หน้าหลัก > ข่าวสารและผลงาน> บทความทางกฎหมาย
การใช้ถ้อยคำ "ใด-หนึ่ง" กับ "หนึ่ง-ใด" (ศ.พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์)

บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

                        บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

                      เรื่อง  การใช้ถ้อยคำ “ใด–หนึ่ง” กับ “หนึ่ง-ใด”

                                                               

 

                       ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์  วงศ์วัฒนศานต์

 

. ความเป็นมา

 

                        ในภาษากฎหมายไทย มีการใช้ถ้อยคำ “ใด-หนึ่ง” กับ “หนึ่ง-ใด” ทั้ง

สองคำมานานแล้ว ดังปรากฏในพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นในรัชสมัยของพระบาท

สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เช่น

                        () พระราชบัญญัติธรรมเนียมคลอง (จุลศักราช ๑๒๓๒)

                              “มาตรา ๑  ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใด เททิ้งสิ่งของสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงใน

ลำคลองเป็นอันขาดทีเดียว ฯลฯ”

                        () พระราชบัญญัติเรื่องพยาน (จุลศักราช ๑๒๓๒) ในส่วนของคำ

ปรารภ

                              “ฯลฯ ถ้าพยานรับค้านแต่ข้อใดข้อหนึ่ง ไม่มีพยานอื่นเจือฟัง

เป็นพยานไม่ได้ โจทก์จำเลยยอมให้สืบจึ่งฟังเป็นพยานได้ ฯลฯ”

                        นอกจากนี้ยังมีความจงใจในกฎหมายบางฉบับที่มีการใช้ถ้อยคำทั้ง

คำว่า “ใด-หนึ่ง” “หนึ่ง-ใด” หรือระบุจำนวนคน ไว้ในข้อต่าง ๆ ของกฎหมายฉบับเดียว

กัน ซึ่งถ้าพิจารณาให้ละเอียดจะสื่อไปยังความหมายที่แตกต่างกัน เช่น

(๑)   พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตดคือที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน

(จุลศักราช ๑๒๓๖)

                              “ข้อ ๓  ข้าราชการผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่น

ดินได้ทรงพระกรุณาโปรดยกย่องตั้งไว้ในที่ปฤกษาราชการแผ่นดินแล้ว ฯลฯ”

                              “ข้อ ๑๐  ถ้าที่ปฤกษาผู้ใดผู้หนึ่ง อยากจะให้ที่ปฤกษา ๆ ข้อ

กฎหมายตามที่ตัวได้คิดเห็น ฯลฯ”

                              “ข้อ ๒๑  ฯลฯ ไวซ์เปรสิเดนจะยกความข้อนั้นขึ้นปฤกษาในที่

ประชุมเพื่อจะให้เคาน์ซิลลอร์ออฟสเตดทั้งปวง เห็นผิดแลชอบพร้อมกัน ฯลฯ”

(๒)   พระราชบัญญัติปรีวีเคาน์ซิลคือที่ปฤกษาในพระองค์ (จุล

ศักราช ๑๒๓๖)

                              “ข้อ ๑  ฯลฯ ถ้าผู้หนึ่งผู้ใดได้เป็นที่ปฤกษาในพระองค์ ฯลฯ”

                              “ข้อ ๔  ฯลฯ ถ้าที่ปฤกษาผู้ใดผู้หนึ่งลอบหนีไปไม่ลาฤาลาไป

เกินกำหนดที่ตัวได้บอกไว้ ฯลฯ”

 

                              “ข้อ ๖  ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน จะดำรัสสั่งให้ที่

ปฤกษานายหนึ่ง สองนาย ฤามากด้วยกัน ให้เป็นกอมมิศชัน คือข้าหลวงไปสืบราช

การเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ฯลฯ”

                        () ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                              มาตรา ๓๗๒  วรรคหนึ่ง  ซึ่งบัญญัติว่า “นอกจากกรณีที่กล่าวไว้

ในสองมาตราก่อน ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะ

โทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดก็ไม่ได้ไซร้ ท่านว่าลูกหนี้หามีสิทธิจะชำระหนี้ตอบแทนไม่”

                              บทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ถ้าการชำระหนี้ตกเป็นพ้น

วิสัยไม่อาจกระทำได้ไม่ว่าด้วยเหตุใดเพียงเหตุเดียวก็ตาม และเหตุนั้นจะโทษบุคคล    

ใด ๆ  ไม่ว่าเจ้าหนี้หรือลูกหนี้หรือบุคคลอื่น ๆ ไม่ได้ ลูกหนี้ก็ไม่มีสิทธิจะรับชำระหนี้ตอบ

แทน

                              จะเห็นได้ว่า การใช้ถ้อยคำแตกต่างกันในกฎหมายฉบับเดียวกัน

น่าจะเป็นความตั้งใจของผู้บัญญัติกฎหมายในการใช้ถ้อยคำดังกล่าวโดยตรง เพื่อให้

เกิดความหมายเฉพาะตามลักษณะของรูปประโยคที่ใช้ มิใช่เป็นการใช้อย่างสับสนอย่าง

ที่สงสัยในภายหลัง และการใช้ถ้อยคำดังกล่าวยังคงมีการใช้สืบเนื่องมาในกฎหมาย

ระยะหลัง ๆ จนเป็นแนวทางที่เข้าใจในการเขียนกฎหมายจนถึงปัจจุบัน

                              ในชั้นการพิจารณาร่างกฎหมายของรัฐสภาก็ได้มีคำถามเกี่ยว

กับการใช้ถ้อยคำคู่นี้ขึ้นอยู่เสมอว่าที่ถูกต้องควรจะใช้อย่างไร สำนักงานคณะกรรมการ

กฤษฎีกาในฐานะที่เป็นหน่วยงานตรวจพิจารณาร่างกฎหมายจึงเห็นสมควรให้มีการ

วิเคราะห์เรื่องดังกล่าวซ้ำเพื่อให้การใช้ถ้อยคำดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้อง

 

. การวิเคราะห์ในอดีต

                        สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยมีการพิจารณาหลักการใช้

คำคู่นี้อยู่เสมอดังปรากฏในการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ

แพ่ง เมื่อปี ๒๕๑๒ ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธี

พิจารณาความแพ่งซึ่งมีหลวงจำรูญเนติศาสตร์เป็นประธานกรรมการ ได้พิจารณาร่าง

การใช้ถ้อยคำในมาตรา ๔๔/๒ กรณีการเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความตาย ว่า ถ้าไม่เป็น

ที่ตกลงกันได้ว่าผู้ใด(แต่คนเดียว) จะเข้าเป็นคู่ความแทนที่คู่ความผู้ตาย จะใช้คำว่า “คน

หนึ่งคนใด” ได้หรือไม่ โดยคณะกรรมการฯได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ (นายกมล

สนธิเกษตริน เลขานุการ และนายอักขราทร จุฬารัตน ผู้ช่วยเลขานุการ) ทูลถามพระ

เจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ซึ่งทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้าน

นิติศาสตร์และอักษรศาสตร์ ถึงความหมายของคำว่า “คนหนึ่งคนใด” และ “คนใดคน

หนึ่ง” ซึ่งเสด็จในกรมฯได้ประทานความเห็น สรุปได้ดังนี้

                  “คนหนึ่งคนใด” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “any person” หมายถึงคน

หนึ่งหรือหลายคนก็ได้ และคำว่า “คนใดคนหนึ่ง” ตรงกับคำว่า “a person” ซึ่งหมายถึง

คนหนึ่งและคนเดียว และสามารถนำหลักเกณฑ์นี้ไปใช้กับกรณีที่นำคำว่า “ใด-หนึ่ง”

หรือ “หนึ่ง-ใด”ประกอบกับ คำอื่น เช่น “ข้อใดข้อหนึ่ง” หรือ “สิ่งหนึ่งสิ่งใด” ได้และมีนัย

เช่นเดียวกัน

                        นอกจากนี้นายกมลฯ ได้แจ้งว่า ได้มีการสอบถามการใช้คำสองคำนี้

จากเจ้าหน้าที่ราชบัณฑิตยสถานอีกทางหนึ่งด้วย แต่ยังมีความเห็นแตกแยกไม่ตรงกัน

อยู่[๑]

                        ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธี

พิจารณาความแพ่งส่วนใหญ่เห็นชอบด้วยกับแนวทางการใช้ถ้อยคำที่เสด็จในกรมฯ ทรง

ประทานไว้ อย่างไรก็ดีเห็นว่าถ้อยคำตามร่างมาตรา ๔๔/๒ ที่พิจารณานั้น ผู้ร่างมีความ

ประสงค์จะเน้นให้เกิดความชัดเจนว่าต้องเป็นคน ๆ เดียวเท่านั้น โดยไม่ต้องตีความ ที่

ประชุมจึงมีมติให้ใช้คำว่า “…ผู้ใดแต่คนเดียว”

                        ในการร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ถือ

ปฏิบัติตามแนวทางดังกล่าวมาโดยตลอด และได้มีการเตือนให้คงหลักการใช้คำเหล่านี้

อยู่เป็นระยะในการประชุมฝ่ายร่างกฎหมายของสำนักงานฯ เมื่อมีผู้หยิบยกประเด็น

ความถูกต้องของการใช้ถ้อยคำขึ้นรวมทั้งได้มีการวางแนวทางการใช้ถ้อยคำดังกล่าวใน

การปฏิบัติงานของฝ่ายร่างกฎหมาย[๒]

. การกลับมาของปัญหา

                        ในบรรดาผู้หยิบยกประเด็นความถูกต้องของการใช้ถ้อยคำคู่นี้ขึ้นใน

การพิจารณาร่างกฎหมาย นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตและอดีตสมาชิกวุฒิ

สภา เป็นท่านหนึ่งหลักการใช้คำว่า “ใด-หนึ่ง” กับ “หนึ่ง-ใด” ตามหลักภาษาไทยว่า

 

ท่านได้เคยเรียนถามเจ้าคุณพระธรรมนิเทศทวยหาญ(อยู่ อุดมศิลป์ ป. ) อดีต

กรรมการชำระปทานุกรม ซึ่งเป็นผู้มีความละเอียดลออในการเขียนภาษาไทยมาก จน

เป็นที่เคารพของกรรมการชำระปทานุกรมเป็นอย่างยิ่ง และเจ้าคุณพระธรรม

นิเทศทวยหาญได้อธิบายให้ทราบว่าการใช้คำดังกล่าวที่ถูกต้องตามหลักภาษานั้น ควร

ใช้คำว่า “ใด-หนึ่ง” มิใช่ “หนึ่ง-ใด” เพราะเป็นการเขียนภาษาไทยตามแบบอย่างของ

ภาษาบาลี คือคำ “ใด” นั้นจะต้องใช้เข้าคู่กับคำว่า “นั้น” เสมอ เช่น “เมื่อใด-เมื่อนั้น”

“ฉันใด-ฉันนั้น”เช่นที่ภาษาบาลีใช้ “ยทา-ตทา” และ “ยถา-ตถา” ฯลฯ หรือถ้าเกี่ยวกับ

บุคคลหรือสิ่งของก็ต้องใช้คำ “-” (ยะ – ตะ) เช่น

                  “ผู้ใดกระทำกรรมดี ผู้นั้นย่อมได้รับผลดี ผู้ใดกระทำกรรมชั่ว ผู้นั้น

ย่อมได้รับผลชั่ว ฯลฯ”

                        โดยนายจำนงค์ ทองประเสริฐ เห็นว่า ถ้ามี “ผู้ใด” ก็จะต้องมี “ผู้นั้น”

มารับมิฉะนั้นจะทำให้ประโยคไม่สมบูรณ์ ส่วนสำนวนที่ว่า “คนใดคนหนึ่ง” กับ “คนหนึ่ง

คนใด”นั้น ที่ถูกต้องจะต้องใช้ว่า “คนใดคนหนึ่ง” คำว่า “หนึ่ง” ในที่นี้แทนคำว่า “นั้น”

นั่นเอง และหากใช้ คำว่า “คนหนึ่งคนใด” คำว่า “ใด” จะลอยตัว ไม่มีอะไรมารับ ซึ่งไม่

ถูกต้องกับหลักภาษาไทยที่ดี[๓]

                        ทั้งนี้ นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ได้อ้างด้วยว่าได้เคยเรียนเรื่องหลัก

การใช้คำคู่นี้ให้ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ทราบ และได้เคยพูดคุยเรื่องนี้กับอดีต

รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายทวี ฤกษ์จำนง) อยู่เสมอ แต่การใช้คำนี้ใน

การร่างกฎหมาย ยังคงสับสนอยู่อีกไม่เป็นไปดังที่ท่านได้แนะนำไว้[๔] ซึ่งสำนักงานคณะ

กรรมการกฤษฎีกาเห็นว่านายจำนงค์ ทองประเสริฐ ท่านคงมิได้ทราบว่า ในขณะนั้น

(.. ๒๕๑๒) สำนักงานฯได้สอบถามไปยังผู้รู้หลายท่าน และนำมาวิเคราะห์กันในการ

ร่างกฎหมาย โดยมิได้ยุติตามแนวทางที่นายจำนงค์ ทองประเสริฐ เสนอ มิใช่ยังคงใช้สับ

สนแต่อย่างใด หากจงใจวางหลักเช่นนั้นต่างหาก

                        ขณะที่นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ยกปัญหานี้ขึ้นอภิปรายในวุฒิสภา

อีกครั้งเมื่อ พ.. ๒๕๓๙ นั้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเห็นว่า ในการ

ใช้ถ้อยคำดังกล่าว สำนักงานฯได้พยายามศึกษาหลักเกณฑ์และความเหมาะสมในการ

ใช้ถ้อยคำโดยรอบคอบแล้ว จึงยืนยันแนวทางการใช้ถ้อยคำนี้เช่นเดิม[๕] นอกจากนี้ อดีต

เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา(นายอักขราทร จุฬารัตน) ยังเห็นด้วยว่า การที่มีผู้ติ

ว่าสำนักงานฯ ร่างกฎหมายโดยใช้ถ้อยคำดังกล่าวไม่ถูกต้องนั้นเป็นเรื่องสำคัญ จึงได้

มอบหมายให้มีการจัดทำบันทึกชี้แจงแนวทางและเหตุผลในการใช้ถ้อยคำดังกล่าวไปยัง

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายโภคิน พลกุล) อีกทางหนึ่งด้วย

                        ในบันทึกดังกล่าว[๖] ได้มีการกล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการใช้ถ้อยคำ

“ใด-หนึ่ง” กับ“หนึ่ง-ใด” ว่า ผู้ร่างกฎหมายต้องการให้มีความหมายแตกต่างกัน กรณีใด

ที่มีการใช้คำว่า “ใด-หนึ่ง” จะมีความหมายไปในทางที่ต้องการบังคับว่าให้เป็นอย่างใด

เพียงอย่างเดียวหรือต้องการกำหนดให้แน่นอน แต่ถ้ากรณีใดใช้คำว่า “หนึ่ง-ใด” จะให้มี

ความหมายไปในทำนองที่เลือกได้ หรือเป็นได้หรือกระทำได้หลายอย่างในเหตุต่าง ๆ ที่

กำหนดไว้ พร้อมทั้งได้ให้ตัวอย่างของการใช้ถ้อยคำทั้งสองคำนี้ในกฎหมายที่มีความ

แตกต่างกัน เช่น ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๓๘ ใช้คำว่า “ใด-หนึ่ง”

ดังนี้ “มาตรา ๓๘ ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีหลัก

แหล่งที่ทำการงานเป็นปกติหลายแห่งให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของ

บุคคลนั้น” ซึ่งมีความหมายว่า ถ้าบุคคลใดมีที่อยู่หลายแห่งจะต้องถือเอาที่อยู่แห่งเดียว

เป็นภูมิลำเนา

                        ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๖ ใช้คำว่า “หนึ่ง-ใด”

ดังนี้

                        “มาตรา ๕๖  เมื่อมีผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอหรือ

เมื่อศาลเห็นสมควร ศาลอาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑)   ให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์

สินของผู้ไม่อยู่ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น

(๒)   ให้ผู้จัดการทรัพย์สินแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้ไม่

อยู่

(๓)   ถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และตั้งผู้อื่นเป็นผู้จัดการทรัพย์สิน

แทนต่อไป”

                        ซึ่งความหมายของบทบัญญัติมาตรานี้ เป็นกรณีที่ให้อำนาจศาล

เลือกสั่งประการหนึ่งก็ได้ หรือศาลจะสั่งให้ดำเนินการหลายประการพร้อมกันตามที่

กำหนดไว้ก็ได้

 

. บทสรุป

                        โดยที่การใช้บังคับกฎหมายจำเป็นต้องมีการใช้ถ้อยคำที่แสดงเจตนา

รมณ์ของผู้ร่างกฎหมายให้ชัดเจนมิให้มีการโต้แย้งหรือตีความอันอาจทำให้เกิดความสับ

สนในการใช้กฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงเห็นควรให้คงการใช้ถ้อยคำ

กฎหมายดังกล่าวในลักษณะเดิมโดยการใช้คำใดจะต้องพิจารณาจากความมุ่งหมายของ

บทบัญญัตินั้นเป็นสำคัญมิใช่จะใช้คำเดียวกันในทุกกรณี

                        อนึ่ง ในเรื่องนี้ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายชัยวัฒน์ วงศ์

วัฒนศานต์) ได้วิเคราะห์และให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า

(๑)   ภาษาเป็นสิ่งที่มีวิวัฒนาการไม่ใช่เป็นหลักเกณฑ์ที่ตายตัว ซึ่ง

โดยทั่วไปแล้ว หลักการหาความหมายจากการใช้ภาษาจะมีสองแนวทาง กล่าวคือ แนว

ทางแรกใช้วิธีหาความหมายจากรากศัพท์เดิม (denotation) เช่น จากภาษาต่างประเทศ

อันเป็นที่มาของภาษาที่เขียนนั้น และแนวทางที่สองใช้วิธีหาความหมายจากความจริงที่

เปลี่ยนแปลงไปตามที่สังคมเข้าใจ (connotation) เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการเขียน

ภาษาซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยสมัยก่อนเขียนอย่างหนึ่งแต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลง

ไปอีกอย่างหนึ่ง  ดังนั้น ความถูกต้องของภาษาไทยไม่จำเป็นต้องยึดถือแนวการใช้

ภาษาของเจ้าของเดิม (อินเดีย) ที่เป็นมาเมื่อพันปีที่แล้วเสมอไป

(๒)   สำหรับการที่นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ได้เขียนบทความ เรื่อง

ภาษาไทย๕ นาที อธิบายหลักการใช้ภาษาไทย คำว่า “ใด-หนึ่ง” กับ “หนึ่ง-ใด” โดย

อธิบายประโยค“ยะ-ตะ” และยกตัวอย่างว่า “ผู้ใดกระทำกรรมดี ผู้นั้นย่อมได้รับผลดี” ไว้

นั้น[๗] ถือว่าถูกต้องในแง่ของการใช้หลักภาษาไทย แต่ก็เป็นการใช้ถ้อยคำที่เป็นรูป

ประโยคยาว ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการใช้คำ “คนใด-คนหนึ่ง” กับ “คนหนึ่ง-คนใด” อัน

ถือเป็นคำเดียวมิใช่ประโยคในการพิจารณาร่างกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการ

กฤษฎีกาเองก็ได้เคยพิจารณาถึงหลักการใช้ถ้อยคำเหล่านี้มาโดยรอบคอบแล้ว ดังที่

ปรากฏในรายงานการประชุมที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นแต่บุคคลทั่วไปอาจยังไม่ทราบ

เนื่องจากเอกสารของสำนักงานฯ มิได้เผยแพร่ไปยังบุคคลภายนอกและแม้นายจำนงค์ 

ทองประเสริฐ เอง ก็อาจเข้าใจว่าความเห็นของท่านเป็นที่ยุติแล้วดังที่ท่านได้กล่าวไว้ใน

บทความ ฉะนั้น การใช้คำว่า “อย่างใดอย่างหนึ่ง-อย่างหนึ่งอย่างใด” อันเป็นถ้อยคำที่ใช้

ในภาษากฎหมายจนเป็นที่เข้าใจและถือปฏิบัติมาโดยตลอดตามแนวทางที่กรมหมื่น

นราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงประทานไว้ จึงยังควรใช้ในการร่างกฎหมายต่อไปเช่นนั้น

                        สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงเห็นสมควรคงหลักการใช้ถ้อย

คำ “ใด-หนึ่ง” กับ “หนึ่ง-ใด” ตามที่ถือปฏิบัติอยู่ และสมควรจะได้มีการรวบรวมที่มาและ

เหตุผลของหลักการใช้คำเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อใช้อ้างอิงในการร่างกฎหมายต่อไป[๘]

                                                            สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

                                                                                    ตุลาคม ๒๕๔๕



[๑]รายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธี

พิจารณาความแพ่ง ครั้งที่ ๒๘๓–๓๒/๒๕๑๒ วันจันทร์ ที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ ซึ่งที่

ประชุมประกอบด้วย หลวงจำรูญเนติศาสตร์ ประธานกรรมการ นายหยุด แสงอุทัย

หลวงวิชัยนิตินาท หลวงสารนัยประสาสน์ นาสยกิตติ สีหนนทน์ นายชิต บุณยประภัศร

นายโชค จารุจินดา นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายชัย เสือวรรณศรี นายสุธรรม ภัทราคม

กรรมการ นายกมล สนธิเกษตริน เลขานุการ และนายอักขราทร จุฬารัตน ทำหน้าที่ผู้

ช่วยเลขานุการ(เข้าใจว่าในครั้งนั้นนายธานินทร์ กรัยวิเชียร และนายทวี ฤกษ์จำนง ได้

สอบถามความเห็นจากนายจำนงค์ทองประเสริฐ ด้วย)

[๒]บันทึกการปฏิบัติงานของฝ่ายร่างกฎหมาย คณะที่๑-๔ เรื่องที่ ๖๘ การใช้

ถ้อยคำ “อย่างหนึ่งอย่างใด” ในการร่างกฎหมาย (๓ พฤษภาคม ๒๕๓๘) และเรื่องที่

๖๘/  การถ้อยคำ “อย่างใดอย่างหนึ่ง-อย่างหนึ่งอย่างใด”ในการร่างกฎหมาย (๒๑

สิงหาคม ๒๕๓๘) ที่เห็นว่า คำคู่นี้ยังใช้กันสับสนในภาษากฎหมาย และได้อธิบาย

[๓]จำนง ทองประเสริฐ, “ภาษาไทย ๕ นาที ใด-หนึ่ง กับ หนึ่ง-ใด” เอกสารประกอบการ

พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย พ.. ….

[๔]โปรดดูเชิงอรรถที่ ๓, ข้างต้น

[๕]บันทึกการประชุมฝ่ายร่างกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ครั้งที่ ๒๘–๒๕/

๒๕๓๙ วันพุธ ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๙

[๖]บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ถึงรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นาย

โภคิน พลกุล) ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๙

[๗]โปรดดูเชิงอรรถที่ ๓, ข้างต้น

[๘]บันทึกการประชุมฝ่ายร่างกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ครั้งที่

/๒๕๔๕ วันพุธ ที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๕

1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57

ร่างกฏหมายที่น่าสนใจ
ความเห็นทางกฎหมายที่น่าสนใจ 
งานวิจัย
บทความทางกฎหมาย
บุคลากร
จัดซื้อ / จัดจ้าง
กฤษฎีกาสาร  
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำนักกฎหมายปกครอง
  
บริการอื่น ๆ
เสนอแนะ - ติชมเว็บไซต์



สำหรับทำให้ IE เปิดไฟล์ TIFF ได้
© สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.๒๕๔๕ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา  
เว็บไซต์นี้เหมาะสำหรับจอภาพขนาด 1,024 x 768 พิกเซล