปฏิบัติตามกฎหมาย
/ การควบคุมหรือบังคับใช้กฎหมาย
๒.
การยกร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
- กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการยกเลิกข้อความเดิมและนำข้อความใหม่เข้าไปแทนที่ : ต้องดูว่าไปกันได้กับกฎหมายเดิมหรือไม่
และสอดคล้องเรื่องระยะเวลาการใช้กฎหมายด้วย ตัวอย่างเช่น กฎหมายข้าราชการตุลาการ
(ในพระราชบัญญัตินี้)
- กฎหมายที่แก้ไขใหม่
ถ้าต่อมาถูกยกเลิก กฎหมายเก่าไม่กลับคืนมา (ถ้าจะเอาหลักการเดิมก็ต้องเขียนใหม่)
- กฎหมายที่แก้ไขอาจแยกเป็นบทต่างหากก็ได้
ขั้นตอนที่ ๔ การตรวจสอบ
- ร่างเสร็จแล้ว
ทิ้งไว้แล้วตรวจสอบขั้นสุดท้ายก่อนเสนอร่าง
- การตรวจนอกจากตรวจภาพรวมของกฎหมายทั้งฉบับแล้วควรตรวจในเรื่องดังนี้ด้วย
๑.
การใช้ถ้อยคำ /
การใช้วรรคตอน
๒.
ผลกระทบกับกฎหมายอื่น (อาจมีกฎหมายใหม่อีก)
๓.
การอ้างอิงตัวบทกฎหมายภายในร่าง
๔.
การกำหนดคำนิยาม /
คำที่มีความหมายเฉพาะ
(ผู้ขออนุญาต)
๕.
บทกำหนดโทษ
๖.
การแบ่งหมวดหมู่
๗.
การใช้ตัวเลข
- แน่ใจแล้วก็เสนอกฎหมายต่อไปได้
๒. การใช้ถ้อยคำหรือข้อความในกฎหมาย
๑.
ถ้อยคำที่ใช้ในร่างกฎหมายต้องสั้น
กระทัดรัดและง่าย ถ้อยคำที่เป็นโวหารเป็นเพียงพลความที่ทำลายคุณค่าของภาษากฎหมาย
๒.
ไม่ควรบัญญัติเหตุผลรายละเอียดไว้ในกฎหมายเพื่ออธิบายความ
เพราะเหตุผลจะเกิดช่องแห่งการโต้แย้งขึ้นได้ และแคบ
- ภาษากฎหมายคือกำหนดกฎเกณฑ์ว่าผู้ใดต้องปฏิบัติอย่างไร
หรือมีการปฏิบัติอย่างไรจะมีผลเป็นอย่างไร
- ไม่พรรณนา (เมื่อมีเหตุอย่างนั้นมีผลอย่างไร
ให้ทำอย่างไร)
๓.
ศัพท์ที่เลือกใช้ควรเป็นศัพท์ที่มีความหมายที่แน่นอนที่สุดเท่าที่จะทำได้และมิใช่เป็นเพียงคำที่มีความหมายใกล้เคียง
เพื่อมิให้เกิดข้อถกเถียง
- การตีความเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อนำข้อกฎหมายไปปรับกับข้อเท็จจริงแต่มิใช่ตีความว่าถ้อยคำนี้แปลว่าอะไร
๔.
ถ้อยคำที่ใช้ในกฎหมายต้องมีความหมายทุกถ้อยคำ
และสามารถอธิบายได้ว่าเหตุใดจึงเขียน ตัวอย่างเช่น อ.ก.พ.นี้ไม่จำเป็น (แต่มิใช่ตัดสั้นจนไม่รู้ : ที่นี่ขายปลาสด)
๖.
ไม่ควรบัญญัติหลักการใหญ่ปะปนกับข้อยกเว้น
ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขต่าง ๆ
๗.
ในเรื่องเดียวกันพึงใช้หรือพิจารณาข้อความที่เคยมีการใช้ในกฎหมายที่มีมาแล้ว
ประโยชน์ -
ประหยัดเวลา
- ช่วยให้เกิดความคิดในการร่างกฎหมาย
- ข้อกฎหมายเป็นอย่างเดียวกัน
๘.
ไม่ควรบัญญัติถ้อยคำซ้ำซ้อน
ให้ใช้การอ้างอิงกฎหมาย
เช่น
- กม.ที่มีอยู่แล้ว -
ระวัง ๑. การอ้างอิงบทลงโทษ
- อนุโลม ๒. การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย/ข้อความเดิม
๙.
รู้หลักการตีความกฎหมาย
- การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายเฉพาะ
- อย่างหนึ่งอย่างใด
/ อื่น
ๆ
- อำนาจหน้าที่
สรุป อย่ามั่นใจว่าเก่งที่สุด /
เชี่ยวชาญที่สุด ต้องใจกว้างยอมรับฟังคำวิจารณ์
คนอื่น อ่านไม่รู้เรื่อง ต้องกลับมาทบทวน
๓. โครงสร้างของกฎหมาย
กฎหมายมีรูปแบบมาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีในเนื้อหาของกฎหมาย
ซึ่งแยกเป็นแต่ละลักษณะกฎหมายได้ดังนี้
๑.
พระราชบัญญัติ
ประกอบด้วย
หลักการ -
เป็นการกำหนดกรอบที่แสดงถึงวัตถุประสงค์
เหตุผล - เป็นการแสดงรายละเอียดความจำเป็นและขอบเขตของกฎหมายนี้
๒.
ชื่อของกฎหมาย
-
สั้น ตรง เนื้อหา
-
กฎหมายใหม่
- กฎหมายยกเลิก
ฉบับที่ .. พ.ศ.
.
๓.
คำปรารภ การอ้างมาตรา
๒๙ รัฐธรรมนูญ
๔.
วันใช้บังคับ
- วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
/ วันประกาศ
/เมื่อพ้น
๑๒๐ วัน
- มีเงื่อนไข
บทมาตราใช้บังคับเมื่อ
/ จะใช้ให้ตรา
พรฎ.
๕.
บทยกเลิกกฎหมายเดิม
ไม่ควรใช้บทกวาด
บทกฎหมายใดขัดหรือแย้ง
๖.
บทนิยาม
-
คำยาว
เขียนให้สะดวกอ้างถึง
-
ให้มีความหมายกำหนดขึ้นใช้เฉพาะในกฎหมายนี้
(รัฐวิสาหกิจ)
-
ให้ทำสารบัญมีความหมายพิเศษไม่ว่าในทางขยายความหรือทำให้แคบลง
๗.
เนื้อหาสาระของกฎหมาย
เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายแต่ละฉบับ
ตัวอย่าง ๑. คณะกรรมการ
๒.
ระบบอนุญาต
๘.
บทบังคับตามกฎหมาย มีหลากหลายมิใช่โทษอาญา
วัตถุประสงค์
๑.
จูงใจให้คนปฏิบัติตามกฎหมาย
๒.
ป้องกันมิให้เกิดผลร้าย
๓.
เยียวยาความเสียหาย
มาตรการ
๑.
มาตรการทางอาญา - แยกออกจากสังคม
๒.
มาตรการทางแพ่ง - บังคับเอกชน
- บังคับค่าเสียหาย
/ การชดใช้
- การส่งมอบ
- การให้กระทำหรือไม่กระทำ
- การไม่รับรู้ผลทางกฎหมาย
/ จำกัดสิทธิ
๓.
มาตรการทางปกครอง
- การอนุญาต
- การออกคำสั่ง
- จนท.บังคับ
๔.
มาตรการจูงใจ
- ส่งเสริม
- ยกเว้นภาษี
ในกฎหมายหนึ่งอาจใช้หลายมาตรการควบคู่กันไป
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การใช้บังคับกฎหมาย
๙.
บทเฉพาะกาล
- การปฏิบัติตามกฎหมายใหม่
- การรับรองเรื่องเดิมก่อนกฎหมาย
๑๐.
ผู้รักษาการตามกฎหมาย
ความหมาย
-
เป็นผู้รับผิดชอบในการนำกฎหมายไปใช้บังคับ
/ดูแลกฎหมาย
/เสนอแก้ไขกฎหมาย
-
เป็นผู้กำหนดรายละเอียดในการปฏิบัติตามกฎหมาย
-
เป็นผู้รับผิดชอบต่อสภา
๒.
พระราชกำหนด
- เหมือนพระราชบัญญัติ
- สำคัญที่เหตุผล ในบันทึกหลักการและเหตุผล
๓.
พระราชกฤษฎีกา
- บันทึกหลักการและเหตุผล
- ชื่อเฉพาะตามบทที่อาศัยอำนาจ
เช่น พรฎ.การบริหารกิจการ
- คำปรารภ
อ้างบทอาศัยอำนาจ
๔.
กฎกระทรวง
- กำหนดรัฐมนตรีผู้ออก - วันใช้บังคับไม่ต้อง : เพราะพรบ.ให้ประกาศ
- บทอาศัยอำนาจ ในราชกิจจาฯ เว้นแต่จะต้องการวันเฉพาะ
๕.
ระเบียบ /
ข้อบังคับ /
ประกาศ
กำหนดรายละเอียดตามกรอบของกฎหมายแม่บท
อย่าไปสร้างภาระขึ้นใหม่นอกเขตกฎหมาย ต.ย. พรบ.ลดอัตราภาษี - งดเลยไม่ได้